ทรูผนึกทีเอฯดิ้นรีไฟแนนซ์หนี้3.4หมื่นล.
TRUE เดินหน้าผนึก "ทีเอ ออเร้นจ์" ด้วยการจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะยาว เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้มูลค่ากว่า 3.4 หมื่นล้านบาท ทั้งจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ พร้อมอัดฉีดเงินกว่า 6 พันล้านบาท ดันทรูถือหุ้นในทีเอ ออเร้นจ์เพิ่มเป็น 83% ส่วนแผนเพิ่มทุนของ TRUE ยังคงชะลอออกไปอีก
(ผู้จัดการรายวัน 1 ตุลาคม 2547)
TRUE ควัก 6 พันล.ช่วยลูกให้ทีเอ ออเร้นจ์ขยายธุรกิจ
บอร์ด TRUE ใจป้ำควักเงินในกระเป๋าจำนวน 6,000 ล้านบาท ให้ "กรุงเทพอินเตอร์เทเลเทค" เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจของ ทีเอ ออเร้นจ์ พร้อมทำ Memorandum of Agreement กับเครือ เจริญโภคภัณฑ์ เพื่อกำหนดข้อตกลงที่จะชดใช้คืนเงินและทรัพย์สินอื่นให้แก่กันและกันในอนาคต เตรียมขอผู้ถือหุ้น 23 กันยายนนี้
(ผู้จัดการรายวัน 20 สิงหาคม 2547)
ทีเอ ออเร้นจ์จับมือเอสเค เทเลคอมขยายธุรกิจNon-voiceในไทย
ทีเอ ออเร้นจ์ ลงนามเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ เอสเค เทเลคอม สื่อสารไร้สายชั้นนำในเกาหลี มูลค่า 250 ล้านบาท หวังอาศัยประสบการณ์ของเอสเค เทเลคอม ที่ช่ำชองขยายตลาด Non-Voice ในไทย ขณะที่เอสเค เทเลคอมสู่เป้าหมายการเป็น "โกลบอลเพลย์เยอร์"
(ผู้จัดการรายวัน 9 กรกฎาคม 2547)
บิ๊กทีเอออเร้นจ์เปิดใจขอเป็นมือถือเบอร์สาม
"ศุภชัย เจียรวนนท์" เปิดใจครั้งแรกหลังแยกทาง "ออเร้นจ์"
ประกาศเดินหน้าธุรกิจมือถือยึดอันดับสามที่แข็งแกร่ง เลิกไล่ล่าเอไอเอส ดีแทค สร้างตลาดบน
5 ยุทธศาสตร์หลัก เร่งเครื่องขยายเครือข่ายอันดับแรกด้วยงบลงทุนไม่ต่ำกว่าหมื่นล้าน
มั่นใจสร้างฐานลูกค้าสู่จุดคุ้มทุน 3 ล้านรายกลางปีหน้า ดีเดย์ 1 เม.ย.เปิดตัวแบรนด์ทรู
(ผู้จัดการรายวัน 19 มีนาคม 2547)
ออเร้นจ์หนีTAขาดทุน2หมื่นล.ศุภชัยซื้อหุ้นคืน
บทเรียนราคาแพงออเร้นจ์ เอสเอ ถอนยวงจากทีเอโอ ด้วยการขายหุ้น 39%หรือ 819 ล้านหุ้น
แค่บาทเดียวให้ทีเอ คงเหลือหุ้นเพียง 10%หรือ 210 ล้านหุ้น 2,100 ล้านบาท หากเทียบราคาพาร์
ตอนออเร้นจ์ลงทุน 2.2 หมื่นล้านบาทตอนแรก เท่ากับขาด ทุนยับเยิน 2 หมื่นล้าน ด้าน
"ศุภชัย" ย้ำมีเวลา 3 ปีเปลี่ยนแบรนด์ออเร้นจ์ เป็นทรู มั่นใจการถือหุ้นใหญ่ทำให้ธุรกิจทีเอโดยรวมดีขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 10 มีนาคม 2547)
ทีเอวางแผนเพิ่มทุน6พันล้าน ไม่ปิดโอกาสชินคอร์ปร่วมหุ้น
ศุภชัย เชื่อโอกาสมากกว่า 50% ออเร้นจ์จะไม่ถอนหุ้นจากทีเอ ไตรมาส 2 เดินหน้าจัดโครงสร้างการเงินเตรียมเพิ่มทุนกว่า
6 พันล้าน และรีไฟแนนซ์ หนี้ใหม่หมด ไม่ปิดโอกาสกลุ่มชินคอร์ปเข้าถือหุ้น เผยเป็นเรื่องอนาคต
ด้านเอไอเอส ปรับโครงสร้างบริหาร พร้อมอัดงบอีก 1.4 หมื่นล้านบาท หวังดันรายได้ให้ถึงเป้าที่วางไว้ปีนี้
1.3 แสนล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 13 กุมภาพันธ์ 2547)
"เอไอเอส"จับมือ"ดีแทค"!
เอไอเอส ดีแทค ถือคติรวมกันเราอยู่เพื่อเป้าหมายตลาดรวมบริการนอนวอยซ์หมื่นล้านบาท
จับมือเชื่อมต่อ MMS ให้ลูกค้าสามารถส่งข้ามระบบ มั่นใจวิธีการนี้เป็น การกระตุ้นรายได้บริการเสริมแบบชั่วข้ามคืน
เอไอเอสมองยอดกว่า 100 ล้านบาทในปีนี้ ขณะที่ดีแทคคาดว่าทำรายได้มากกว่า 50 ล้านบาท
พร้อมกับเปิดกว้างรับการเชื่อมต่อของทีเอออเร้นจ์ กับฮัทช์
(ผู้จัดการรายวัน 11 กุมภาพันธ์ 2547)
โยกลงทุนหุ้นสื่อสารคึกจุดพลุ"ชินคอร์ป"ฮุบTA
หุ้นไทยคลายกังวล หลังสถานการณ์หวัดนกเริ่มคลี่คลาย ดัชนีเดินหน้า 20.90 จุด
เพิ่ม 2.94% ทะลุ 730 จุด ด้วยวอลุ่มกว่า 2.68 หมื่นล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิ
931 ล้านบาท หุ้นใหญ่ขึ้นยกแผง ขณะที่กลุ่มสื่อสาร-พลังงานโดดเด่น เทเลคอม เอเซีย
(TA) พุ่ง 18% หลังข่าวแพร่สะพัดกลุ่มชินฯจ้องเข้าเทกโอเวอร์
(ผู้จัดการรายวัน 10 กุมภาพันธ์ 2547)