ปูนใหญ่กระอักหนักสุดรอบ11ปีไตรมาส4/51ขาดทุน3.5พันล.
"ปูนซิเมนต์ไทย" กระอักพิษซับไพรม์ ไตรมาส 4/51 บักโกรก ขาดทุนสุทธิเฉียด 3.5 พันล้านบาท นับเป็นผลขาดทุนครั้งแรกในรอบ 11 ปี ฉุดกำไรทั้งปี 51 ลดลง 45% เหลือเพียง 1.67 หมื่นล้านบาท ผู้บริหารยอมรับยอดขายปีนี้แค่ 2.67 แสนล้านบาท ลดลง 10 %จากปีก่อน เหตุวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้ดีมานด์หด และราคาสินค้าต่ำ พร้อมเบรกแผนลงทุน 5ปี มูลค่าแสนล้านบาท รอจังหวะเศรษฐกิจฟื้นตัว ระบุช่วงวิกฤตเป็นโอกาสให้ปูนใหญ่เข้าไปซื้อหรือควบรวมกิจการในประเทศเพื่อนบ้านง่าย ด้านบอร์ดบริษัทปลอบใจรายย่อย จ่ายปันผลหุ้นละ 7.50 บาท ต่ำสุดในรอบ 4 ปี
(ผู้จัดการรายวัน 29 มกราคม 2552)
ปูนใหญ่กำไรQ3วูบ1.6พันล. ส่อล้มแผนตั้งรง.ในเวียดนาม
ปูนใหญ่ เบนเข็มหาตลาดใหม่เพิ่ม หลังตลาดสหรัฐฯและยุโรปเกิดวิกฤติการเงิน พร้อมเดินหน้าออกหุ้นกู้ 2.5 หมื่นล้านบาท เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้เดิม ส่วนแผนโครงการปิโตรคอมเพล็กซ์ที่เวียดนามอาจยกเลิก เหตุต้องใช้เงินกู้100% ซึ่งอาจมีปัญหา "กานต์"ชี้ได้ข้อสรุปชัดเจนปี52 ขณะที่ผลงานไตรมาส 3กำไรหายกว่า 1,600 ล้านบาท แม้ยอดขายโตขึ้น ผู้บริหารเสียงอ่อยผลงานครึ่งปีหลังวูบเพราะธุรกิจปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาลง ส่งผลให้การจ่ายปันผลครึ่งปีหลังต่ำไปด้วย
(ผู้จัดการรายวัน 23 ตุลาคม 2551)
SCCกำไร6เดือนสูญ2.5พันล.เจอพิษราคาพลังงานดันต้นทุนพุ่ง
ปูนใหญ่ เจอพิษราคาพลังงานดันต้นทุนพุ่ง ฉุดผลงานงวด 6 เดือน กำไรสุทธิวูบเกือบ 2.5 พันล้านบาท บวกกับปีก่อนมีกำไรจากการขายเงินลงทุน ด้านผู้บริหารเตรียมอวดโฉมใหม่ปี 53 หลังรับรู้รายได้จากโครงการที่เริ่มเดินเครื่องตั้งแต่ปลายปี 52 มูลค่ากว่าแสนล้าน พร้อมประกาศจ่ายปันผลครึ่งปีแรกหุ้นละ 5.50 บาท หลังบอร์ดกำหนดการจ่ายปันผล 40-50% ของกำไรสุทธิรวม
(ผู้จัดการรายวัน 24 กรกฎาคม 2551)
ปูนใหญ่รับเสียส่วนแบ่งตลาด หลังใช้เยื่อกระดาษผลิตหลังคา
“บิ๊กปูนใหญ่” รับเสียส่วนแบ่งตลาด หลังใช้เยื้อกระดาษผลิตหลังคาแทนใยหินส่งผลขายราคาสูงขึ้น เชื่อแนวโน้มดีขึ้น ผู้บริโภคยอมรับ พร้อมทุ่มงบ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อปรับระบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรับกระแสโลกร้อน
(ผู้จัดการรายวัน 9 เมษายน 2551)
SCCออกหุ้นกู้2หมื่นล.พิษศก.ฉุดกำไรรูด14%
SCC ออกหุ้นกู้ล็อตใหม่ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้ ขณะที่บอร์ดอนุมัติออกหุ้นกู้อีก 5 หมื่นล้านบาท รองรับการขยายงาน ตั้งเป้ายอดขายปี 51 โตอีก 10% หลังโครงการกระดาษขาวและโครงการซีเมนต์ในกัมพูชาเดินเครื่องผลิต พร้อมแจ้งผลงานงวดสิ้นปี 50 มีกำไรสุทธิก่อนรายการพิเศษ 25,841 ล้านบาทหรือลดลง 14%
