บินไทยยึดอำนาจ "กนก" บอร์ดสุดทนตัวเลขขาดทุนพุ่งตั้ง "สมใจนึก" ดูแทน
บอร์ดการบินไทยยึดอำนาจบริหารจาก "กนก อภิรดี" หลังพบไตรมาส 3 ขาดทุน 6 พันล้าน เพราะน้ำมันแพง ผู้โดยสารลด แต่ "กนก" ไม่แก้ปัญหา ยังขึ้นเงินเดือนให้พนักงาน และส่ง "ประจักษ์ แจ่มรัศมีโชติ" ที่ใกล้ เกษียณไปดูแลการตลาด ปีนี้มีสิทธิเจ๊งถึงหมื่นล้าน ปลดไม่ได้เพราะยังไม่หมดสัญญาจ้าง ต้องตั้ง ตำแหน่งใหม่ให้ "สมใจนึก" แก้วิกฤตภายใน 3 เดือน ระดมคนในระดับกลางร่วมทีม
(ผู้จัดการรายวัน 11 สิงหาคม 2548)
การบินไทยลงทุนเพิ่ม1.4หมื่นล้าน
การบินไทยเปิดตัวแอร์บัส 340-500 พร้อมโลโก้ และเครื่องแบบพนักงานใหม่ เตรียมลงทุนอีกประมาณ 14,000 ล้านบาท ปรับเครื่องบิน อีก 24 ลำใน 2 ปี ตามแผนเอกลักษณ์ใหม่"กนก"หวังสร้างความประทับผู้โดยสาร สร้างรายได้โตแบบก้าวกระโดด ฟุ้งเป้ารายได้ ปี 48 ถึง 160,000 ล้านบาท เผยสึนามิกระทบเล็กน้อย ชี้น้ำมันแพงกระทบแต่ต้องบริหารความเสี่ยงและประเมินอย่างรอบคอบ
(ผู้จัดการรายวัน 8 เมษายน 2548)
การบินไทยรัดเข็มขัด ลดค่าใช้จ่าย3พันล้าน
การบินไทยรับมือศก.ปีหน้า ทั้งลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ ตั้งเป้าลดค่าใช้จ่าย 3,000 ล้าน สั่งทุกฝ่ายทบทวนใหม่ หลังทำแผนเบื้องต้นหั่นได้แค่พันล้าน "กนก" ระบุโลว์ซีซันยืดจาก 3 เดือนเป็น 5 เดือน ผลจากศก.โลกหดตัวและน้ำมันแพง อัด 7 แคมเปญรับมือ มีทั้งแจกตั๋วฟรี 20,000 ใบ เที่ยวก่อนผ่อนทีหลัง หวังเพิ่มรายได้ถึง 7,000 ล้าน
(ผู้จัดการรายวัน 9 ธันวาคม 2547)
"สมคิด" ขีดเส้นบินไทยปรับใหญ่
"สมคิด" สั่งการบินไทยทำตลาด เชิงรุก ดันแข่งขันในตลาดโลก ฟุ้งการเงินแข็งแกร่ง กำไร ยกฐานะเป็นหัวหอกด้านขนส่งของประเทศ หนุนการท่องเที่ยวไทย ดีเดย์ มี.ค. 48 ปรับโฉมครั้ง ใหญ่ก่อนเปิดสุวรรณภูมิ หนุนแผนซื้อฝูงบินใหม่ 14 ลำ
(ผู้จัดการรายวัน 30 กรกฎาคม 2547)
แผนบินไทยซื้อเครื่องใหม่ไม่เกิน7ลำ
"กนก" เผยอีก 5 สัปดาห์ สรุปแผนซื้อเครื่องบินใหม่ ยันความต้องการไม่ถึง
7 ลำ แต่ยังเน้นเครื่องขนาดใหญ่ พิสัยไกล ความจุที่นั่งสูงกว่า 300 ที่นั่ง พร้อมปรับภาพลักษณ์ใหม่
จ้างอินเตอร์แบรนด์ เป็นที่ปรึกษา เปลี่ยนโลโก้ใหม่รับสนามบินสุวรรณภูมิ และปรับคุณภาพบริการทุกด้าน
เผยงบ 10,000 ล้านบาทสำหรับดำเนินการ
(ผู้จัดการรายวัน 25 กุมภาพันธ์ 2547)
"กนก"ปลื้มขายหุ้นบินไทยตปท.หวั่นปัญหาแทรกแซง
การบินไทยประชุมฝ่ายบริหาร"กนก"ฟุ้งขายหุ้นประสบความสำเร็จเผยนักลงทุนต่างชาติหวั่นปัญหา
ตั้ง Low Cost Airline ซื้อเครื่องบิน การเมืองแทรกแซง เผยหนี้สินต่อทรัพย์สิน
1.99 เท่า น่าพอใจ เผยแผน 5 ปี ลดค่าใช้จ่าย 10,000 ล้านบาท เน้นขนส่ง เฟดเตอร์เพิ่มรายได้คาร์โก้
(ผู้จัดการรายวัน 3 ธันวาคม 2546)
THAIสรุปบินทุนต่ำธ.ค.พีโอ50บาทคลังคง70%
การบินไทย (THAI) เคาะราคาขายพีโอคนไทยหุ้นละ 50 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาในกระดานหลักปัจจุบันในตลาดหุ้น
10% ขณะที่ขายฝรั่งราคา 53 บาท เผยนักลงทุนสถาบันจองล้น 3.2 เท่า "กนก"
ฟุ้งข้ามประเทศผลโรดโชว์ ทั้งในและต่างประเทศประสบความ สำเร็จอย่างมาก "ทนง"
ยันสัดส่วนหุ้นคลังยังถือเกิน 70% อยู่ คาดได้เงิน 14,000 ล้านบาท ใช้เป็นทุนหมุนเวียน
สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในสนามบินสุวรรณภูมิ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์บนเครื่องบิน ดันสายการบินแห่งชาติขึ้นชั้นแนวหน้าในเอเชีย
ส่วนสายการบินราคาถูก แม้ไม่ใช่เป้าหมายหลัก เน้นแข่งระดับโลก แต่กำลังเจรจาตั้งสายการบินราคาถูก
คาดเสร็จ ธ.ค.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 20 พฤศจิกายน 2546)
การบินไทยปรับโครงสร้างใหม่เพิ่มเก้าอี้แยกขายจากพาณิชย์
บอร์ดการบินไทยอนุมัติโผโครงสร้างฝ่ายบริหารใหม่ โยก 27 เก้าอี้สำคัญ เพิ่มระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขายแยกจากฝ่ายพาณิชย์เหตุขอบเขตงานมากและเพิ่มเก้าอี้ระดับผู้อำนวยการใหญ่อีก 6 ตำแหน่ง "กนก" เผยคัดสรรตาม ความเหมาะสมและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
(ผู้จัดการรายวัน 25 กันยายน 2546)
ไฟเขียวTHAIออกหุ้นทุน-กู้หนี้"เคหะ-การทาง"เป็นทุน
ครม.ไฟเขียวการบินไทย (THAI) ขายหุ้นเพิ่มทุน 300 ล้านหุ้น แต่คลังยังคงถือ หุ้นอย่างน้อย
50% พร้อมออกหุ้น 1 หมื่นล้านบาทรีไฟแนนซ์หนี้เงิน กู้ต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนการเงิน
ถือเป็นการออกหุ้นกู้งวดแรกของสายการบินแห่งชาติ จากวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 17 กันยายน 2546)