แอร์เอเชียผนึกเจ็ทสตาร์ลดต้นทุน
แอร์เอเชียผนึกเจ็ทสตาร์ ประกาศกลยุทธ์รวมกันเราอยู่ จับมือใช้วิธีบริหารจัดการร่วมกัน ทั้ง ระบบการบริหารลานจอด ขนส่งสัมภาระ ระบบบริหารด้านวิศวกรรมและการซ่อมบำรุง การใช้คลังอุปกรณ์เครื่องบินร่วมกัน รวมทั้งระบบจัดการดูแลและถ่ายโอนผู้โดยสารของทั้งสองสายการบิน หวังลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 11 มกราคม 2553)
แอร์เอเชียออกตั๋ว 9 บ.เปิดศึกโลว์ซีซั่น ทำธุรกิจไม่สนการเมือง - รับผิดกฎหมายจริงยอมเสียค่าปรับ
โลว์คอสต์แข่งดุ ดึงลูกค้าช่วงโลว์ซีซั่น แอร์เอเชีย ประเดิมเปิดศึก จัดงาน Thai Air Asia Travel Fair ชูไฮไลน์ ขายตั๋วเครื่องบิน ที่นั่งละ 9 บาท คุยงานนี้ประชาชนจะให้ความสนใจเข้าชมงานคึกคัก ให้ ททท.เรียกพี่ ด้านคดีเทมาเส็ก เข้ามาถือหุ้น แทนชินคอร์ป ยอมรับช่วง 14 วัน ก่อนปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ บริษัทผิดกฎหมายจริง หากศาลต้องการเรียกค่าปรับ ยินดีจ่ายทุกกรณี เผยไม่สนการเมือง ขอเดินหน้าธุรกิจต่อ
(ผู้จัดการรายวัน 25 พฤษภาคม 2549)
โลว์คอสต์ดิ้นสู้หนีตายน้ำมันจับนิชมาร์เกตย้ำราคา-บริการ-เส้นทางใหม่
จับตาธุรกิจสายการบินต้นทุน ต่ำ ผู้ประกอบการหืดขึ้นคอในภาวะน้ำมันแพง ธุรกิจแข่งขันสูง ผู้ประกอบการแต่ละรายหันจับทางกลยุทธ์ตลาดเป็นที่พึ่งหนีตาย แอร์เอเชีย ย้ำใช้ราคาเป็นตัวนำ ตามด้วยการสร้างแบรนด์รอยัลตี้ ขณะที่นกแอร์เมินกลยุทธ์ราคา แต่เน้นบริการและแคมเปญตอบแทนลูกค้าตามแนวคิด "โลว์คอสต์ไม่ใช่โลว์คลาส" ด้านโอเรียนท์ไทย หันเปิดเส้นทางบินต่างประเทศเพิ่มกระจายความเสี่ยง
(ผู้จัดการรายวัน 20 กันยายน 2548)
บินราคาถูกไม่ง่าย เหตุต้องชิงซื้อที่นั่ง
แอร์เอเชียเปิด 2 เส้นทางบินราคาถูก ภูเก็ต-กัวลาลัมเปอร์ 810 บาท และกรุงเทพ-โจฮอร์
บารู (สิงคโปร์) 900 บาท เผยซื้อก่อนได้ก่อน เพราะแต่ละเที่ยวบินจัดที่นั่งตั๋วราคาถูกไม่เกิน
30% เท่านั้น ส่วนที่เหลือกว่าค่อนลำต้องซื้อตั๋วราคาเฉลี่ย 1,200-2,000 บาท ต่อที่นั่ง
"โอเรียนท์แอร์" สับราคาไม่ถูกจริง ตามบี้เปิดบินทับเส้นทาง พิสูจน์ใครถูกจริงโดยใช้ราคาเท่ากันทุกที่นั่ง
(ผู้จัดการรายวัน 27 พฤศจิกายน 2546)