KTBคาดสินเชื่อโต7% เน้นรายย่อย-ขรก.ห่วงดบ.ขาขึ้นแข่งดุฉุดสเปรด
บิ๊กแบงก์กรุงไทยเผยรายได้หลักของธนาคารในปี 53 มาจากสินเชื่อและค่าฟี ส่งผลให้มีการแข่งขันรุนแรง ฉุดสเปรดแบงก์ลดลง พร้อมตั้งเป้าเติบโตตัวสินเชื่อ 7% ตามการการขยายตัวของจีดีพีที่คาดว่าจะอยู่ที่ 3-3.5% พร้อมลุยปล่อยสินเชื่อโครงการภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
(ASTVผู้จัดการรายวัน 2 พฤศจิกายน 2552)
แบงก์คาดกนง.คงดอกเบี้ย1.25%
นายแบงก์คาดกนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.25%ในการประชุมวันนี้ ระบุถึงลดตอนนี้ก็ไม่มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อยังไม่มีวี่แวว
(ASTVผู้จัดการรายวัน 14 กรกฎาคม 2552)
แบงก์ผุดแนวคิดขอลดเงินสมทบ แลกลดอกเบี้ยกู้-ช่วยกระตุ้นศก.
ประธานสมาคมธนาคารไทยผุดแนวคิดขอลดเงินสมทบที่ต้องจ่ายให้สถาบันประกันเงินฝาก 0.4% เพื่อลดต้นทุนและไปเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากหรือลดดอกเบี้ยเงินกู้แทน หวังบรรเทาภาระลูกค้า และเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทางหนึ่ง ชี้สิ่งที่กังวลสุดขณะนี้คือความเชื่อมั่นหากถูกบั่นทอนต่อไปอาจมีผลต่อเงินไหลออกได้ ส่วนนโยบายรัฐหันกู้ในประเทศมากขึ้นจะส่งผลให้ธนาคารมียอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มยันสภาพคล่องมีพอเพียงรองรับ ด้านแบงก์กรุงไทยไตรมาสแรกสินเชื่อโต 1.7%
(ผู้จัดการรายวัน 20 เมษายน 2552)
กรุงไทยจ้องทุ่มเงินซื้อหุ้นเคทีซี
แบงก์กรุงไทยยันสภาพคล่องเหลือพอซื้อหุ้นเพิ่มทุนเคทีซี แต่ยังไม่ได้พิจารณาว่าจะใช้สิทธิ์ซื้อเต็มจำนวนหรือไม่ ชี้เตรียมพิจารณาปรับเป้าสินเชื่อกลางปี หลังเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่อง ด้านแบงก์ไทยพาณิชย์คุย 3 เดือนแรกปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ไปแล้ว 2-3 พันล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 24 มีนาคม 2552)
ปธ.สมาคมแบงก์วิตกการเมืองศก.ชะงัก-ลูกค้าแบงก์มีปัญหา
ประธานสมาคมแบงก์ห่วงการเมืองกระทบการลงทุนและการใช้จ่าย ย้ำเศรษฐกิจของไทยหยุดเดินมา 1-2 ปีแล้ว ส่วนผลกระทบต่อแบงก์เริ่มที่ลูกหนี้กลุ่มโรงแรม เผยจากการพูดคุยลูกค้ากรุงไทยตัวเลขยอดจองห้องพักเดือน พ.ย.หายเกือบหมด ด้านแบงก์กรุงไทยยันกำไรไตรมาส 3 ยังดี พร้อมสำรองCDO ครบ 100%
(ผู้จัดการรายวัน 10 ตุลาคม 2551)
จี้คลังคุมเข้มบาทบอนด์ แบงก์ห่วงสภาพคล่อง
สมาคมธนาคารไทยเปิดเกมรุก ยื่น 5 มาตรการเสนอ รมว.คลังทบทวนและเข้มงวดการออกบาทบอนด์หวั่นกระทบการลงทุนของประเทศในระยะยาว ย้ำแก้ปัญหาสภาพคล่องในระบบ รับมือวิกฤตการเงินสหรัฐ ขณะที่ “สุชาติ ธาดาธำรงเวช” รับข้อเสนอไปพิจารณา ส่วนการตัดสินใจจะเกิดขึ้นภายหลังขอข้อมูลตลาดทุนและประกาศนโยบายของรัฐบาล
(ผู้จัดการรายวัน 30 กันยายน 2551)
บิ๊ก"กรุงไทย"ยันCDOยังปกติ ไทยธนาคารโละทิ้งยอมขาดทุน
ผู้บริหารแบงก์ยังคงชี้แจงไม่โดนหางเลขจากวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐ เอ็มดีแบงก์กรุงไทยระบุไม่มีเงินลงทุนในธนาคารต่างประเทศ ส่วน CDO ที่ถืออยู่ไม่มีปัญหายังได้รับผลตอบแทนตามปกติ พร้อมยันเป้าหมายสินเชื่อเดิม 5-6% ด้านไทยธนาคารยันขาย CDO หมดพอร์ต หลังราคาในตลาดโลกทรุดหนัก ต้องควักเงินกันสำรอง 7 พันล้าน เพื่อให้เป็นไปตามราคาตลาด รวมแล้วขาดทุนเกือบ 50 %
(ผู้จัดการรายวัน 23 กันยายน 2551)
แบงก์กรุงไทยเล็งปรับเป้าสินเชื่อเพิ่ม
แบงก์กรุงไทยเตรียมขยับเป้าสินเชื่อ หลังไตรมาส 1 ปล่อยสินเชื่อเฉียดเป้าหมายทั้งปี คาด NIM ปีนี้อยู่ที่ 4% บนสมมุติฐานแบงก์ชาติคงดอกเบี้ยไว้ที่ 3.25% ยันต้นทุนราคาน้ำมันไม่กระทบลูกค้าถึงขั้นผิดนัดชำระ
(ผู้จัดการรายวัน 28 เมษายน 2551)
"กรุงไทย"โอดหนี้เน่าย้อนกลับ30%พิษเศรษฐกิจซึมยาวธุรกิจกระอัก
เอ็มดีแบงก์กรุงไทยจับตาหนี้เน่าเริ่มส่งสัญญาณขยับขึ้นหลังภาวะเศรษฐกิจซึมยาว รับมียอดเอ็นพีแอลรีเอ็นทรีเพิ่มกว่า 30% ขณะที่เศรษฐกิจครึ่งปีหลังยังเป็นขาลง ต้องหันเน้นหารายได้ค่าธรรมเนียมมากขึ้น ตั้งเป้าว่าในสิ้นปีลูกค้ารายย่อยเพิ่มเป็น 2 ล้านราย จากปัจจุบันที่ 1.3 ล้านราย
(ผู้จัดการรายวัน 7 สิงหาคม 2550)