ธปท.คาดเลวร้ายสุดจีดีพี-5% ปัจจัยการเมืองศก.โลกรุนแรง
กนง.ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจใหม่ คาดจีดีพีปีนี้ติดลบ 1.5-3.5% จากปัญหาการเมืองยืดเยื้อกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุนและนักท่องเที่ยว ส่วนมูลค่าการส่งออกติดลบ 24-5-27.5% เหตุเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเดี้ยง อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ -1 ถึง 1% แต่หากการเมืองเกิดเหตุรุนแรงและเศรษฐกิจโลกยังทรุดหนัก จีดีพีไทยอาจติดลบ 4-5% แนวโน้มภาคครัวเรือนตกงาน-หนี้เสียเพิ่ม
(ผู้จัดการรายวัน 23 เมษายน 2552)
กนง.หั่นดอกเบี้ย0.25% แบงก์จ่อคิวลดตามภายใน1-2วัน
กนง.ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% หวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไป ชี้ในช่วง 1-2 วันนี้ได้เห็นแบงก์ปรับลดดอกเบี้ยตาม เผยในอนาคตยังมีช่องให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อีก ขณะที่การชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงบั่นทอนความเชื่อมั่นในวงกว้างและอาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำจากเดิมที่ติดลบ
(ผู้จัดการรายวัน 9 เมษายน 2552)
"ธปท.-คลัง"ร่วมสกัดเงินฝืด ชงกรอบเงินเฟ้อใหม่0.5-3.5%
เตรียมเสนอ ครม. ผ่านมติกำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 52 ใหม่ เป็น 0.5-3% ขยับฐานจาก 0-3.5% "กนง.-รมว.คลัง" เห็นร่วมกันหวังสกัดปัญหา "เงินฝืด" ชี้การตั้งกรอบใหม่เลื่อนฐานขั้นต่ำขึ้นจาก 0% เป็น 0.5% ยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศ เผยมีข้อแม้หาก กนง.ทำเงินเฟ้อหลุดเป้า ต้องแจงผ่านหนังสือเปิดผนึกให้ รมว.คลัง และประชาชนรับทราบว่า เกิดขึ้นได้ย่างไร และเมื่อไรจะดึงเงินเฟ้อกลับเข้าเป้าได้
(ผู้จัดการรายวัน 28 มกราคม 2552)
แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยแรง1%เรียกความเชื่อมั่นกระตุ้นศก.
ธปท.มีมติหั่นเปรี้ยงเดียว 1% ส่งผลดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 2.75% เป็นการลดดอกเบี้ยที่แรงที่สุดนับตั้งแต่มีการประชุม กนง.มาตั้งแต่ปี 43 หวังช่วยเรียกความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเฉพาะหน้าหลังพบแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไปชะลอตัวมาก แย้มมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยอีก หลังการใช้นโยบายการคลังได้ช้าจากปัญหาการเมือง พร้อมทั้งมีโอกาสปรับจีดีพีปี 52 ใหม่เหลือ 1% หลังพบเศรษฐกิจไทยชะลอต่อเนื่องไปยังปีหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 4 ธันวาคม 2551)
ตรึงดอกเบี้ยรับมือวิกฤตกนง.จับตา6มาตรการรัฐ
กนง.ชุดใหม่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.75% รับมือสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอ ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย หากความเสี่ยงเงินเฟ้อและอัตราการเติบโตเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ชี้หากรัฐบาลไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ 94% ตามเป้าที่ตั้งไว้ อาจมีผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค หวั่นการส่งออกมีโอกาสหดตัวตามเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จับตา 6 มาตรการ 6 เดือน ที่จะหมดอายุในเดือน ก.พ.ปีหน้าจส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างไร
(ผู้จัดการรายวัน 9 ตุลาคม 2551)