THAIขาดทุน6พันล.ส่อลดซื้อเครื่องใหม่
วิกฤติการเงินโลก-น้ำมัน กระทบผลประกอบการการบินไทยไม่หยุด “อภินันทน์”เผยไตรมาส 3 ได้อานิสงส์กำไรอัตราแลกเปลี่ยน มีกำไรสุทธิ 426 ล้านบาท แต่รวม 3 ไตรมาส ขาดทุนรวม 6,600 ล้านบาท ด้านบอร์ดกำชับลดค่าใช้จ่าย ศึกษารายละเอียดการลงทุนธุรกิจซ่อมบำรุงเพิ่มรายได้ พร้อมเห็นชอบแผนการเงินปี 2552 ประมาณการรายได้ 2.3 แสนล้านบาท เดินหน้าลดเที่ยวบินหั่นเส้นทางขาดทุน ลดอายุปลดระวางเครื่องบิน เหลือ 15 ปี เพื่อลดต้นทุน ประเมินสถานการณ์ 52 ไม่ดีขึ้นต้องทบทวนลดจำนวนการจัดหาเครื่องบิน ในแผน 10 ปีลง ด้าน”ชัยสวัสดิ์”ลาออกจากประธานบอร์ดหลังเกษียณ เปิดทางปลัดคมนาคมคนใหม่นั่งแทน
(ผู้จัดการรายวัน 7 พฤศจิกายน 2551)
"บินไทย"เน้นศูนย์ซ่อมรับมือยอดผู้โดยสารวูบ
การบินไทยเน้นขยายธุรกิจศูนย์ซ่อมบำรุงเพิ่มรายได้หลังวิกฤตน้ำมัน วิกฤติการเงินสหรัฐ และความไม่สงบภายในประเทศทำยอดผู้โดยสารวูบ ยังมั่นใจประคองรายได้จากผู้โดยสารปี 51 ตามเป้า 1.7 แสนล้านบาท โตจากปีก่อน 12% เผยปัญหาเริ่มคลี่คลาย หวังลดค่าธรรมเนียมน้ำมัน (Fuel Surcharge) กระตุ้นการเดินทางช่วง High Season
(ผู้จัดการรายวัน 3 ตุลาคม 2551)
บินไทยแจงฮั้วค่าธรรมเนียมน้ำมันบอร์ดยอมรับปัญหารุมเร้าทุกด้าน
การบินไทยยันค่าปรับอียูกรณีฮั้วค่าธรรมเนียมน้ำมันขนส่งสินค้าทางอากาศไม่สูงตามข่าว ขณะที่บอร์ด ยอมรับหลายปัญหารุม ทั้งสถานการณ์ราคาน้ำมันซึ่งฝ่ายบริหารไร้แผนรองรับที่ชัดเจน การจ่ายเงินค่างวดให้แอร์บัส และค่าปรับที่อียู ส่อกระทบการเงินบริษัทอย่างมาก
(ผู้จัดการรายวัน 4 กรกฎาคม 2551)
การบินไทยวุ่น เด้ง 2 ผู้บริหารปัญหาภาคพื้น
การบินไทยเด้ง 2 ผู้บริหารตามข้อเสนอสหภาพ-พนักงานเช็คอินที่ร้องเรียนปัญหาในส่วนงานนี้ ด้าน"อภินันทน์"ยันมีแผนเพิ่มพนักงานภาคพื้นฯระยะแรก 125 อัตรา พร้อมเร่งขยายพื้นที่พักพนักงานเพิ่ม มั่นใจไม่กระทบแผนย้ายดอนเมือง"ธีระ"รับเป็นนโยบายหวั่นปัญหากระทบบริการ ชี้เป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร
(ผู้จัดการรายวัน 7 มีนาคม 2550)