"ทีโออาร์" ถึงมือบอร์ดซีดีเอ็มเอภูธรหมื่นล.
ทีโออาร์มือถือซีดีเอ็มเอ เตรียมเสนอบอร์ด กสท 17 ส.ค.นี้ ด้วยหลักการสำคัญต้องเป็นเทคโนโลยี EV-DO 1,200 สถานีฐาน และต้องพร้อมอัปเกรด (EV-DV Ready) ขณะเดียวกัน ใช้ควอคอมม์เป็นที่ปรึกษาโครงการ ด้านซัมซุงขอความเห็นใจ เพราะอีริคสันซื้อแผนกซีดีเอ็มเอจากควอคอมม์ เกรงไม่เป็นธรรม
(ผู้จัดการรายวัน 16 สิงหาคม 2547)
ซัมซุงขอทีโออาร์เข้มประมูลซีดีเอ็มเอภูธร
ซัมซุงชี้จุดอ่อนทีโออาร์ ซีดีเอ็มเอ ในภูมิภาค อาจก่อความเสียหายกับเครดิตประเทศไทยในสายตานักลงทุนต่างชาติ
หลังไม่พบเงื่อนไขทดสอบการเชื่อมโยงกับเครือข่ายฮัทช์ ไม่จำเป็นต้องมีผลงานนอกประเทศ
และเทคโนโลยีที่ไม่ทันสมัยทำให้ถึงแม้ประกวดราคาจนมีผู้ชนะ แต่โครงการยากที่จะเดินหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 21 มิถุนายน 2547)
บอร์ดกสทสรุปซีดีเอ็มเอซื้อเครือข่าย1.2หมื่นล.
บอร์ด กสท เตรียมพิจารณาใช้วิธีการประมูลซื้อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอในภูมิภาคภายในสิ้นปีนี้
ด้วยงบประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท จากข้อเสนอที่รวมรูปแบบการเช่าเพื่อให้ทันกับสภาพการแข่งขันในตลาด
(ผู้จัดการรายวัน 8 ธันวาคม 2546)
นอร์เทลเสนอทางออกซีดีเอ็มเอ แยกประมูลโครงข่าย-การตลาด
นอร์เทลเสนอทางออกซีดีเอ็มเอ กสท.แยกประมูลโครงข่ายกับการตลาดออกจากกันเหมือนไทยโมบายทศท.
ที่โครง ข่ายซื้อตรงจากซัปพลายเออร์ ส่วน การตลาดใช้วิธีคัดเลือกเอกชน "ทอม
เครือโสภณ" เสนอราคาอุปกรณ์บาดใจหากกสท.ซื้อนอร์-เทลวันนี้ โครงข่าย 8,000 ล้านบาท
1,000 สถานีฐานติดตั้งเสร็จใน 9 เดือน แต่รัฐบาลต้องตอบคำถามแบบจริงใจว่าอยากให้กสท.ทำซีดีเอ็มเอหรือไม่
(ผู้จัดการรายวัน 2 กรกฎาคม 2546)
ล้มประมูลซีดีเอ็มเอยูคอม-นอร์เทลแห้วโครงการ3หมืนล้าน
ล้มซีดีเอ็มเอ มูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท ตามคาด หลังเรียลไทม์ของกลุ่มยูคอม
ถอดใจ ไม่ยืนราคาต่ออีก 2 เดือนตามความต้องการ กสท. ที่หวังซื้อเวลาแบบไม่มีอนาคต
ด้านนอร์เทล เสนอทางออกใหม่ ตัดเรื่องการตลาดทิ้ง ซื้อตรงอุปกรณ์เครือข่ายจากซัปพลายเออร์
ลดต้นทุนโครงการมหาศาล
(ผู้จัดการรายวัน 30 มิถุนายน 2546)