ปิดเหมืองโจร่งBANPUฉุดรายได้พลาด5.7หมื่นล.
บ้านปู เจอปัญหาเหมืองโจร่งที่อินโดนีเซียปิดชั่วคราว เพราะรอใบอนุญาตจากกระทรวงป่าไม้ก่อน แถมราคาถ่านหินเฉลี่ยปีนี้ต่ำกว่าปี 51 ที่ตันละ 72 เหรียญสหรัฐ ยอมรับเป้าหมายรายได้ปีนี้ใกล้เคียงปีที่แล้ว 5.7 หมื่นล้านบาทไม่ถึงฝัน ชี้เม็ดเงินจากเหมืองโจร่งคิดเป็น 5% ของรายได้รวมจากอินโดฯ และหากดูจากปริมาณการผลิตถ่านหินคิดเป็น 8-9% ของปริมาณการผลิตถ่านหินในอินโดฯ ที่ตั้งเป้าผลิตและขาย 23 ล้านตันในปีนี้
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 17 กุมภาพันธ์ 2553)
BANPUโกยกำไรไตรมาสนี้3.8พันล.
บ้านปู โกยกำไรไตรมาสนี้ 3,809 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 22% ผลจากEBITDA และกำไรขั้นต้นเพิ่ม แม้รายได้รวมจะลดลง เหตุต้นทุนผันแปรในส่วนราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับลดลงอีกทั้งต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากการลดลงของราคาถ่านหินในสาธารณรัฐประชาชนจีน
(ASTVผู้จัดการรายวัน 11 พฤศจิกายน 2552)
BANPUกวาดกำไรงวดนี้เกือบ4พันล. อานิสงส์ส่วนแบ่งบ.ย่อยสูงมาร์จิ้นเพิ่ม
บ้านปู กวาดกำไรไตรมาส 2 ปีนี้เกือบ4พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 73% จากปี 51 ผลดีจากกำไรขั้นต้นสูงเกือบ 2 พันล้าน บันทึกส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม 3,011 ล้านบาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยการผลิตลดลง ส่งผลให้ต้นทุนขายรวมลดลงผลดีจากต้นทุนผันแปรในส่วนราคาน้ำมันดีเซลปรับลด
(ASTVผู้จัดการรายวัน 11 สิงหาคม 2552)
บ้านปูโตสวนศก. กำไรQ1พุ่ง130% โบรกฯแนะ“ซื้อ”
บ้านปู กำไรสุทธิไตรมาสแรกรวมเกือบ 4.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 130% รับอานิสงส์ราคาถ่านหินพุ่ง แม้ปริมาณขายจะลดลง ส่งผลให้อัตราส่วนกำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 53% ด้านนักวิเคราะห์ ประสานเสียง ผลงาน “บ้านปู” ดีกว่าคาดการณ์ พร้อมแนะนำให้ซื้อ หลังปรับราคาเป้าหมายใหม่ ขณะที่ราคาหุ้นวานนี้ปิดที่ 314 บาท บวก 3 บาท
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 13 พฤษภาคม 2552)
บ้านปูเล็งทุ่ม1.6พันล.ลงทุนเอทานอล-พลังลม
บ้านปูเร่งศึกษาความเป็นไปได้โครงการพลังงานทดแทนทั้งเอทานอลและพลังงานลม คาดจะเห็นความชัดเจนได้ในปลายปีนี้หรือต้นปี53 หลังวางนโยบายใช้เงินลงทุน 2%ของสินทรัพย์รวม หรือคิดเป็น 1.5-1.6 พันล้านบาท ขณะเดียวกันเร่งขายถ่านหินล่วงหน้าปี2553-2554 หลังราคาผูกกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สู้ดี
(ผู้จัดการรายวัน 9 มีนาคม 2552)
ฺBANPUเล็งออกหุ้นกู้ครึ่งปีหลังนำเงินใช้ขยายงานดันรายได้เพิ่ม
บ้านปูเล็งออกหุ้นกู้ครึ่งปีหลัง หวังนำเงินต่อยอดธุรกิจถ่านหินและโรงไฟฟ้า พร้อมลงทุนเหมืองถ่านหินเพิ่ม ปีนี้ตั้งงบลงทุน 160 ล้านเหรียญสหรัฐ ลุยงาน เพิ่มในอินโดนีเซีย เชื่อสร้างรายได้ในอนาคต 'ชนินท์' เผยในปีนี้เติบโตไม่ต่ำกว่า 10% จากปี 51 ที่มีรายได้อยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 29 มกราคม 2552)
บจ.รื้อระบบบริหารจัดการ
บริษัทจดทะเบียนตื่นตัว เร่งปรับเกมรับมือความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก "บ้านปู" หยุดกิจกรรมยาวไปถึงกลางปี เหตุยังไม่มั่นใจเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดแล้ว ระบุเน้นให้ความสำคัญกันมูลค่าของสินทรัพย์ และกระแสเงินสดมากขึ้น หลังราคาทรัพย์สินทั่วโลกวูบถ้วนหน้า พร้อมรีวิวสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใหม่ หวั่นผลกระทบลาม ด้าน "ปตท." รื้อแผนรับมือความเสี่ยง ชง 3 แนวทางแก้เกมครอบคลุมทุกกรณี ขณะที่ "กบข" ชี้ หัวใจของระบบบริหารความเสี่ยง คือต้องมีระบบบริหารจัดการเงินที่ดี
(ผู้จัดการรายวัน 14 มกราคม 2552)
ถ่านหินพุ่งดันบ้านปู ชนินท์ลั่นรายได้โต13%
ผู้บริหาร "บ้านปู" แจงเหตุราคาหุ้นพุ่งในช่วงที่ผ่านมาได้รับอานิสงส์จากราคาถ่านหินปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังคงเป้ารายได้ปี 51 โตจากปีก่อนที่ 13% อ้างราคาถ่านหินทรงตัวในระดับสูงไม่แน่นอน "ชนินท์"คาดพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯฉบับแก้ไขประกาศใช้ภายในปลายปีนี้ เดินหน้าจับมือตลาดหุ้น-ก.ล.ต. จัดสัมมนาชี้แจงบจ.ทั้งตลาด
(ผู้จัดการรายวัน 7 กุมภาพันธ์ 2551)
บ้านปูรุกไฟฟ้าผุดเพิ่มเมืองจีนโกยเงิน3.5พันล้าน
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทมีธุรกิจถ่านหินและไฟฟ้าอยู่ 3 ประเทศ คือไทย อินโดนีเซีย และจีน ทั้งนี้แผนการดำเนินงานระยะยาวตั้งแต่ปี 2552 ถึง 2556 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า มีแผนที่จะไปธุรกิจถ่านหินและไฟฟ้าอีก 1 ประเทศ โดยเล็งไว้ที่เวียดนามกับอินเดีย ซึ่งคาดว่าอินเดียจะมีความเป็นไปได้มากกว่า เนื่องจากขณะนี้มีการเจรจาไว้ระดับหนึ่งแล้ว และปีหน้าจะรู้ผลความชัดเจนมากขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 17 ตุลาคม 2550)
รายได้ไฟฟ้าหนุนบ้านปูปีนี้โตอีก10%
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU เปิดเผยว่า การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ราคาถ่านหินมีการปรับตัวสูงขึ้นตาม เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ถ่านหินเข้ามาทดแทนมากขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ในตลาดโลกก็ยังมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากหลายประเทศยังมีความต้องการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 29 มีนาคม 2550)