RATCHควัก420ล้านเพิ่มทุนบ.ย่อยประกาศปันผลครึ่งปีหลังหุ้นละ 1บ.
บอร์ดผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯอนุมัติจ่ายปันผลครึ่งปีหลัง 2546 หุ้นละ 1 บาท หลังจากจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลก่อนหน้านี้หุ้นละ
75 สตางค์ พร้อมทั้งอนุมัติเพิ่มทุนให้ 2 บริษัทย่อย โดยใส่เงินเพิ่มทุนในบริษัทย่อย
"ราชอุดม เพาเวอร์" จำนวน 420.50 ล้านบาท เพื่อใช้เพิ่มทุนใน "ราชบุรี
อัลลายแอนซ์" อีกทอดหนึ่ง ซึ่งวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนดังกล่าวเพื่อลงทุนซื้อหุ้นราชบุรีเพาเวอร์
25%
(ผู้จัดการรายวัน 18 กุมภาพันธ์ 2547)
RATCHไม่เพิกถอนจากตลท.
ผลิตไฟฟ้า ราชบุรีโฮลดิ้ง ยืนยันคงสถานภาพ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
แม้ว่ากฟผ. จะเข้ามาถือหุ้นใหญ่ถึง 60% ภายหลังซื้อหุ้นกับกลุ่มบ้านปู และทำเทนเดอร์ฯซื้อหุ้นคืนจากรายย่อยตามระเบียบ
ก.ล.ต.ในช่วงมีนาคมนี้ก็ตาม ขณะเดียวกันก็ยอมรับดีลซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีจากบ้าน
ปูแห้วแน่นอน แต่จะหันไปลง ทุนในโครงการอื่นแทน
(ผู้จัดการรายวัน 9 มกราคม 2547)
RATCHบุกโรงไฟฟ้าตปท.ร่วมทุนในลาว-อินโดนีเซีย
ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้งเตรียมขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ เน้นที่ลาว-อินโดนีเซีย
เนื่องจากมีความต้อง การใช้ไฟฟ้าเติบโตขึ้นและการเมือง มั่นคง โดยจะดึงพันธมิตรธุรกิจ
"บ้านปู"ร่วมแจมที่อินโดนีเซีย เผย ต้นปีหน้าเตรียมออกหุ้นกู้วงเงิน
ไม่เกิน 5 พันล้านบาท หากได้ข้อสรุปการเจรจาซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีจากบ้านปูแล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 13 พฤศจิกายน 2546)
ชนินท์นั่งบอร์ดRATCH แถมเงินอีก2.1พันล้านบ.
บ้านปูเตรียมส่งชนินท์ ว่องกุศลกิจ ผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นบอร์ดสมใจ ในบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
(RATCH)หลังตัดสินใจ ขายโรงไฟฟ้าไอพีพี "ไตรเอนเนอจี้" รับเงินสดเหนาะๆ
2.1 พันล้านบาท พร้อมเก้าอี้บอร์ดฯ 1 ที่นั่ง
(ผู้จัดการรายวัน 29 กรกฎาคม 2546)
"ผลิตไฟฟ้าราชบุรี" ประหยัดเงิน700ล. เจ้าหนี้ยอมลดดบ.เงินกู้ที่ MLR-2.5%
15 เจ้าหนี้ยอมแก้ไขสัญญาเงินกู้ของผลิตไฟฟ้าราชบุรี โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิม
MLR-1.50% เป็น MLR-2.50% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค.นี้จนถึง 30 มิ.ย.48 ทำให้ประหยัดดอกเบี้ยจ่าย
ถึง 700 กว่าล้านบาท พร้อมทั้งลดวงเงินสำรองเพื่อชำระหนี้ล่วงหน้าจากเดิม 6 เดือนเหลือเพียง
3 เดือน ทำให้สภาพคล่องทางการเงินดียิ่งขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 1 กรกฎาคม 2546)