บล.มีสิทธิรอด!ตลท.ไฟเขียวค่าคอมฯใหม่
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ รับหลักการปรับปรุงอัตราค่าคอมมิชชันแบบขั้นบันไดใหม่ ตามข้อเสนอของสมาคมโบรกเกอร์ที่พยายามดิ้นเฮือกสุดท้าย ก่อนจะเจอวิกฤตรายได้ทรุดในปีหน้า หากใช้คอมมิชชันตามแผนเดิม คาดเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ปี 53 หลังส่งให้สำนักงานก.ล.ต. พิจารณาเร็วๆ นี้ พร้อมลดการเก็บเงินสำรองจากมาร์เกตติ้งเหลือ 25% จากเดิม 35% พร้อมนัดประชุมสมาชิกโบรกเกอร์ในวันที่ 26 ต.ค.นี้
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 21 ตุลาคม 2552)
คลังขยายเวลาก่อหนี้ผูกพันอีก2เดือนหลังส่วนราชการล่าช้าส่งแผนไม่ทัน
คลังขยายเวลาก่อหนี้ผูกพันของส่วนราชการอีก 2 เดือน หวังให้โครงการที่เริ่มดำเนินการแล้วไม่สะดุด ขีดเส้นล่าช้าสุดได้ไม่เกิน 31 สิงหาคม 49 ยันเร่งเบิกจ่ายงบปี 49 ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้93% แน่นอน ขณะที่รัฐบาลแปลงสภาพโครงการ จีเอฟเอ็มไอเอส เป็นเอสดียู อ้างเพื่อเบิกจ่ายรูปแบบพิเศษ ลั่นไม่เกี่ยวเบิกจ่ายล่าช้าเชื่อโอนย้ายไปกระทรวงการคลัง 1 ต.ค.50
(ผู้จัดการรายวัน 23 มิถุนายน 2549)
ผ่าใหญ่แฟมิลี่โนฮาว"โต้ง"ส่อแววถอดใจ
มติบอร์ด ตลท.วานนี้ ตอกย้ำยืด บจ.ใหม่รับส่วนลดภาษี 5% อีก 1 ปี พร้อมรับหุ้นคันทรี่กลับเข้าจดทะเบียน
ใหม่ แถมผ่าตัดบอร์ดแฟมิลี่โนฮาว ครั้งใหญ่ โบรกเกอร์ชี้ "กิตติรัตน์"
มีสิทธิถอดใจ ด้าน "สมเจตน์" ยังแบ่งรับแบ่งสู้ หลังตกเป็นข่าว เป็นแคนดิเดต
ด้านเอ็มดี ตลท. ปฏิเสธลั่น รื้อบอร์ดแฟมิลี่ฯไม่ได้ เกิดจากปัญหาความขัดแย้ง
(ผู้จัดการรายวัน 26 กุมภาพันธ์ 2547)
"วิจิตร"ขอเวลาศึกษาให้ถี่ถ้วนดัชนีหุ้นอิสลาม
ประธานตลาดหลัก ทรัพย์ขอเวลาศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธนาคารอิสลาม
(อิสลามิก อินเด็กซ์) เพราะเป็นเรื่องใหม่ "ธีรศักดิ์" ยันมีแต่ได้กับได้
เผยนักลงทุน สิงคโปร์ติดต่อขอลงทุนผ่านธนาคารชารีอะฮ์
(ผู้จัดการรายวัน 9 ธันวาคม 2546)
เอ็นเอวีวายุภักษ์12บาทแล้ว
คลังรับโอน 70,000 ล้านบาท จาก 2 บลจ. ที่ใช้กองทุนวายุภักษ์ 1 ซึ่งมีเอ็นเอวีแล้วหน่วยละ
12 บาท ซื้อหลักทรัพย์ 11 ตัวของคลัง พร้อมจ่าย 30,000 ล้านบาท จองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนฯ
ส่วน 40,000 ล้านบาทที่คลังเหลือสุทธิ เตรียมไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล 25,075 ล้านบาท
ที่เหลือเป็นรายได้ส่งรัฐ ด้านกองทุนรวมวายุภักษ์ 2 ต้องรอดูนโยบายรัฐ
(ผู้จัดการรายวัน 2 ธันวาคม 2546)
วายุภักษ์เข้าตลาดฯก.พ.คุยผลตอบแทนปีนี้7%
กองทุนวายุภักษ์ จะเร่งนำหน่วยลงทุนเข้าซื้อขายใน ตลาดหลักทรัพย์ภายในปลาย ก.พ.
