บตท.เร่งปรับโครงสร้างNPLโยกหนี้เน่า 710ล้านขายAMC
"สศค."เผยผลการดำเนินงานล่าสุดเดือนกรกฎาคม บตท.มีเอ็นพีแอลเกือบ 2 พันล้านบาท แต่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้กว่า 1 พันล้านบาท ส่วนอีก แย้มลูกหนี้ไม่สามารถติดตามหรือเจรจาแก้ไขหนี้ได้อีก 710 ล้านบาท รอการขายให้แก่เอเอ็มซีในช่วงเดือนพฤศจิกายนปีหน้า ขณะเดียวกันหนี้ที่เกิดจากการทุจริตในโครงการเอกสยามและพนารี จะใช้วิธีแก้ไขแบบพิเศษ
(ผู้จัดการรายวัน 22 สิงหาคม 2549)
คลังปรับเป้าจีดีพีปี49เหลือ4.5%น้ำมันพุ่ง-การเมืองกระทบลงทุน
คลังลดเป้าจีดีพีอยู่ที่ระดับ 4.5% จากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงกว่าประมาณการไว้ แต่ปัจจัยส่งออกยังหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและประเทศคู่ค้าสำคัญ 11 ประเทศภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ยอมรับปัญหาการเมืองกระทบต่อจิตวิทยานักลงทุนตัดสินใจล่าช้าออกไป เผยการปรับเป้าประมาณการครั้งนี้ไม่ได้นำโครงการเมกะโปรเจกต์มาคำนวนด้วยเพราะยังมีความไม่แน่นอนจากนโยบายของรัฐบาล
(ผู้จัดการรายวัน 30 พฤษภาคม 2549)
จีดีพีเกษตรไตรมาสแรกขยายตัว7%
สศค.เผยตัวเลขจีดีพีภาคการเกษตรไตรมาสแรกปี 49 เติบโตสูงถึง 7% วางเป้าทั้งปีโต 4 – 5% เหตุปัญหาภัยแล้วคลี่คลายจากปีที่ผ่านมา ด้านดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวสูงถึง 27.1% ระบุความต้องการบริโภคในประเทศและในตลาดโลกอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรยังอยู่ในขั้นทดลองใน 2 จังหวัด กว่า 1 แสนไร่ เบื้องต้นรัฐบาลจ่าย 50% ที่เหลือเกษตรกรและธ.ก.ส.จ่ายคนละครึ่ง
(ผู้จัดการรายวัน 20 เมษายน 2549)
คลังโอ่ค่าบาทแข็งไม่กระทบ ขึ้น 1 บาทฉุดจีดีพีแค่0.29%
สศค.มิงโลกในแง่ดี มองค่าเงินบาทยังอยู่ในกรอบที่ปนะเมินไว้ 38.8-40.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังไม่กระทบส่งออก เตรียมลุยศึกษาผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรายตัว เผยผลศึกษากรณีค่าเงินแข็งค่าหลุดกรอบที่ตั้งไว้ ถ้าแข็งเกินกรอบ 1 บาท ฉุดจีดีพีลด 0.29% ส่งออกฮวบ0.2% ดันนำเข้าพุ่ง0.38%แต่เงินเฟ้อลดลง0.5% ครึ่งปีหลังคาดอัตราเฟ้อลดลง
(ผู้จัดการรายวัน 20 เมษายน 2549)
คลังลั่นเก็บภาษีได้ตามเป้าเชื่อธปท.ปรับดอกเบี้ยตามเฟด
คลังเผยเศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์ยังขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลเงินเฟ้อลดลงเหลือ 5.6% ด้านตัวเลขส่งออกเพิ่มที่ระดับ 22.9% นำเข้าขยายตัว 19% ทุนสำรองระหว่างประเทศปรับตัวขึ้นมาที่ 53.4 พันล้านเหรียญ มั่นใจเก็บภาษีได้ตามเป้า 1.36 ล้านล้านบาท ด้านคาดแบงก์ชาติปรับขึ้นดอกเบี้ยอุดช่องว่างดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศ
(ผู้จัดการรายวัน 31 มีนาคม 2549)
คลังปลื้มดุลการค้าแนวโน้มดีขึ้น
คลังแจ้งตัวเลขส่งออก-นำเข้าสินค้าขยายตัว 22.9% และ 19.0% ตามลำดับ สูงกว่าประมาณการณ์ ระบุตัวเลขบ่งชี้ว่าเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมั่นคงในระดับน่าพอใจ "นริศ" เผยผลสัมมนาผู้บริหารระดับสูงเอซีดีพบการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นเว้นญี่ปุ่นขยายตัวถึง 48% ของจีดีพี พร้อมเสนอลดควบคุมด้านบัญชีทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ขณะที่ภาคเอกชนแนะให้กระจายความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่ม
(ผู้จัดการรายวัน 29 มีนาคม 2549)
สศค. ระบุการลงทุนเริ่มชะลอ หลังตัวเลขนำเข้าสินค้าทุนลดลง
สศค.เชื่อการส่งออกจะเป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 49 ระบุเมกะโปรเจกต์จะช่วยได้หากปัญหาการเมืองไม่ยืดเยื้อ ขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคเดือนมกราคมเริ่มชี้ให้เห็นว่าการลงทุนเริ่มลดลงแล้ว จากตัวเลขนำเข้าสินค้าทุนลดลง ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการจ้างงานต้องลดลงไปด้วยในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า แต่ปลอบใจจะเป็นผลดีต่อดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้
(ผู้จัดการรายวัน 15 มีนาคม 2549)
เอฟทีเอการเงินไทย-สหรัฐฯไร้ข้อสรุป ขุนคลังย้ำจุดยืนได้ประโยชน์ทั้ง2ฝ่าย
คลังคุยผลการเจรจาเปิดเสรีการเงินไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 5 คืบหน้า เผยร่างความตกลงของทั้งสองฝ่ายมีประเด็นที่คล้ายกันแล้ว แต่ยังไร้ข้อสรุปในประเด็นหลัก เรื่องมาตรการระงับการโอนเงินกรณีประเทศประสบปัญหาดุลการชำระเงิน และมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ขณะที่ "ขุนคลัง" ย้ำจุดยืนต้องได้รับประโยชน์ ทั้ง 2 ฝ่าย ระบุเตรียมรวบรวมข้อมูลเพื่อเจรารอบต่อไปต้น ธ.ค.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 27 กันยายน 2548)
เปิดเสรีการเงินไทย-สหรัฐฯผ่อนปรนกรอบเจรจาผสมผสาน
ทีมเจรจาเปิดเสรีการเงินไทย-สหรัฐฯวางกรอบการเจรจาแบบผสมผสาน สำหรับ การเจรจาระหว่างวันที่ 24-25 ก.ย. นี้ ต่อรองสหรัฐฯใช้วิธีเจรจาแบบ Positive List ก่อน แล้วค่อยปรับเป็น Negative List ใน ภายหลัง เหตุผลเจรจายังไม่คืบ เพราะจุดยืนเรื่องกรอบเจรจายังไม่ตรงกัน หวั่นกระทบการเปิดเสรี ในภาพรวมกับสหรัฐฯ
(ผู้จัดการรายวัน 19 กันยายน 2548)