(ผู้จัดการรายวัน 24 มกราคม 2551)
ปูนใหญ่ปีนี้โตพลาดเป้าต้นทุนพุ่ง-ยอดใช้ปูนต่ำสุดรอบ10ปี
SCC ปีนี้โตหลุดเป้า 5% เหตุต้นทุนการดำเนินงานพุ่ง และค่าบาทแข็ง ส่งผลต่อทุกกลุ่มธุรกิจกำไรทรุด ขณะที่ Q3 มีกำไรจากขายหุ้น ATC เกือบ 2 พันล้านพยุงกำไรจากผลการดำเนินงานทรุด 33% ขณะที่ปริมาณการใช้ปูน 9 เดือนปีนี้วูบ 6 % ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ยันไม่ปรับราคาปูนชี้ดีมานด์ต่ำและขณะนี้ขายที่ราคาดีสเคาท์ คาดปีหน้ายอดขายปูนจะกระเตื้อง จากความต้องการที่อยู่อาศัยและดอกเบี้ยจูงใจ พร้อมลุย INNOVATIONช่วยเพิ่มรายได้ช่วงขาลง
(ผู้จัดการรายวัน 25 ตุลาคม 2550)
ยอดใช้ปูนต่ำสุดรอบ10ปี
นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ ระบุ 1 ปี รัฐบาลทำเศรษฐกิจทรุดเกิดหลุมดำในธุรกิจก่อสร้าง “บิ๊กปูนใหญ่”ชี้ความต้องการใช้ปูนในประเทศไตรมาส 2/2549 ลดฮวบ 8% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี วอนรัฐบาลคำนึกถึงประโยชน์ของประเทศ การลงทุนในระบบสาธารณูปโภคไม่ใช่เป็นของพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง พรรคใดมาควรสานต่อ ด้าน”อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ขายฝันสานต่อโครงข่ายคมนาคมทุกเส้นทาง
(ผู้จัดการรายวัน 14 กันยายน 2550)
ปูนใหญ่กระอักพิษบาทแข็งครึ่งปีแรกกำไรสูญ1.9พันล้านบ.
ปูนใหญ่ รับพิษค่าบาทแข็ง 6 เดือนแรกกำไรสูญแล้ว 1.9 พันล้านบาท ผสมโรงเศรษฐกิจชะลอตัวฉุดผลงานครึ่งปีแรกวูบกว่า 13% ขณะที่งบเฉพาะไตรมาส 2 ได้รับแรงหนุนจากการขายเงินลงทุนทำให้กำไรสุทธิเพิ่ม 16% ขณะที่ผู้บริหาร ปรับแผนเบนเข็มเพิ่มส่งออกหลังตลาดในประเทศชะลอตัว ส่งผลให้ยอดส่งออกเพิ่มเป็น 33-34% และยอดการรับรู้รายได้เงินดอลลาร์สูงขึ้น พร้อมคาดปีนี้โตไม่ถึงเป้า 5 % พร้อมทุ่มงบ 450 ล้านบาทลุยผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กในกัมพูชา
(ผู้จัดการรายวัน 26 กรกฎาคม 2550)
ปูนใหญ่รุกอาเซียนรับมือบาทแข็ง
เครือซิเมนต์ไทยฉวยจังหวะค่าเงินบาทแข็ง สยายปีกลงทุนอาเซียนเพิ่ม และชำระเงินลงทุนล่วงหน้าให้กับซัปพลายเออร์ เผยไตรมาสแรกปีนี้ จ่ายเงินลงทุนล่วงหน้าไปแล้ว 1.2 หมื่นล้านบาทจากงบลงทุนโครงการต่างๆ รวม 9.2 หมื่นล้านบาท ประเมินทั้งปีใช้เงินสดจ่ายลงทุน (Cashout) กว่า 3.5 หมื่นล้านบาท "กานต์"ชี้ประเทศอาเซียนที่ปูนใหญ่สนใจลงทุนมากที่สุด คือเวียดนาม และอินโดนีเซีย เร่งศึกษาโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ โรงงานบรรจุภัณฑ์ และโรงปูนซีเมนต์ มั่นใจปัญหาการเมืองไทยคลี่คลายภายใน 1 ปี
(ผู้จัดการรายวัน 19 มิถุนายน 2550)