อนุมัติไทยธนาคารเพิ่มทุน รอคลังชี้ชะตาCIMBถือหุ้น
ผู้ถือหุ้นไทยธนาคารไฟเขียวเพิ่มทุน พร้อมขอเปิดทางขายราคาต่ำกว่าราคาพาร์ หวังดังเงินกองทุนแตะ 15-16% เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและรองรับเกณฑ์ Basel 2 แจงยังรอคลังไฟเขียวขยายเพดานต่างชาติถือหุ้นเกิน 49% เพื่อให้ CIMB Bank เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหม่
(ผู้จัดการรายวัน 4 กันยายน 2551)
BTแจงหลังเพิ่มทุนบีไอเอส13-14%
"ไทยธนาคาร"ชี้แจงเหตุการเพิ่มทุนขั้นที่ 2 จากเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่แบงก์ชาติกำหนดไว้ หลังต้องรับผลขาดทุนเงินชดเชยการบริหาร CAP ที่ต่ำกว่าคาดถึง 3,729 ล้าน และมีภาระตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS39 ถึง 1,900 ล้าน แต่ภายหลังจากการเพิ่มทุนในขั้นตอนที่สองแล้วจะทำให้มียอดเงินกองทุนเพิ่มขึ้นถึง 13-14% จากที่อยู่ในระดับ 6.14%
(ผู้จัดการรายวัน 14 มีนาคม 2550)
BT เตรียมขายหุ้นตามเกณฑ์ไม่เกี่ยงราคาตลาดต่ำกว่าทุน
“ไทยธนาคาร” ขายหุ้นคืนตามเกณฑ์ที่ครบ 26 พ.ค. จำนวน 93.36 ล้านหุ้น พร้อมขายราคาต่ำกว่าทุน ที่ซื้อมาประมาณ 8 บาทต่อหุ้น เพราะปัจจุบันอยู่ที่ระดับราคาหุ้นละ 7 บาทกว่า ระบุผลประกอบการแบงก์ดีต่อเนื่อง มั่นใจไตรมาส 2 ยังคงกำไรสูง เป็นที่สนใจของนักลงทุน รอจังหวะออกหุ้นกู้ 2 พันล้าน หวังเพิ่มเงินกองทุน
(ผู้จัดการรายวัน 21 เมษายน 2549)
จับตาNPLหวนคืนธปท.สังตรวจเข้ม
แบงก์ชาติ จับตาหนี้เอ็นพีแอลธนาคารพาณิชย์อย่างใกล้ชิด พร้อมสั่งตั้งสำรอง เพิ่มทันทีหากเจอปัญหาเอ็นพีแอลเหมือนกรณีแบงก์กรุงไทย ระบุจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบลูกหนี้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีปัญหาการชำระหนี้แล้ว ด้านผู้บริหารแบงก์กรุงเทพ แจงหุ้นแบงก์รูด ไม่เกี่ยวกับหนี้เน่าและการตั้งสำรอง
(ผู้จัดการรายวัน 27 กรกฎาคม 2547)
ไทยธนาคารขยายเครือข่ายธุรกิจเปิดทาง"มิลเลีย เอเชีย"ถือหุ้น5%
ไทยธนาคาร ขยายเครือข่ายทำธุรกิจครบวงจร เปิดทางให้ มิลเลีย เอเชีย เข้าถือหุ้น
5% ในขณะที่ไทยธนาคารเข้าถือหุ้น ในมิลเลีย ไลฟ์ อินชัวรันส์ 23% หวัง ทำธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์
"พีรศิลป์" ระบุยังขาดธุรกิจกองทุนรวมกับรายย่อยได้ข้อสรุปภายในปีนี้
ส่วนผล ประกอบการไตรมาสแรกสินเชื่อพุ่ง
(ผู้จัดการรายวัน 9 เมษายน 2547)
BTยกชั้นบริการครบวงจร
ไทยธนาคาร ประกาศยกชั้นเป็นยูนิเวอร์แซล แบงกิ้ง หลังผ่านมรสุมแผนแม่บทหลุดกรอบควบรวมกิจการ
เดินหน้าขยายฐานลูกค้ารายย่อย หวังเพิ่มสัดส่วนรายย่อย 50% จากฐานลูกค้าเดิมเป็นรายใหญ่ทั้งหมด
พร้อมตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อปีนี้ 16,000 ล้านบาท ย้ำชัดแบงก์แข็งแกร่งอยู่ได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุนและหาพันธมิตร
(ผู้จัดการรายวัน 3 มีนาคม 2547)
หม่อมอุ๋ยทิงทุ่นคลังล้มสัญญาควบแบงก์
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติประกาศเลิกสังฆกรรมกับกระทรวงการคลัง เหตุไม่รักษาสัญญาในการควบรวมไอเอฟซีทีกับไทยธนาคาร
ยันยังไม่มีแผนนำไทยธนาคารไปควบรวมกับธนาคารอื่น เพราะไทยธนาคารยืนบนลำแข้งได้
ขณะที่ "สุชาติ" แจงการควบรวมไอเอฟซีทีกับทหารไทยและดีบีเอสไทยทนุเป็นมติครม.
ไม่ใช่กระทรวงการคลัง
(ผู้จัดการรายวัน 23 มกราคม 2547)
"ไทยธนาคาร"รุกธุรกิจเฉพาะตั้งเป้าปีหน้าปล่อยกู้เพิ่ม11%
ไทยธนาคารไม่รอผลการควบรวมกิจการกับ "ไอเอฟซีที" เดินหน้าทำแผนธุรกิจประกาศความเป็นผู้นำด้านตลาดเงินตลาดทุน
เน้นทำธุรกิจเฉพาะด้านตามความถนัด ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ค่าฟีมากกว่า 50% และสินเชื่อโต
10-11% ด้านแผนควบรวมเสนอขอหนี้สินที่รับจ้างบริหารจากกองทุนฟื้นฟูเข้าเป็นหนี้ดีแบงก์และกลับเข้ามาเป็นรายได้
แทนที่จะส่งคืนแบงก์ชาติ
(ผู้จัดการรายวัน 26 ธันวาคม 2546)
"ธปท."รับนโยบายควบแบงก์เพิ่มสินทรัพย์หนุนการแข่งขัน
แบงก์ชาติรับนโยบายนายกรัฐมนตรีในกรณีควบรวมกิจการธนาคารพาณิชย์ ระบุแบงก์ที่มีศักยภาพจะต้องมีสินทรัพย์รวมกว่า
4 แสนล้านบาท ขณะที่การรวมไทยธนาคารกับ ไอเอฟซีที ยังอยู่ในขั้นตอนการกำหนดราคา
และสรรหาทีมผู้บริหาร ด้านการคุมค่าบาทยังรอดูท่าที แม้นักการเงินชี้มีโอกาสแข็งค่าต่อ
(ผู้จัดการรายวัน 17 กันยายน 2546)