"แบงก์ชาริอะฮ์" เปิด 6 สินเชื่อตั้งเป้าเพิ่มยอด 2,000 ล้านบาท
กรุงไทย ชาริอะฮ์ เปิดบริการด้านการเงินใหม่อีก 6 ประเภท ตั้งเป้าเพิ่มยอดปล่อยสินเชื่อ 2 พันล้าน ดันทั้งปีปล่อยสินเชื่อถึง 8 พันล้าน หลังพลาดเป้า 1.4 หมื่นล้าน พร้อมตั้งเป้าเพิ่ม 20 สาขาในปีนี้ ยันควบแบงก์อิสลามไม่กระทบผลการดำเนินงาน
(ผู้จัดการรายวัน 12 กรกฎาคม 2547)
KTBเล็งถือธอท.80%
"วิโรจน์ นวลแข" เสนอแผนแบงก์กรุงไทยชาริอะฮ์ ควบรวมกิจการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต่อกระทรวงการคลัง ย้ำต้องถือหุ้นเกิน 80% ด้วยการเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 3 พันล้านบาท เพื่อคุมอำนาจการบริหารงานเบ็ดเสร็จ พร้อมเดินหน้า "ชาริอะฮ์" ต่อ หากคลังไม่สนแผนควบรวม ระบุสถานการณ์ธนาคารอิสลามฯ ปัจจุบันรอดยาก เนื่องจากเครือข่ายยังไม่เสร็จสมบูรณ์ บวกกับพนักงานไม่มีความชำนาญ
(ผู้จัดการรายวัน 9 กรกฎาคม 2547)
แบงก์อิสลามรับควบชาริอะฮ์เร่งเจรจากรุงไทยสำเร็จในปีนี้
แบงก์อิสลามเตรียมรับโอนเม็ดเงินจาก กบข.ของข้าราชการอิสลามทั่วประเทศ เหตุผลตอบแทนดึงดูดกว่า
ล่าสุด Q1 ปีนี้จ่ายปันผล 1.7-1.8% เชื่อขณะนี้ทะลุ 2% ล่าสุดเจรจาควบรวมแบงก์ชาริอะฮ์จากกรุงไทย
คาดเป็นรูปร่างภายใน 5 เดือน พร้อมจับมือเซเว่น ปั๊มน้ำมัน เปิดจุดบริการรับฝาก-ชำระเงิน
เสริมฐานลูกค้า ศุกร์นี้เซ็นสัญญากับกองทุน MFC ระดมทุนสร้างบ้านเอื้ออาทรบนที่ดินวากัฟ
(ผู้จัดการรายวัน 27 พฤษภาคม 2547)
"วิจิตร"ขอเวลาศึกษาให้ถี่ถ้วนดัชนีหุ้นอิสลาม
ประธานตลาดหลัก ทรัพย์ขอเวลาศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธนาคารอิสลาม
(อิสลามิก อินเด็กซ์) เพราะเป็นเรื่องใหม่ "ธีรศักดิ์" ยันมีแต่ได้กับได้
เผยนักลงทุน สิงคโปร์ติดต่อขอลงทุนผ่านธนาคารชารีอะฮ์
(ผู้จัดการรายวัน 9 ธันวาคม 2546)
ดันเปิดตลาดหุ้นอิสลาม
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารชารีอะฮ์ประสานเสียงกดดันผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์เปิดตลาดหุ้นอิสลาม
(Islamic Index) เพื่อให้ชาวมุสลิม สามารถลงทุนโดยไม่ผิดหลักศาสนา ดึงเงินทุนจากตะวันออกกลางและมุสลิมทั่วโลกที่สะพัดกว่า
1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ขัดข้องแต่หวั่นตั้งแล้วล้ม เพราะไม่แน่ใจว่ามีความต้องการจริง
หรือไม่
(ผู้จัดการรายวัน 8 ธันวาคม 2546)