47 จากเดิมที่กำหนดจะเริ่มซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์ 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากต้องการเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ถือหน่วย
วายุภักษ์ขายหมด "นิพัทธ" เผยรายย่อยน้อยกว่าเป้า หมายแต่มากที่สุดเมื่อเทียบกองทุน
อื่นในไทย ระบุผลตอบแทนสูงกว่า พันธบัตร สามารถขายได้ในตลาด รอง ชี้ปีนี้ได้ผลตอบแทนกว่า
7%
(ผู้จัดการรายวัน 21 พฤศจิกายน 2546)
"นิพัทธ" ชี้แก้หนี้ NPLเน้นลูกหนี้ต่ำกว่า2ล.
"นิพัทธ" ระบุโอนหนี้เน่าออกจากระบบแบงก์จะเน้นลูกหนี้เก่า มูลหนี้
1.5-2 ล้านบาท เพราะแบงก์ถ่วงไม่ยอมแฮร์คัตทำให้การแก้ไขหนี้อืด เผยต้องแก้กฎหมายขยายนิยามการ
รับโอนหนี้ หวังให้สถาบันเดิมสามารถรับโอนสินทรัพย์เน่าในระบบ พร้อมศึกษาถึงผู้รับผิดชอบต่อหนี้ที่รับโอน
(ผู้จัดการรายวัน 26 สิงหาคม 2546)
ยันวายุภักษ์รับหุ้นดีFIDFทั้ง3แบงก์รวม "กรุงไทย"
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรียันหุ้นที่กองทุนวายุภักษ์ มูลค่ากว่าแสนล้านบาท ที่จะซื้อหุ้นส่วนที่กระทรวงการคลังและกองทุนฟื้นฟูฯ
(FIDF) ถือ ไม่ใช่หุ้นเน่า เป็นหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี เหตุหุ้นเหล่านี้ ราคาตกต่ำสุดแล้ว
และกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นทั้งหมด โดยเฉพาะธนาคารกรุงไทย-นครหลวงไทย-ไทยธนาคาร ที่กำลังจะกลืนไอเอฟซีที
(ผู้จัดการรายวัน 25 สิงหาคม 2546)
TPIยอมสูญ100ล.ค้านกม.ขายชาติ
คลังให้ประชัยร่วมบริหารทีพีไอเพียงในนาม ไร้อำนาจจัดการ ขณะที่ขุนคลังยอม รับ
อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่คนนี้รู้เรื่องบริษัทดีที่สุด ขณะที่เจ้าตัวยอมรับสภาพหลังคุยกับคลังวานนี้
ขณะที่ ทีพีไอยอมสูญรายได้ 100-200 ล้าน เพื่อปิดโรงงานทีพีไอ ระยอง ทั้งหมด ให้พนักงานร่วม
3,500 คน เข้ากรุงเทพฯ แสดงพลังร่วมต้านกฎหมาย 11 ฉบับ
(ผู้จัดการรายวัน 9 กรกฎาคม 2546)
หุ้นไทยลบสถิติ10ปี มูลค่าซื้อขายรวม 3.7 หมื่นล.
กระทิงห้อไม่หยุด หุ้นไทยบูมสนั่น ดัชนีหุ้นวานนี้วิ่งขวิดเกือบชน 500 จุด มูลค่า
วานนี้พุ่งสูงสุดในรอบ 9 ปี 6 เดือน ถึง 3.7 หมื่นล้านบาท หุ้นกลุ่มแบงก์เทรดสนั่น
ขณะที่ทักษิณ-สมคิด ประสานเสียง ดัชนี 500 จุด
(ผู้จัดการรายวัน 4 กรกฎาคม 2546)