สมคิดรับน้ำมันกระทบศก.เอกชนวอนรัฐอุ้มSMEs
"สมคิด"เปรยยอมรับความจริงปัจจัยลบ"น้ำมัน-การเมือง"กระทบเศรษฐกิจ แนะรัฐบาลดูแลเงินคงคลังให้เหมาะสมหลังภาษีรายได้หลังลด ระบุจีดีพีโตเท่าไหร่ไม่สำคัญขอแค่ให้โตขึ้นพอ ขณะที่"ประเสริฐ" เผยหากเกิดสงครามขึ้น น้ำมันทะลุ 100 เหรียญแน่นอน ด้านก้องเกียรติ ชี้ภาครัฐ-เอกชนต้องสร้างความน่าสนใจดึงเม็ดเงินต่างชาติลงทุนเพิ่ม เตรียมปรับเป้าดัชนีตลาดหุ้นปีนี้ลดลง "สภาอุตฯ" วอนรัฐช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลาง-เล็กต่อสู้ภาวะการแข่งขัน
(ผู้จัดการรายวัน 27 เมษายน 2549)
"สมคิด"อ้อนประกันลงทุนหุ้น หลังเงินจมในตลาดตราสารหนี้
"สมคิด" จี้ธุรกิจประกันชีวิต และประกันภัยปรับโครงสร้างความเข้มแข็งธุรกิจให้มากขึ้น รองรับการเปิดเสรีภาคการบริการที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ไม่ใช่จะรอมาตรการภาษีจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว พร้อมเปิดช่องให้ธุรกิจประกันลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นได้ แนะกรมการประกันภัยประชุมหารือภาคธุรกิจสร้างความแข็งแกร่งธุรกิจก่อนหามาตรการเสริม
(ผู้จัดการรายวัน 10 พฤศจิกายน 2548)
จี้ลงโทษหนักเอกชนทุจริตล้างบ้านรับกระแสลงทุนเข้าไทย2ปีข้างหน้า
"สมคิด" เชื่อ 2-3 ปีหน้ากระแสการลงทุนจะมุ่งเข้ามาในไทย แนะเร่งกำจัดคอร์รัปชั่นภาคธุรกิจทั้งในและนอกตลาดหุ้นแม้ไทยสอบผ่านบรรษัทภิบาล ใครไซฟ่อน-ตกแต่งบัญชี ให้ใช้บทลงโทษรุนแรง ระบุ BOI ปรับนโยบายให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามธุรกิจ เชื่อ"หวัดนก"กระทบจีดีพีแค่เล็กน้อย
(ผู้จัดการรายวัน 27 ตุลาคม 2548)
พาณิชย์ขึ้นบัญชีคุม11สินค้าเพิ่ม
"พาณิชย์" ขึ้นบัญชีควบคุมสินค้าเพิ่มเติมอีก 11 รายการ สกัดพ่อค้าโขกราคาจนกระทบค่าครองชีพประชาชน พร้อมเพิ่ม มาตรการสินค้าควบคุมเดิม กำหนดให้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ปูนซีเมนต์ สายไฟฟ้า กระดาษเหนียว แชมพู สบู่ และผงซักฟอก ต้องแจ้งการตั้งราคา หรือจะปรับราคาก่อนขายไม่ได้ ส่วนการขนย้ายข้าวเปลือก ข้าวสารไปภาคอีสาน ต้องขออนุญาตก่อน สกัดนำไปปลอมปนหอมมะลิ
(ผู้จัดการรายวัน 6 ตุลาคม 2548)
สมคิดดันส่งออก20%ตามเป้า
"สมคิด" ดันเป้าส่งออกปีนี้ต้องไม่ต่ำกว่า 20% เผย 8 เดือนแรกส่งออกแล้ว 14% มั่นใจคุมดุลการค้าไม่เกินดุลได้แน่นอน ชี้ท่องเที่ยว-บริการ แก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ระบุกุ้ง-ไก่ ส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ด้าน ส.ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเผยสึนามิทำการผลิตอาหารกุ้งครึ่งปีหลังลด 10%
