"ทนง"ขู่จีดีพีปีหน้าโตแค่2%ธปท.พอใจทิศทางศก.ฟุ้งเงินเฟ้อลด
หม่อมอุ๋ยพอใจทิศทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง ระบุเงินเฟ้อลดลงแน่นอน "ทนง พิทยะ" ยังมั่นใจเศรษฐกิจไทยปีนี้โต 4.5% แต่ปีหน้าอาจเหลือแค่ 3.5% และหากเลวร้ายสุดกรณีการเมืองมีปัญหาและงบปี 2550 ล่าช้า จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือแค่ 2%
(ผู้จัดการรายวัน 5 กรกฎาคม 2549)
หม่อมอุ๋ยเล็งปรับดอกเบี้ย ตีกันการเมืองแทรกแซง
แนวโน้มคณะกรรมการนโยบายการเงินปรับขึ้นดอกเบี้ย "หม่อมอุ๋ย" ระบุชัดเรื่องดอกเบี้ยเป็นหน้าที่แบงก์ชาติ ให้ความสำคัญเงินเฟ้อ ชี้เป็นเรื่องปกติที่คลังเห็นแตกต่างจากแบงก์ชาติ ยอมรับเงินทุนไหลเข้าออกผันผวนเป็นปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจในขณะนี้ ด้านประธานเฟดล่าสุดก็ส่งสัญญาณทำนองเดียวกันว่า ห่วงเงินเฟ้อในสหรัฐฯและน่าจะต้องขยับขึ้นดอกเบี้ยอีก
(ผู้จัดการรายวัน 7 มิถุนายน 2549)
ขาดดุลเดินสะพัดอีก 3 ปี เงินเฟ้อเดือน พ.ค.พุ่ง 6.2%
ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติยอมรับขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอีก 2-3 ปี เซอร์ไพรส์ปี 49 เพิ่งมาขาดดุลในเดือน เม.ย. มองแง่ดีราคาน้ำมันใกล้จุดสูงสุดแล้ว ด้านพาณิชย์เผยเงินเฟ้อ พ.ค.พุ่ง 6.2% “การุณ” เผยสูงผิดปกติเพราะเป็นช่วงจ่ายค่าเทอมและการขึ้นค่าธรรมเนียมรถไฟ ลั่นถ้าน้ำมันหยุดราคาพุ่งเงินเฟ้อจะลดลง เผยปรับเป้าอีกครั้งหลังได้ตัวเลขเดือน มิ.ย.
(ผู้จัดการรายวัน 2 มิถุนายน 2549)
แบงก์ชาติจับตาค่าบาทผันผวนหวั่นต่างชาติทุบหุ้นขนเงินออก
"บัณฑิต นิจถาวร" ชี้เริ่มมีเม็ดเงิน ไหลออกมาประมาณ 1 เดือน ต้องจับตาเม็ดเงินลงทุน จากต่างชาติอย่างใกล้ชิด ขณะที่ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติระบุค่าเงินบาทเริ่มนิ่ง และแข็งค่าในระดับใกล้เคียงประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุน พร้อมเตรียมเข้ารายงานสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไปได้ดีต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ เตือนหากรัฐบาลเบิกจ่ายงบประมาณไม่ทันตุลาคม 2549 จะกระทบต่องบลงทุนใหม่
(ผู้จัดการรายวัน 23 พฤษภาคม 2549)
ธปท.ยอมรับเงินเฟ้อหลุดเป้ารอตัวเลขพ.ค.ก่อนปรับแผน
หม่อมอุ๋ยยอมรับเงินเฟ้อกระทรวงพาณิชย์เดือน เม.ย. 6% สูงกว่าคาดการณ์ของแบงก์ชาติ ระบุต้องติดตามเดือนต่อๆ ไปอีกครั้งก่อนปรับนโยบายที่เหมาะสม ยันยังไม่น่าห่วง เพราะเป็นไปตามทิศทางราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่วนประมาณการแบงก์ชาติครั้งล่าสุดภายใต้เงื่อนไขราคาน้ำมันดิบดูไบ 61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เงินเฟ้อจะอยู่ที่ 4-5%
(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤษภาคม 2549)
อุ๋ยสารภาพแทรกแซงบาทตั้งแต่พ.ย.48-แฉเงินร้อนทะลัก4.4แสนล้าน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทตั้งแต่ค่าเงินบาท และเงินในสกุลภูมิภาคเอเชียเริ่มแข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจน ตั้งแต่เดือน พ.ย.2548 ที่ผ่านมาหรือนานกว่า 5 เดือน โดยการแทรกแซงครั้งนี้ถือว่าเป็นช่วงที่หนักที่สุด เพราะแรงกดดันจากเงินทุนตามนโยบายของสหรัฐมาอย่างรุนแรง และรวดเร็วกว่าทุกครั้ง
(ผู้จัดการรายวัน 28 เมษายน 2549)
"อุ๋ย"จับตาแบงก์ขายหุ้นต่างชาติ BAYเจรจาจีอี-"BBL-KBANK"ปฏิเสธ
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติเกาะติดธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มสัดส่วนหุ้นของต่างชาติ เผยยังไม่มีรายใดยื่นขออนุญาต ขณะที่กรุงศรีฯ ยอมรับกำลังเจรจาจีอีควบรวมกิจการเพื่อรับมือการแข่งขันในอนาคต ค่ายกสิกรไทยปฏิเสธควบรวมไทยพาณิชย์ ส่วนบัวหลวงยันคงเพดาน ต่างชาติ 48%
(ผู้จัดการรายวัน 31 มกราคม 2549)
หม่อมอุ๋ยโล่งดีลชินคอร์ปจบ เชื่อบาทหยุดแข็งค่า-ชี้แนวต้าน38.85
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติยันค่าเงินบาทจะมีเสถียรภาพดี หลังการซื้อ ขายหุ้นชินคอร์ปจบ ปัจจัยกดดันไม่มีอีก ด้านผู้เชี่ยวชาญหวั่นสัปดาห์นี้ยัง มีสิทธิเห็นค่าเงิน 38.85 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนแบงก์ชาติจะเข้าแทรกแซง ขณะที่ค่าเงินวานนี้ แข็งสุดแตะ 39 บาทต่อดอลลาร์
(ผู้จัดการรายวัน 24 มกราคม 2549)