จ่อรีดภาษีชา-กาแฟ-ชูกำลังบิ๊ก"กระทิงแดง-โออิชิ"ต้าน
เตรียมเก็บภาษี "ชา – กาแฟ – เครื่องดื่มบำรุงกำลัง" รมช.คลังเผยข้อเสนอกรมสรรพสามิต เหตุเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย-ทำลายสุขภาพ เตรียมเรียกผู้ประกอบการถกก่อนออกเป็นประกาศกระทรวงฯ ดันยอดภาษีบาป 3 หมื่นล้าน ส่วนผลสรุปภาษีซานติก้าไม่คืบ สั่งยืดเวลาให้คณะกรรมการตรวจสอบไปอีก 30 วัน ดึงดีเอสไอร่วมทีมเพิ่มอำนาจสอบคนนอกได้ บิ๊ก "กระทิงแดง-โออิชิ" ค้าน ชี้ซ้ำเติมผู้ประกอบการ-ผู้บริโภค ขณะที่ รมว.สธ.ชงคุมขายเหล้าช่วงสงกรานต์ 3 วัน เล็งยกเว้นในโรงแรม
(ผู้จัดการรายวัน 6 มีนาคม 2552)
'อุ๊บส์-จู๊ซซา'แป๊กเข็นไม่ขึ้นซานมิเกลปั้นฟรีซโคล่าชน“โค้ก-เป๊ปซี่”
ซานมิเกล ปรับแผนลุยตลาดน้ำผลไม้ หลังถอดใจเลิกทำตลาด “อุ๊บส์ ม็อคเทล –จู๊ซซา” ทุ่ม 30 ล้านบาท ปั้นแบร์รี่ ซันเบลสท์ เรือธงลุยตลาดน้ำผลไม้ซูเปอร์อีโคโนมี่ จ่อคิวรีลอนช์ครั้งใหญ่ พร้อมซุ่มส่งน้ำอัดลมฟรีซ โคล่า หั่นราคาเป๊ปซี่-โค้ก เจาะภูธร หวังอาศัยน้ำดำสินค้าแมสใบเบิกทางเข้าถึงผู้บริโภค
(ผู้จัดการรายวัน 17 กุมภาพันธ์ 2552)
เป็บซี่ลุยเครื่องดื่มไม่อัดลม สลับคราบเก่ามัดใจคนรุ่นใหม่
เป๊ปซี่ ลุยกลุ่มเครื่องดื่มไม่อัดลม เทกว่า 20 ล้านบาท รีเฟรชแบรนด์ครั้งใหญ่ สลัดคราบเครื่องดื่มสำหรับคนรุ่นเก่าทิ้ง หวังขยายสู่คนรุ่นใหม่ ควักแพกเกจประหยัด 350 มล. 12 บาท ขยายต่างจังหวัด และดูดแชร์ชาเขียว ตั้งเป้าสิ้นปีโต 2หลัก รั้งเบอร์ 2
(ผู้จัดการรายวัน 5 กุมภาพันธ์ 2552)
"มาลี" ชี้ ตลาดน้ำผลไม้วูบ2ปีซ้อนสร้างมูลค่าเพิ่มรับมือฟังก์ชันนัลดริงก์
มาลี ระบุตลาดน้ำผลไม้ 7,500 ล้านบาท โตเป็นตัวเลขหลักเดียว 2 ปีซ้อน เศรษฐกิจพ่นพิษกระทบกำลังซื้อแผ่ว คอสุขภาพแห่ดื่มน้ำผลไม้ระดับกลางแทนพรีเมียม ปั้นน้ำผลไม้ผสมโอเมก้าทรี รับมือฟังก์ชันนัลดริงก์ดูดฐานลูกค้า พร้อมจ่อคิวระเบิดสินค้าใหม่ กิจกรรม สิ้นปีโต 15% หวัง 3-5 ปีสอยบัลลังก์ทิปโก้
(ผู้จัดการรายวัน 30 มกราคม 2552)
น้ำดำ ยุคแข่งคอนเซปต์ "เป๊ปซี่"ประเดิม "เจน ไอแคน"เร่งยึดหัวหาดแต่ต้นปี
การแข่งขันของยักษ์ใหญ่ตลาดน้ำดำ(น้ำอัดลมชนิดโคล่า)ในปีนี้ ดูจะเพิ่มดีกรีและสมน้ำสมเนื้อยิ่งขึ้น เมื่อเป๊ปซี่ เป็นผู้เปิดเกมก่อน เริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่สองของปี โดยปรับรูปแบบการตลาดมาทำตลาดในเชิงรุก เปิดตัวโกลบอลแคมเปญใหญ่ ผ่าน 5 แนวทาง ที่อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ "เป๊ปซี่ I Can เต็มที่ให้โลกเห็น" พร้อมทั้งเปิดตัวผลิตภัณฑ์ "เป๊ปซี่ กรีน" เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มกราคม 2552)
