ชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่น 100 รายหนีเยนแข็งแห่ย้ายฐานผลิตซบไทย
เบื้องต้นคาดว่าปีนี้มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.8 แสนล้านบาท เพราะเมื่อดูจากมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยในช่วง 8 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่าอยู่ที่ 2.5 แสนล้านบาท
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 22 ตุลาคม 2553)
อุตฯรถยนต์เฟื่องโควต้าเหล็กหมดต้นทุนพุ่ง10%
อุตสาหกรรมยานยนต์พุ่งแรง ฟื้นเป็นรูปตัววี (V) ทำให้ผู้ประกอบการมองข้ามตัวเลขการผลิต ที่เคยประมาณการณ์ไว้เมื่อต้นปี 1.4 ล้านคัน ทะลุไปเป็น 1.5-1.6 ล้านคัน ส่งผลให้ประเมินปริมาณการใช้วัตถุดิบผิดพลาด โควต้าเหล็กที่ได้รับอนุมัตินำเข้าจากญี่ปุ่น 4.7 แสนตัน ภายใต้ข้อตกลง JTEPA อาจจะหมดในช่วงครึ่งปีหลังนี้ จนต้องหันมานำเข้าเหล็กนอกโควต้าแทน ส่งผลต้นทุนพุ่ง 5-10%
(ASTVผู้จัดการรายวัน 31 พฤษภาคม 2553)
ไทยรุ่งฯดึงต่างชาติร่วมทุน ขยายฐานตลาดชิ้นส่วนฯ
นายสมพงษ์ เผอิญโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยรุ่งยูเนียนคาร์ จำกัด(มหาชน) ผู้ผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถยนต์ดัดแปลงภายใต้แบรนด์ “ทีอาร์” เปิดเผยว่า ผลประกอบการของบริษัทฯ เมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา อยู่ที่ประมาณ 1.4-1.5 พันล้านบาท หรือลดลง 30-40% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และความไม่แน่นอนทางการเมืองในไทย
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 23 มีนาคม 2553)
ไทยออโต้กลาสงัดแผนปี53 ผุดสาขาภูธร-ปรับโฉมศูนย์ฯ
ไทยออโต้กลาสฯ ลุยปี 2553 พร้อมขยายสาขาใหม่เพิ่ม หวังกระจายบริการสู่ลูกค้าต่างจังหวัด หลังในกทม. แกร่งถึง 9 แห่ง ชี้ยังรุกยกระดับหน้าตาศูนย์ฯ ใหม่ ดีเดย์เสร็จต้นปี’53 ประกาศครองแชร์ 40 % ของตลาดรวม 500 ลบ.
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 28 ธันวาคม 2552)
CPRรับวิกฤตศก.ฉุดยอดขายวูบ35%อ่อยQ1ปีนี้ขาดทุนเหตุค่าใช้จ่ายสูง
ซีพีอาร์ โกมุ รับวิกฤตเศรษฐกิจกระทบธุรกิจยานยนต์ ส่งผลต่อยอดสั่งซื้อชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทรุด คาดยอดขายปีนี้หดถึง 35% จากปีก่อนที่ทำไว้ 2.7 พันล้านบาท เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตคุณภาพสูงเพื่อให้ต้นทุนต่ำ หวังอัตรากำไรสุทธิขยับเพิ่มอีก 2% อ่อยไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุนเหตุค่าใช้จ่ายสูงจากการจ่ายชดเชยพนักงานที่ปลดออก
(ผู้จัดการรายวัน 26 มีนาคม 2552)
บริดจสโตนตัดชื่อไฟร์สโตนยุติความสับสน
หลายคนอาจจะยังจำได้ว่า ผู้ประกอบการยางรถยนต์รายใหญ่รายหนึ่งในสหรัฐฯที่ชื่อ ไฟร์สโตน เคยประสบกับปัญหาทางธุรกิจเมื่อหลายปีก่อน จากความกังขาในความน่าเชื่อถือของแบรนด์ด้านคุณภาพของยางที่ผลิตให้กับแบรนด์รถยนต์ดังของสหรัฐฯ
(ผู้จัดการรายวัน 17 พฤศจิกายน 2551)
IHL ตั้งเป้าโกยรายได้ปีนี้1,800 ล.
IHL ตั้งเป้าโกยรายได้ปีนี้ 1,800 ล้านบาท หลังโชว์ผลงานไตรมาสแรกกำไรโตเหตุยอดจองเบาะหนังเพิ่ม และแผนการออกรถยนต์รุ่นใหม่ของผู้ผลิตยังมีต่อเนื่อง เผยไม่ได้สนเรื่องราคาหุ้นที่ขณะนี้เทรดต่ำกว่า 10 บาท เพราะผู้บริหารเน้นการบริหารงานเพื่อให้ผลประกอบการออกมาดี
(ผู้จัดการรายวัน 21 กรกฎาคม 2551)
สแตนเลย์ลงทุน1.2พันล.เล็งตั้งรง.ใหม่รับอีโคคาร์
ผู้ผลิตชุดอุปกรณ์ส่องสว่างยานยนต์รายใหญ่ "สแตนเลย์" ประกาศทุ่มเงินลงทุนเพิ่ม 1.2 พันล้านบาท รองรับรถยนต์โมเดลใหม่ๆ เผยเม็ดเงินดังกล่าวยังไม่รวมโครงการอีโคคาร์ ที่บีโอไอกำลังพิจารณาอนุมัติอยู่ หากทุกอย่างชัดเจนและบริษัทรถเลือก จะต้องลงทุนตั้งโรงงานแห่งใหม่รองรับโดยเฉพาะ ขณะที่รายได้ปีนี้น่าจะเติบโต 5% จากปีที่แล้วที่ทำได้ 7.9 พันล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 3 เมษายน 2551)
แม็กซิสทุ่มลงทุนในไทย 9พันล. ผลิตยางรถยนต์7.8ล้านเส้น/ปี
บีโอไออนุมัติส่งเสริมฯผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่จากไต้หวันหรือแม็กซิส( MAXXIS ) เตรียมลงทุนในไทยกว่า 9 พันล้านบาท ขยายผลิตยางรถยนต์ 7.8 ล้านเส้นต่อปี ตามด้วยชิ้นส่วนยานยนต์อีก 4 รายลงทุนมูลค่า 879 ล้านบาท ด้านกนอ.เตรียมประกาศพ.ร.บ.การนิคมฯใหม่รับลงทุนเพิ่ม
(ผู้จัดการรายวัน 20 ธันวาคม 2550)
อุตฯชิ้นส่วนบูมยื่นขอลงทุนปีนี้ 2แสนล.
บีโอไอเผยการลงทุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรวมปีนี้ 2 แสนล้านและปี 2551 จะโตอีก 30% โดยเฉพาะยานยนต์เหตุอีโคคาร์จะเป็นตัวส่งเสริมยาวถึงอีก 5 ปีข้างหน้า หวังงานSubcon Thailand 2008 ปีหน้าดึงทุนเพิ่ม
(ผู้จัดการรายวัน 13 ธันวาคม 2550)