บาทแข็งส่อยาว ธปท.รอดอลลาร์ฟื้น
แบงก์ชาติหมดมุขแก้ปัญหาบาทแข็งค่า ผู้ว่าฯ บอกได้แค่ดอลลาร์มีแนวโน้มตีกลับได้ วอนผู้ส่งออก-นำเข้าให้ความร่วมมือไม่เก็งกำไร แนะป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศ เผยคนไทยเก็งกำไรมากกว่าต่างชาติที่แม้เทขายหุ้นในช่วงที่ผ่านมายังเก็บไว้ในบัญชีนอนเรสซิเด้นท์บาท ไม่เชื่อนักเก็งกำไรจับทิศทางการทำงานได้ ด้านขิงแก่ถกเอกชนเมินค่าเงินบาทกลับคุยโวผลงานเศรษฐกิจในรอบปีน่าพอใจ
(ผู้จัดการรายวัน 18 มกราคม 2551)
ดอลล์อ่อน-เงินนอกทะลักดันบาทแข็ง
ผู้ว่าแบงก์ชาติรับบาทแข็งเหตุมีเงินไหลเข้า และเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ยันพร้อมดูแลให้เกาะกลุ่มกับภูมิภาค ระบุขณะนี้กนง.อยู่ระหว่างเตรียมปรับกรอบเงินเฟ้อหลังราคาน้ำมันพุ่งแรง รอพ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่-รมว.คลังคนใหม่สรรหากนง.ชุดใหม่ ด้านเศรษฐกิจสหรัฐเชื่อยังไม่ถึงขั้นทรุดหนัก และยังมีผลต่อประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยน้อย
(ผู้จัดการรายวัน 10 มกราคม 2551)
ธปท.จับตาซับไพรม์-น้ำมันหวั่นลามกระทบเศรษฐกิจไทย
ผู้ว่าแบงก์ชาติถึงคิวขึ้นเหนือคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปีหน้า แม้จะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังต้องจับตาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงต่อเนื่อง และประเด็นปัญหาซับไพรม์ที่อาจลามถึงภาคอสังหาฯของไทย จี้ภาครัฐเร่งพัฒนาด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะด้านลอจิสติกส์เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งรองรับราคาน้ำมันสูงขึ้น ย้ำผู้ส่งออกต้องปรับตัวมากขึ้น และไม่อิงกับค่าเงินมากเกินไป
(ผู้จัดการรายวัน 14 พฤศจิกายน 2550)
ผวาเงินไหลออกฉับพลัน-ธปท.จับตาบาททุกวินาที!
“ธาริษา” หวั่นทุนนอกไหลออกแบบฉับพลัน เผยจับตาดูบาททุกวินาที “โฆสิต” ไม่ต้องห่วง ส่วน 6 มาตรการคุมบาทแค่ระยะสั้น ด้านสภาอุตฯ เผยความคืบหน้ากองทุนอุ้ม SME 5,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 กอง กองแรก 4,500 ล้าน สำหรับปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำจากแบงก์ชาติ 1.5% และแบงก์พาณิชย์ MLR-2.5 อย่างละ 2.25 พันล้าน ส่วนอีกกอง 500 ล้าน กันไว้ช่วยผู้ส่งออก NPL เตรียมสรุปร่วมกับภาครัฐ 6 สิงหาคมนี้
(ผู้จัดการรายวัน 1 สิงหาคม 2550)
ส่งออกไม่ไว้ใจรัฐแก้บาท-บล.เฮได้วงเงินดอลลาร์หมื่นล้าน
ครม.ไฟเขียว 6 มาตรการ ผ่อนคลายระเบียบการฝากเงินและการโอนเงินตราต่างประเทศ หวังคุมไม่ให้เงินบาทแข็งค่า ขณะที่แบงก์ชาติอนุมัติวงเงินลงทุนต่างประเทศเพิ่มเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์ ให้ก.ล.ต.ไปจัดสรรแก่ บล.ที่ต้องการไปลงทุนโดยตรง ขณะที่ผู้ส่งออกไม่วางใจ ขอ 2 สัปดาห์เกาะติดมาตรการรัฐดูแลค่าบาท เมื่อเห็นทิศทางชัด-บาทนิ่งค่อยรับออร์เดอร์
(ผู้จัดการรายวัน 25 กรกฎาคม 2550)
เตือนแบงก์เตรียมตั้งรับเกณฑ์คุมเข้มระบุหลังใช้บาเซิล2เงินกองทุนหด1.5%
