"แบงก์ชาติ"กลับลำคุมสินเชื่ออสังหาฯ
แบงก์ชาติ กลับลำอีกรอบ เตรียมออกมาตรการคุมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หลังจากออกมาปฏิเสธได้ไม่นาน
ระบุปล่อยกู้บ้านหรู ราคาเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ได้ไม่เกิน 70% พร้อมคุมธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยสินเชื่อโครงการเกิน
100 ล้านบาท จะต้องรายงานให้แบงก์ชาติทราบ เพื่อติดตามตรวจสอบ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร"
ชี้คนซื้อบ้านราคาแพงส่วนใหญ่เป็นพวกเก็งกำไร จะเกิดปัญหาหนี้เสียในอนาคต ทำให้เศรษฐกิจล่มสลาย
ด้านนายกสมาคมอสังหาฯ เห็นด้วยกับการรายงานตัวเลขสินเชื่อโครงการแต่ลูกค้าที่ประวัติดีไม่ควรจำกัดวงเงินปล่อยกู้
(ผู้จัดการรายวัน 28 พฤศจิกายน 2546)
ปี48เอ็นพีแอลแบงก์ลด ธปท.วางเป้าต่ำกว่า5%
ผู้จัดการรายวัน -แบงก์ชาตินัดนายแบงก์ ทำเวิร์กชอปแก้เอ็นพีแอล วางเป้า 2 ปี
ลดลงเหลือต่ำกว่า 5% จี้แบงก์เร่งแก้ไขกลุ่มลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้เสร็จ และ
กลุ่มที่อยู่ระหว่างการเจรจา ต้องลดลงให้ ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทให้ได้ภายในปี 48
ด้านนายแบงก์ขานรับอีก 2 ปีเอ็นพีแอลลดตามเป้าแน่
(ผู้จัดการรายวัน 27 พฤศจิกายน 2546)
"ธปท."จับมือแบงก์ชาติลาวเปิดเครดิตไลน์หนุนเงินกีบ
ธปท.รับบทพระเอกช่วยสร้างเสถียรภาพ ค่าเงินกีบของลาวเพื่อนบ้านใกล้ชิด ลงนามข้อตกลงกับธนาคารแห่งชาติลาวความร่วมมือ
4 ด้าน รวมทั้งการเปิดเครดิตไลน์ สนับสนุนการชำระเงินผ่านระบบธนาคารระหว่างพ่อค้าไทยลาวให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
เผยก่อนหน้านี้ เงินกีบ ถูกเมินหนัก จนลาวคิดแก้เกมด้วยการลดปริมาณซื้อสินค้าไทย
(ผู้จัดการรายวัน 24 พฤศจิกายน 2546)
กลต.ยืดเน็ต25%อีก5เดือน
มาตรการคุมคุณเน็ตพ่นพิษ หุ้นวูบ 2.52% แถมฝรั่งยังขายสุทธิต่ออีกกว่า 1,300
ล้านบาท คาดหุ้นเดินหน้า ผันผวนขาลง ขณะที่บอร์ด ก.ล.ต.ยอมพบกันครึ่งทางกับ ตลท.
โดยคงมาตรการวางเงินสดค้ำประกัน 10% ของมูลค่าซื้อขายผ่านบัญชีเน็ต มีผล 1 ธ.ค.แต่เลื่อนมาตรการวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน
25% ไปอีก 5 เดือน มีผล 1 พ.ค.กับทุกบัญชีเน็ต เพื่อให้โบรกเกอร์ปรับระบบให้พร้อม
ขณะที่ทักษิณติง ก.ล.ต.วางมาตรการครอบจักรวาลเกินไป ควรคุมหุ้นรายตัว ด้านกิตติรัตน์
เหน็บ ก.ล.ต.เป็นผู้น้อยต้องทำตามผู้ใหญ่
(ผู้จัดการรายวัน 18 พฤศจิกายน 2546)
ยุบเงินทุนรวมแบงก์"ธนชาต"กลืนบง.แม่
แบงก์ธนชาตเตรียมกลืนบริษัทลูก บง.ธนชาติ เพื่อขยายสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น ขณะที่มาสเตอร์แพลนที่แบงก์ชาติกำลังเสนอคลัง
จะยุบรวม บง.เข้ากับธนาคารแม่ทั้งหมด เพื่อให้แบงก์ทำธุรกิจได้เพิ่มขึ้น แข็งแกร่งขึ้น
