คิดนอกกรอบ 'โตชิบา' สไตล์ ยิ่งพลาดยิ่งนำไปสู่การเรียนรู้
"สิ่งที่ทำให้โตชิบายืนหยัดอยู่ได้คือ เราเน้นเรื่องการสร้างคน การเห็นคุณค่าของคน เราจะพูดอยู่ตลอดเวลาเรื่องคอนเซ็ปต์อิฐสีแดงซึ่งหมายถึงพนักงานของเรา ไม่ว่าตำแหน่งไหนก็ตาม ทุกคนมีคุณค่าเท่ากับอิฐแดงแต่ละก้อน ไม่ได้มีตำแหน่งไหน หรือใครที่มีคุณค่าน้อยกว่าหรือมากกว่า แต่ว่าจะแตกต่างกันที่ตำแหน่งหน้าที่ ในฐานะของผู้บริหารเรามีหน้าที่ที่ต้องวางแผนวางคนว่า อิฐแต่ละก้อนควรอยู่ตรงไหน? ควรทำอะไร?
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 สิงหาคม 2548)
เถ้าแก่เนี้ยไฮโซ..ขานรับเป็นเจ้าภาพ!! 1 ทศวรรษ นักธุรกิจสตรีดีเด่นโลก
เป็นครั้งแรกที่ประเทศในทวีปเอเชียได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการจัดงานประกาศเกียรติคุณรางวัลนักธุรกิจสตรีดีเด่นของโลก ครั้งที่ 10 ปี 2006 หลังจากขับเคี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์มาได้อย่างเฉียดฉิว พร้อมทุ่มงบ 20 ล้าน หวังเป็นอีกงานสร้างชื่อให้ประเทศไทย
(ผู้จัดการรายวัน 5 มิถุนายน 2548)
แตกต่างกันด้วยหน้าที่… กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
นับตั้งแต่ปี พ.ศ 2529 ที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพนักงานโตชิบา ในตำแหน่งผู้จัดการแผนกโฆษณา จนถึงวันนี้ที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ทายาทคนที่สอง ของ ดร. กร และ ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ บอกว่า ปัญหาและอุปสรรคที่ท้าทายที่สุดในชีวิตการทำงานของเธอนั่นก็คือเรื่องของการบริหารคน
(ผู้จัดการรายวัน 12 พฤษภาคม 2548)