ธปท.เดินหน้าเร่งสถาบันการเงินปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี หรือความต้องการของผู้บริโภค รับหลังนำเกณฑ์บาเซิล 2 มาใช้จะทำให้เงินกองทุนของแบงก์พาณิชย์ทั้งระบบลดลง 1.5% จาก 13.5% เหลือ 12.5% ระบุปัญหาการเมืองเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้น มั่นใจหลังรัฐโหมกระตุ้นความเชื่อมั่นภาคเอกชน เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวในครึ่งหลังของปี ขณะที่การลงทุนและการบริโภคจะพุ่งแทนการส่งออกในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 8 มิถุนายน 2550)
ธปท.ชี้ส่งออกวูบฉุดบาทอ่อน
ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติหวังแรงกดดันบาทแข็งค่าจะไม่เพิ่มขึ้นไปกว่านี้ เหตุแนวโน้มส่งออกชะลอตัวตามทิศทางภาวะเศรษฐกิจโลก คาดดุลการชำระเงินจะเกินดุลมากกว่าปีก่อน เผยหนักใจ 4 ปีที่ผ่านมาอนุมัติวงเงินให้นักลงทุนสถาบันลงทุนต่างประเทศ 3,300 ล้านดอลลาร์ แต่มีการขอไปลงทุนจริงแค่ 18% เตรียมแก้ปัญหาเร่งประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลมากขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 25 พฤษภาคม 2550)
ธปท.ปล่อยอ้อโอนเงิน ส่งซิกลดดอกเบี้ย 0.5%
บาทยังวิกฤต ล่าสุดแข็งค่ามาอยู่ที่ 34.83 บาทต่อดอลลาร์ "อัจนา" อ้างเหตุผลเดิม ผู้ส่งออกเทขายดอลลาร์ โชว์ฉลาด บอกเป็นโอกาสทองของผู้นำเข้า สั่งคลัง-รัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบและก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ สศค.เผยวันนี้จะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กรรมการขับเคลื่อน "ธาริษา" งัวเงียส่งสัญญาณ กนง.พร้อมลดดอกเบี้ยรวดเดียว 0.5% เผยอนุญาตให้หญิงอ้อขน 400 ล้านออกแล้ว ขณะที่ ม.หอการค้าไทยเผยผลสำรวจ เอกชนถอดใจ คาดจีดีพีลดเหลือเพียง 3-3.5%
(ผู้จัดการรายวัน 20 มีนาคม 2550)
ธาริษาทุบบาทเหลือ34อ้างผ่อนกฎ30%โยนบาปผู้ส่งออก
ช่วงบ่ายวานนี้ (14 มี.ค.) นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ (15 มี.ค.) ค่าเงินบาทมีแนวโน้มหลุด 34 บาทต่อดอลลาร์ เนื่องจากเป็นวันเริ่มต้นของการเพิ่มทางเลือกในเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศ ทำประกันความเสี่ยงเต็มจำนวนแทนการสำรองเงินทุนนำเข้า 30% นางธาริษากล่าวว่า วันนี้ ธปท.ก็คงเข้าไปดูแลตลาดตามสมควร เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนมากเกินไป
(ผู้จัดการรายวัน 15 มีนาคม 2550)
ตลาดตราสารหนี้เตรียมเฮ ธปท.ยกเว้นกันสำรอง 30%
แบงก์ชาติเตรียมผ่อนมาตรการกันสำรอง 30%ให้ตลาดตราสารหนี้ "ธาริษา" ยกเหตุตาสว่างหลังออกจากถ้ำคุยภาคเอกชนพบว่าการผ่อนคลายการกู้เงินจากต่างประเทศทำให้ธุรกิจไทยโล่งอก แต่ในส่วนกองทุนอสังหาฯ ยังแห้ว อ้างมีความเสี่ยงในการนำเงินเข้า-ออกได้เร็ว นายแบงก์ชี้ท่าทีที่ยกเว้นทีละขยักเป็นสิ่งพิสูจน์ชัด มาตรการฯ ล้มเหลว จี้ผู้ว่าฯ ธปท.และรัฐมนตรีคลังรับผิดชอบ
(ผู้จัดการรายวัน 29 มกราคม 2550)