ขณะที่ดีลไทยธนาคารกลืนไอเอฟซีที ธปท.ยันเสร็จทันปีนี้แน่ ส่วนสินทรัพย์เน่า (เอ็นพีเอ)
แบงก์พาณิชย์ทั้งระบบ เตรียมโอนเข้า บบส. ซึ่งคาดกระบวนการจะเสร็จปีนี้แน่ เพื่อให้แบงก์เดินหน้าปล่อยกู้ได้
ดันเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายวัน 5 พฤศจิกายน 2546)
หุ้นเทรดสูงสุดรอบ28ปี
กระทิงหุ้นไทยเดินหน้าต่อเนื่องวานนี้ หลังแบงก์ชาติย้ำอีกรอบ ตลาดหุ้น-อสังหาฯห่างไกลฟองสบู่
ดันวอลุ่มพุ่ง 6.42 หมื่นล้านบาท สูงสุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย 28ปี ขณะที่ฝรั่งยังซื้อสุทธิอีก
1,083 ล้าน บาท ดัชนีเพิ่ม 0.77% เป็น 665 จุด คาดดัชนีเดินหน้าผันผวน
(ผู้จัดการรายวัน 5 พฤศจิกายน 2546)
เข้มความเสียงแบงก์กรุงเทพเพิมทุนปี47
ผู้ว่าแบงก์ชาติ เผยดอกเบี้ยไทยจะต่ำต่อเนื่อง เหตุการลงทุนยังต่ำเพียง 16% ของจีดีพี
ส่วนมาตรการภาษีเตรียมหยิบหารือที่ประชุม ครม.วันนี้ (28 ต.ค.) ขณะที่แบงก์กรุงเทพเตรียมเพิ่มทุนกลางปีหน้า
เพื่อไถ่ถอนแคปส์ ส่วนแบงก์ลูกครึ่ง ธปท.จะไม่สั่งให้เพิ่มทุน เพราะมีแบงก์แม่รองรับอยู่แล้ว
ด้านแบงก์ชาติเตรียมใช้ระบบบาเซิล 2 ในไทยปลายปี 49 เน้นกระจายความเสี่ยงแบงก์
ด้วยเกณฑ์เข้มงวดขึ้น "อุ๋ย" คาดทุกแบงก์พร้อม ขณะที่แบงก์ใหญ่ขานรับ
(ผู้จัดการรายวัน 28 ตุลาคม 2546)
เอเชียบอนด์2คลอดธ.ค. ดันเป็นหัวข้อหลักเอเปก
"สมคิด" คาดกองทุนพันธบัตรเอเชีย กอง 2 คลอด ธ.ค.นี้อีกพันล้านดอลลาร์เท่ากองแรก
เน้นลงทุนพันธบัตรสกุลเงินเอเชีย พร้อมดันพันธบัตรนี้เป็นหัวข้อหลักในเอเปก "ทักษิณ"
มั่นใจพันธบัตรเอเชียจะเข้มแข็งภายใน 1 ปี ด้านหม่อมอุ๋ย แนะตั้งกอง 3 รองรับอินเดีย
ขณะที่กองแรกลงทุนแล้ว 800 ล้านดอลลาร์
(ผู้จัดการรายวัน 17 ตุลาคม 2546)
ฝรั่งสนKTBจองเกิน3เท่า
แบงก์กรุงไทยเคาะราคาขาย 3 พันล้านหุ้น หุ้นละ 8.50 บาท แบ่งสัดส่วนไทยต่างชาติ
50: 50 เพิ่มสัดส่วนต่างชาติเป็น 18% กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นแบงก์ใหญ่อันดับ 2 ของไทยแห่งนี้ลดเหลือ
60% ยันโรดโชว์ประสบความสำเร็จ รายใหญ่ที่นิวยอร์กจองถึง 78 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ
3.1 พันล้านบาท) ดีมานด์ทั่วโลกมากกว่า 3 เท่า มั่นใจขายหุ้นเกลี้ยง แน่นอน เพราะอานิสงส์เศรษฐกิจฟื้น
ขณะที่ผู้ว่าฯแบงก์ชาติพอใจราคาขาย KTB ระบุต้นทุน กองทุนฟื้นฟูฯ 5.50-5.60 บาท/หุ้น
ดีบีเอสฯ เชียร์ซื้อ เป้าหมาย 13.10 บาท
(ผู้จัดการรายวัน 9 ตุลาคม 2546)
ควบ "BT-IFCT"สะดุดกฎหมายยันต้องออกพ.ร.ก.ฉบับใหม่แทน
ควบรวม "ไทยธนาคาร-ไอเอฟซีที" สะดุดข้อกฎหมาย หลังกฤษฎีกาชี้ขาดกฎหมายเดิมไม่เปิดทางให้ควบรวม
ต้องออกเป็นพระราชกำหนดฉบับใหม่แทน ขณะที่คลัง มั่นใจดำเนินการได้ทันตามกำหนดเดิม
ชี้หากไม่ควบรวมจะเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนผู้เสียภาษี
(ผู้จัดการรายวัน 8 ตุลาคม 2546)