ชง ปปช.-สตง.เชือดคดี TPI
คณะปฏิรูปการปกครองในระบบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค) ได้ประกาศชัดหลังเข้ายึดอำนาจจากระบอบทักษิณว่า “จะคืนความชอบธรรมให้กับประเทศไทย” ในทุกมิติปัญหาของสังคม โดยเห็นได้จากการประกาศให้ระบบกลไกขององค์กรอิสระในระบอบประชาธิปไตยหลายองค์กรเริ่มเดินเครื่องทำงานกันแล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 27 กันยายน 2549)
ล้างระบอบ ทักษิณ-ล้างมลทิน “ทีพีไอ”
หลังจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกาศ “ยึดอำนาจ” รัฐบาลภายใต้การนำของ “ทักษิณ ชินวัตร” ได้ส่งผลกระทบให้ระบอบ “ทักษิณ” ล้มครืนเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะการเข้าไป “ล้างบาง” ความไม่ชอบมาพากลในการบริหารบ้านเมืองและปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่ถูกซุกไว้ใต้พรมตลอดระยะเวลา 5 ปีเศษ ที่รัฐบาลชุดดังกล่าวบริหารประเทศ!
(ผู้จัดการรายวัน 25 กันยายน 2549)
"ทนง" ปัดดึงต่างชาติเพิ่มทุน BT ไฟเขียวแบงก์ชาติกำกับธนาคาร
“ทนง พิทยะ” ปัดแบงก์ชาติเป็นผู้ดูแลกรณีไทยธนาคารดึง TPG Newbridge ร่วมทุน ระบุธปท.รู้ดีที่สุดว่าอะไรควรทำ คลังมีหน้าที่อนุมัติตามที่แบงก์ชาติเสนอมาเท่านั้น ขณะที่การลาออกของเอ็มดีแบงก์นครหลวงไทยไม่ขอยุ่งด้วยเพราะกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ใช่คลัง
(ผู้จัดการรายวัน 31 สิงหาคม 2549)
"ทนง" โต้ยื้อแผนควบรวมแบงก์กรุงศรี-จีอี
รมว.คลังปฏิเสธดึงแผนควบรวมธนาคารกรุงศรีฯ และจีอี ระบุขณะนี้อยู่ในขั้นตอนศึกษารายละเอียดทางกฎหมาย ด้านผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารกรุงศรีฯ เชื่อหลังมีการรวมธุรกิจกับจีอีจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจแบงก์ในปีหน้า
(ผู้จัดการรายวัน 27 กรกฎาคม 2549)
ขุนคลังยอมรับเริ่มมีสัญญาณอันตรายจากการลงทุนของต่างชาติมากขึ้น
“ทนง พิทยะ” ยอมรับเริ่มมีสัญญาณอันตรายความเชื่อมั่นและการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นหลังปัญหาการเมืองที่ยังไม่ยุติ จึงต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจมากขึ้นขณะเดียวกันจะต้องเร่งลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น พร้อมส่งสัญญาณถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หากขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกจะซ้ำเติมเศรษฐกิจให้ทรุดหนักขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 31 พฤษภาคม 2549)
"ทนง"เห็นพ้องหนุนรวม"BAY-GE"อ้อมแอ้มขยายเพดานต่างชาติถือหุ้น
"ทนง"ไม่ขัด"กรุงศรีฯ"ควบรวม"จีอี" หากทำให้ฐานะการเงินแข็งแกร่ง และเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างรอรายละเอียดจากจีอีก่อน ด้านแบงก์กรุงศรีฯแจงความคืบหน้ารอจีอีเสนอขอผ่อนผันการถือหุ้นเกินเกณฑ์กับแบงก์ชาติเอง เชื่อเป็นความร่วมมือที่ดีและช่วยหนุนในด้านธุรกิจรายย่อยให้กับธนาคารด้วย
(ผู้จัดการรายวัน 24 พฤษภาคม 2549)
ขุนคลังฟุ้งปีนี้จีดีพีโต5-6%อุ๋ยพร้อมรับการเมืองป่วน
"ทนง พิทยะ" ยอมรับปัญหาการเมืองกระทบเศรษฐกิจ แต่ยังมั่นใจจีดีพี 5-6% เหตุพื้นฐานแข็งแกร่ง อ้างนักลงทุนต่างชาติลงตลาดหุ้น 2 เดือน 9 หมื่นล้าน ครวญจำเป็นต้องเลื่อนลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ด้านผู้ว่าฯ แบงก์ชาติเผยทำใจรับสภาพการเมืองยืดเยื้อหลังเลือกตั้งโดยเน้นรักษาเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ
(ผู้จัดการรายวัน 4 เมษายน 2549)
ทนงสวมบทองครักษ์ชิน โบ้ยก.ล.ต.แจงแอมเพิล ริช
ขุนคลังทนง ตีกรรเชียงเล่นบทลอยตัวตระกูลนายกฯขายหุ้นชินคอร์ป ปฏิเสธไม่รู้เรื่องเงื่อนงำแอมเพิล ริช ขายหุ้นให้ "พานทองแท้-พิณทองทา" โบ้ย สรรพากร-ก.ล.ต.-ตลาดหลักทรัพย์ฯแจกแจง เผยไม่หวั่น ปชป.จับขึ้นเขียงอภิปรายไม่ไว้วางใจ ด้านผู้บริหารชินคอร์ปร่อนหนังสือแจงตลาดหลักทรัพย์ไม่รู้ไม่เห็นข้อมูลอื่นใดนอกจากจดหมายแจ้งจากผู้ถือหุ้นใหญ่วันทำดีล 23 ม.ค.
(ผู้จัดการรายวัน 31 มกราคม 2549)
คลังเปิดแผน 3 ปี เน้น บจ.ปลุกผีธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
เปิดนโยบายกระทรวงการคลังยุค "ทนง พิทยะ" ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ-อัตราภาษี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง ขณะเดียวกันต้องเอื้อการขยายการลงทุนภายใน พัฒนาเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ เผยต้องการให้สัดส่วนเอกชนในการถือหุ้นกฟผ. ไม่เกิน 25% ยอมรับยังไม่มีความเห็นจาก ครม. แนะเมกะโปรเจกต์ต้องดูความจำเป็นเพื่อเรียงลำดับก่อนหลังของโครงการ
(ผู้จัดการรายวัน 27 ธันวาคม 2548)
"ทนง"จี้ออมสินอัดเงินกู้
ขุนคลังมอบนโยบายธนาคารออมสิน ต้องปล่อยสินเชื่อสนองนโยบายรัฐบาล ในการแก้ปัญหาความยากจนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน ขณะเดียวกันต้องสนับสนุน ธอส.-การเคหะฯ สานฝันให้รายย่อยกู้ไปซื้อบ้าน ระบุสภาพคล่อง ล้นถึง 62,488 ล้าน ขณะที่เงินกองทุน 27.5% ไม่ต้อง เพิ่มทุนอีกนาน "กรพจน์" คุยหนี้เสียสิ้นปีเหลือแค่ 4% ยันยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยธนาคารประชาชน คาดปีนี้กำไร 1.2 หมื่นล้าน
(ผู้จัดการรายวัน 22 ธันวาคม 2548)