ตระกูล "โสภณพนิช" แชมป์ ตลาดผันผวนมูลค่าหุ้นวูบ
ตรวจสอบสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยจากต้นปีถึงช่วงพักหยุดยาว พบดัชนีตลาดหุ้นไทยรูดเกือบ
100 จุด ขณะที่มูลค่าตลาดรวมหายไปกว่า 4.6 แสนล้านบาท มูลค่าหุ้นตระกูลดังลดวูบนำทีมโดย
โสภณพนิช ตามด้วย ชินวัตร, มาลีนนท์, เจียรวนนท์ และอัศวโภคิน
(ผู้จัดการรายวัน 16 เมษายน 2547)
อ.ส.ม.ท.ทำวิทยุเดือดค่ายใหญ่เปิดศึกชิงคลื่น
สงครามคลื่นวิทยุเตรียมระอุอีกรอบ จับตาเดือนมีนาคมหลายคลื่นหมดสัมปทาน ขาใหญ่ไล่กวาดคลื่นวิทยุเข้าสังกัด
ชี้ปีนี้สัมปทานสลับมือกันวุ่น ยื่นค่าตอบแทนสุดเวอร์ถึงระดับ 5-6 ล้านบาท กลับสู่ยุคเฟื่องฟูก่อนฟองสบู่แตกอีกครั้ง
กลุ่มที่หลุดคลื่นอ.ส.ม.ท.วิ่งประมูลเพื่อหาคลื่นใหม่ทดแทน
(ผู้จัดการรายวัน 2 กุมภาพันธ์ 2547)
แกรมมี่ย้ำแค้นอาร์เอสช่อง3จับร่วมทุนดีลแรก
ช่อง 3 ยก เวลาไพรม์ไทม์ของ "ไตรภพ ลิมปพัทธ์" 4.45 ชั่วโมงให้แกรมมี่
เผยทำตามพันธ-สัญญา 10 ปีก่อนที่เคยคิดร่วม งานกันแต่ไม่สบโอกาส ระบุแกรมมี่มีรายการหลาก
หลาย คาดดันรายได้เพิ่มจาก ที่ไตรภพเคยทำไว้ เตือนผู้ผลิต ผู้จัด ให้ขออนุญาตช่อง
3 ก่อนนำรายการ-นักแสดงที่โด่งดังจากช่อง 3 ไปลงช่องอื่นๆ ด้านแกรมมี่รับข่าวดีก่อนตรุษจีน
อากู๋เผย ปีนี้ลงทุนมากที่สุดในรอบ 5 ปี
(ผู้จัดการรายวัน 20 มกราคม 2547)
GMMตังหน่วยจีไอพีคุมขายสินทรัพย์เก่าหากิน
"จีเอ็มเอ็ม"ประกาศแผนขึ้นปีที่ 21 เดินหน้าเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทรัพย์สินซ่อนเร้นอย่างเป็นรูปธรรม
จัดตั้งหน่วยงาน "จีไอพี" เป็นศูนย์กลางดูแลบริหารลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาทุกแขนงที่มีอยู่
คุยปีหน้ารีดทรัพย์ได้กว่า 1,000 ล้านบาท จากการขยายตัวเทคโนโลยี มือถือ ทั้งริงโทน
คาราโอเกะ โลโก้หน้าจอ เปิดโครงการสร้างเลือดใหม่ อากู๋ลงสนามฝึกคนรุ่นใหม่ ธุรกิจเพลง
มั่นใจปีหน้า กสช.เกิดแน่ เตรียมแผนลงทุนกลุ่มทีวี สนทั้งเคเบิลทีวีและฟรีทีวี
(ผู้จัดการรายวัน 12 พฤศจิกายน 2546)
ธุรกิจสื่อสิงพิมพ์ไทยเข้าสู่ยุคเบ่งบาน ค่ายใหญ่ระดมส่งหัวใหม่ลงแผง
ธุรกิจสิ่งพิมพ์เข้าสู่ยุคทอง เมื่อค่ายใหญ่ทั้งแกรม มี่ ทราฟฟิกคอร์เนอร์ และเดอะ
บอย ต่างระดมส่งหนังสือหัวใหม่ลง แผงอย่างต่อเนื่อง มั่นใจเศรษฐกิจ ขาขึ้นผู้บริโภคเข้าสู่ยุคบริโภคข่าวสารนิยม
ล่าสุด จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ในเครือแกรมมี่ จับมือร่วมทุนกับ SPH แมกกาซีน เปิดนิตยสารหัว
นอกจากสิงคโปร์ในประเทศไทย Her World
(ผู้จัดการรายวัน 18 กรกฎาคม 2546)
บะหมี่ฟอร์-มีหมดฤทธิ์ สหพัฒน์ขอซื้อหุ้น"อากู๋"
ฟอร์-มี บะหมี่ของพวกเรา ที่"อากู๋" ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เจียดเงินส่วนตัวมาทำตลาดหวังเป็นอาชีพเสริมให้
กับศิลปินของค่ายแกรมมี่ เริ่มออกอาการ เมื่อการตลาดสะดุด กลุ่ม สหพัฒน์เจรจาขอเป็นผู้ถือหุ้นข้างมาก
ในสัดส่วนกว่า 50% จาก ที่ถืออยู่ 40% หวังครองอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งการตลาดและจัดจำหน่าย
(ผู้จัดการรายวัน 16 ธันวาคม 2545)
เบื้องหลัง"อภิรักษ์" หันซบทีเอออเร้นจ์
"อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ประธานกรรมการบริหาร จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ประกาศลาออกเพื่อรับตำแหน่งใหม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการร่วมบริษัท ทีเอ ออเร้นจ์
(ผู้จัดการรายวัน 24 กันยายน 2545)
อากู๋ลุยธุรกิจขายตรง ส่ง"ยูสตาร์"ลงตลาด
"อากู๋" รุกก้าวที่สอง คราวนี้มาแหวกแนวเปิดบริษัทเครื่องสำอาง
"ยูสตาร์" ชนเจ้าตลาดขายตรงอย่าง มิสทินและเอวอน ปีหน้าตั้งใจกวาดตัวแทนขายร่วมหมื่นคน
(ผู้จัดการรายวัน 13 กันยายน 2545)
อากู๋ควักเงิน200ล้านบาท
นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด
(มหาชน) เปิดเผยว่า ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจของแกรมมี่มาจนขยายกิจการได้เติบใหญ่
แต่ในช่วงชีวิตการทำงานที่ผ่านมาได้คลุกคลีอยู่ในวงการสินค้าอุปโภคบริโภคมาตั้งแต่เริ่มแรก
จากที่เป็นผู้บุกเบิกมาม่าในตลาดเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ตนทำงานอยู่ที่บริษัท
ฟาร์อีสต์ แอดเวอร์ไทซิ่งและในช่วงนี้ก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้กลับมาทำธุรกิจที่ถนัดอีกครั้ง
ด้วยเงินทุนส่วนตัว
(ผู้จัดการรายวัน 6 มีนาคม 2545)