(ผู้จัดการรายวัน 7 กันยายน 2548)
"สมคิด" ย้ำไม่เซ็นFTAหากไทยเสียเปรียบ
"สมคิด" ย้ำ เอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นสร้างประโยชน์ ในระยะยาว ดันไทยเป็นศูนย์กลาง ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ ยืนยันอีกครั้งจะไม่ลงนาม เด็ดขาดหากไทยเสียเปรียบ โดยเฉพาะถ้าเจรจากฎแหล่งกำเนิดสินค้าไม่จบ "พิศาล" บินถกญี่ปุ่น 25-26 ส.ค.นี้ เผยถ้าสรุปได้สินค้า เกษตรไทยที่ปัจจุบันส่งออกได้ 4.2 หมื่นล้านบาทจะส่งออกได้มากกว่า นี้ ทางด้านภาคบริการญี่ปุ่นเปิดให้ไทยเพียบ วงในแฉรัฐจัดฉากสร้างภาพบวกเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น หลังไม่ปล่อยเอกชนขึ้นพูด
(ผู้จัดการรายวัน 11 สิงหาคม 2548)
FTA ญี่ปุ่นโยนนายกฯ ตัดสินไทยผ่อนปรนเกือบทั้งหมด
ถกเครียดเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นระดับรัฐมนตรีเกือบ 4 ชั่วโมง ไทยเป็นฝ่ายตั้งรับและผ่อนปรนตามข้อเสนอของญี่ปุ่นแทบทั้งหมด ส่วนเรื่องกฎแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าเกษตรของไทยกว่าจะจบได้เลือดตาแทบกระเด็น สุดท้ายได้ข้อสรุปแล้ว 99% เหลือ 1% "สมคิด-นาคากาว่า" นัดหารืออีกครั้งช่วงเช้าวันนี้ ก่อนเข้าพบ "ทักษิณ" ลุ้นประกาศเอฟทีเออย่างเป็นทางการวันนี้
(ผู้จัดการรายวัน 1 สิงหาคม 2548)
ไทยตั้งเงื่อนไขปิด FTA ญี่ปุ่นต้องทลายกฎสินค้าเกษตร
ไทยตั้งเงื่อนไขปิดรอบการเจรจาเอฟทีเอญี่ปุ่น ย้ำต้องให้ไทยบ้าง ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาขออย่างเดียว หลังไทยยอมถอย ทั้งการเปิดเสรีเหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์และรถยนต์ ระบุญี่ปุ่น ต้องปรับกฎแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อให้สินค้าเกษตรไทยเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่สักแต่ลดภาษี แต่ ยังมีเงื่อนไขปิดกั้น "พิศาล" เตรียมฟังคำตอบญี่ปุ่นศุกร์นี้ ถ้าพอใจถึงจะคุยต่อในสิ่งที่ญี่ปุ่นต้องการ เพิ่มขึ้น ก่อนส่งไม้ต่อให้ "สมคิด" ถกรัฐมนตรีเมติอาทิตย์นี้
(ผู้จัดการรายวัน 27 กรกฎาคม 2548)
หุ้นเด้ง10จุดรับหยวนสมคิดนำบจ.โรดโชว์จีน
หุ้นไทยเด้งรับจีนปรับค่าเงินหยวน บวก 10.72 จุด หรือปิดที่ 659.64 จุด ประธานบลจ. กสิกรไทยเตือนนักลงทุนระวังเงินร้อน ด้าน "สมคิด" ยังเดินหน้าหาประโยชน์จากหยวน เตรียมดึงบริษัทจดทะเบียนชั้นนำของไทยโรดโชว์เมืองจีนสิงหาคมนี้ หวังดึงเม็ดเงินลงทุนจากจีนเข้าประเทศ พร้อมสั่งทีมที่ปรึกษากระทรวงคลัง-แบงก์ชาติดูแลค่าผลกระทบจากการประกาศลอยตัวหยวนใกล้ชิด ภาคเอกชนแนะแบงก์ชาติไม่ควรแทรกแซง ค่าเงิน
(ผู้จัดการรายวัน 26 กรกฎาคม 2548)