บอร์ดกสทสรุปซีดีเอ็มเอซื้อเครือข่าย1.2หมื่นล.
บอร์ด กสท เตรียมพิจารณาใช้วิธีการประมูลซื้อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอในภูมิภาคภายในสิ้นปีนี้
ด้วยงบประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท จากข้อเสนอที่รวมรูปแบบการเช่าเพื่อให้ทันกับสภาพการแข่งขันในตลาด
(ผู้จัดการรายวัน 8 ธันวาคม 2546)
ยักษ์ใหญ่"ไอที"หารือ "หมอเลี้ยบ" หนุนพัฒนาไอซีที
3 บริษัทไอทีระดับโลกพบ "หมอเลี้ยบ" ร่วมหารือเรื่องความร่วมมือกับรัฐบาลไทย
และนโยบายด้านไอซีที โดยเอชพีประกาศลงทุนผลิตคอมพิวเตอร์พีซีที่แหลมฉบัง ขณะที่ไมโครซอฟท์สนับ
สนุนเรื่องความปลอดภัยข้อมูล การพัฒนาซอฟต์แวร์ และหลักสูตรการเรียนรู้โปรแกรม
(ผู้จัดการรายวัน 20 ตุลาคม 2546)
เบื้องหลังปลดประธานทศทไม่สนอง 2 โครงการใหญ่
ทศท ยืมมือคุณหญิงทิพาวดี ทิ้งทวน 2 โครงการใหญ่ ทั้งการแก้เงื่อนไขผลงานก่อสร้างท่อร้อยสายของโครงการโทรศัพท์
5 แสนเลขหมาย และการอนุมัติเงินขยายเครือข่ายไทยโมบายกว่า 1,400 ล้านบาทที่สูงเกินจริง
และไม่สนใจภาพรวมยุทธศาสตร์ที่อยู่ระหว่างรอการปรับเปลี่ยน
(ผู้จัดการรายวัน 16 ตุลาคม 2546)
ดีแทคท้ารบเอไอเอสกลัวเบอร์มือถือติดตัว
ดีแทคดับเครื่องชนเอไอเอส นโยบายเบอร์มือถือติดตัว ถามตรง "กลัวให้บริการที่ดีกับลูกค้าไม่ได้
หรือกลัวรักษาลูกค้าไม่ได้" ยันหนุนไอซีทีสุดตัวเพราะผู้บริโภคได้ประโยชน์ พร้อมเปิดแผนตลาดปรับตัวรองรับความต้องการลูกค้า
(ผู้จัดการรายวัน 11 กันยายน 2546)
หมอเลี้ยบสั่งลุยเน็ตความเร็วสูงรู้ผลสิ้นเดือนนี้
หมอเลี้ยบดันอินเทอร์เน็ตไร้ สายความเร็วสูง หลังเทคโนโลยีเปิดกว้าง สั่ง ทศท
กับกสท ศึกษารูปแบบบริการภายในสิ้นเดือนก.ย.ส่วนไทยโมบายให้ทศท บริหารคนเดียวเด็ดขาด
กสท ก้มหน้าทำซีดีเอ็มเอ ด้านเบอร์มือถือติดตัวต้องรอค่าเชื่อมโครงข่ายเสร็จ
(ผู้จัดการรายวัน 8 กันยายน 2546)
ไอซีทีลดอุปสรรคโทรคมนาคมราคาสูง ดึงต่างชาติลงทุนภูเก็ตปีละ10กว่าราย
กระทรวงไอซีทีเดินหน้าหนุนภูเก็ตเป็นไอซีที ซิตี้ แก้ปัญหาโครงสร้าง พื้นฐาน
ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุน ทั้งไทยและต่างชาติ ด้วยการให้ภูเก็ต เป็นจังหวัดนำร่องการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ราคาถูกสุด
เดือนละไม่เกิน 1,000 บาท พร้อมลดราคาค่าโทรต่างประเทศเหลือครึ่ง คาดเริ่มได้ภายในปี
47
(ผู้จัดการรายวัน 2 กันยายน 2546)
"ดีแทค"ยิ้มรับ"เอไอเอส"วัน-ทู-คอลไม่แรงจริง
เอไอเอส ทุ่บงบการตลาดกว่า 100 ล้านสร้าง 4 ทางเลือกเอาใจลูกค้าวัน-ทู-คอล หลังยอมรับค่าบริการ
2.50 บาท ของแฮปปี้ดีพร้อมท์โดนใจผู้บริโภค ยันเอไอเอสไม่ลงไปถึงระดับ นั้น แต่หวังสร้างความพอใจลูกค้ามากกว่า
ด้าน "กฤษณัน" ย้ำเรื่องเบอร์มือถือติดตัว เป็นเรื่องความจำเป็นของประเทศที่ขาด
แคลนด้านเลขหมายมากกว่า
(ผู้จัดการรายวัน 2 กันยายน 2546)
กสท.แซงคิวเข้าตลาด อนาคตผูกติด "ซีดีเอ็มเอ"
หมอเลี้ยบ ฟันธง หุ้นกสท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯปลายม.ค.47 ก่อนหน้า ทศท. หลังพบความไม่ชัดเจนหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนแบ่งรายได้,
ค่าเชื่อมโครงข่าย, ไทยโมบาย พร้อมเร่งโครงการโทรศัพท์ 5 แสนภายใน 3 เดือน ด้านกสท.ฝากอนาคตกับ
ซีดีเอ็มเอด้วยการประมูลซื้อโครงข่ายเอง ยันข้อเสนอนอร์เทลมีความเป็นไปได้
(ผู้จัดการรายวัน 11 สิงหาคม 2546)
ไทยโมบายฟื้นโคม่าจ้างที่ปรึกษารื้อใหม่
หมอเลี้ยบ ผ่าตัดใหญ่ไทยโมบาย ให้ทศทจ้างที่ปรึกษาบริษัท Ureka รื้อโครงสร้างทั้งระบบ
รวมทั้งแนวทางดึงมืออาชีพด้านการตลาดเข้ามาบริหาร ด้านสหภาพฯทศทย้ำนาทีนี้ต้องรีบตัดสินใจระหว่างทศทกับกสท.ให้ใครทำ
ดีกว่ากอดคอจมน้ำตายทั้งไทยโมบายกับ ซีดีเอ็มเอ
(ผู้จัดการรายวัน 4 สิงหาคม 2546)
ทศทโชว์ผลงาน6เดือน กำไรกว่า 7 พันล้าน
ทศท โชว์ผลงาน 6 เดือนแรก รายได้กว่า 3 หมื่นล้านบาท ฟันกำไรกว่า 7 พันล้านบาท
โดยรายได้ 1 ใน 3 มาจากสัญญาร่วมการงานหรือประมาณ 8,500 ล้านบาท หลังครบรอบแปรสภาพ
1 ปี เตรียมใช้โครงสร้างธุรกิจใหม่วันนี้(1ส.ค.)
(ผู้จัดการรายวัน 1 สิงหาคม 2546)