เป๊ปซี่ระเบิดแคมเปญลุยตลาดเร็วต้นปี โหมนวัตกรรมถี่รับมือน้ำอัดลมไม่โต
เป๊ปซี่ คิกออฟการตลาดตั้งแต่ต้นปี ระเบิดแคมเปญเร็วกว่าภาวะปกติ เพิ่มความถี่ปั้นนวัตกรรมใหม่ รับมือวิกฤตเศรษฐกิจ - สภาพตลาดน้ำอัดลมไม่โต 2 ปีซ้อน อัดฉีด 50 ล้านบาท ส่งโกลเบิ้ลแคมเปญ "เป๊ปซี่ I Can เต็มที่ให้โลกเห็น" ชู 5 ปฏิบัติการ มัดใจคนรุ่นใหม่ คลอดสินค้ารับหน้าร้อน "เป๊ปซี่ กรีน" นวัตกรรมน้ำดำครั้งแรกรอบ 5 ปี เปิดตัวลงตลาดต้นปี หวังชิงกำลังการซื้อผู้บริโภค ตั้งเป้าแคมเปญดันยอดโต 3-5%
(ผู้จัดการรายวัน 15 มกราคม 2552)
โอสถสภาโดดลงสมรภูมิน้ำผลไม้ปั้นโอเล่ลุยตลาดอีโคโนมีเจาะเด็ก
โอสถสภา แตกแบรนด์"โอเล่ ซีมิกซ์" ลงตลาดน้ำผลไม้ 25% หวังโพซิชันนิงยึดหัวหาดฐานลูกค้ากลุ่มเด็ก ด้านตลาดลูกอมปีหน้าวูบโตเป็นเลขหลักเดียว หลังปัจจัยลบวิกฤตเศรษฐกิจกระทบตลาด ล่าสุดเดือนตค.ยอดขายสินค้าสแนกลดลง ลั่นปีหน้าลุยตลาดอย่างรัดกุม
(ผู้จัดการรายวัน 2 ธันวาคม 2551)
ส่องตลาดเครื่องดื่มแดนปลาดิบ ซันโทรี่ชูศูนย์วิจัยกุญแจแห่งความสำเร็จ
สภาพตลาดเครื่องดื่ม"ญี่ปุ่น"หรือดินแดนปลาดิบนั้น พัฒนาและนำหน้าประเทศไทยไปหลายขั้นมาก โดยตลาดเครื่องดื่มในญี่ปุ่นมีมูลค่าถึง 1.7 พันล้านลัง ทิศทางตลาดโดยมากจะเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทั้งหมด เพราะพฤติกรรมคนญี่ปุ่น ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพมากกว่ารสชาติด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลมซึ่งเป็นตลาดที่มีอยู่น้อยนิดเพียง 7% จากตลาดรวม ก็ต้องเป็นโลว์แคลอรี่หรือมีไม่มีน้ำตาล ถึงจะเป็นสินค้าที่ขายได้ เมื่อเทียบเคียงกับตลาดเครื่องดื่มประเทศไทย น้ำอัดลมเป็นตลาดใหญ่มากมีสัดส่วนถึง 40% จากตลาดรวม และยิ่งไปกว่านั้นโดยมากเป็นน้ำอัดลม ออริจินัล ส่วนโลว์แคลอรี่ยังเป็นตลาดที่เล็กมาก
(ผู้จัดการรายวัน 13 ตุลาคม 2551)
ตลาดน้ำผลไม้ 7 เดือนโตไม่คืบ เศรษฐกิจพ่นพิษทำกำลังซื้อหด
“โออิชิ- กระทิงแดง” ชี้ ตลาดน้ำผลไม้ 6,000 ล้านบาท โหนกระแสสุขภาพไม่ขึ้น หลัง 7 เดือน โต 5% น้ำผลไม้ 100% กระอักการเติบโตวูบ ระบุความหวานทำลายเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ แถมโดนพิษเศรษฐกิจ กำลังซื้อหด ผู้บริโภคชะลอการดื่ม
(ผู้จัดการรายวัน 1 กันยายน 2551)
โค้กโวฮุบตลาดสปาร์คลิ่งซีโร่
โค้กดัน "โค้กซีโร่" ติดลมบน ปีเดียวคุยโวช่วยสร้างแชร์ตลาดสปาร์คลิ่งไร้น้ำตาล 63% บริษัทแม่ยาหอมไทยเป็นตลาดเป้าหมายหลัก อัดงบ 50 ล้านบาทลุยต่อ
(ผู้จัดการรายวัน 15 กรกฎาคม 2551)