ไอเอฟเอส แคปปิตอลเข้าตลาดปีนี้
ไอเอฟเอส แคปปิตอล คาดเข้าตลาดหลักทรัพย์ไตรมาส 3 ปีนี้ โดยแต่งตั้ง ซีมีโก้ เป็นที่ปรึกษาการเงิน พร้อมตั้งเป้าโต 28% แจงรายได้เพิ่มจากฐานลูกค้าเดิมที่มีความต้องการใช้เงินลงทุนเพิ่มมากขึ้น พร้อมตั้งทีม ลิสซิ่ง ตอบสนองลูกค้าครบวงจรย้ำจุดแข็งโอนเงินได้ใน 24 ชม. หลังอนุมัติสินเชื่อ วงเงินสูงถึง 90% ของสัญญา
(ผู้จัดการรายวัน 3 เมษายน 2551)
อีซี่บายโอ่เพิ่ม'ยูเมะพลัส'4แสนใบ
อีซี่บายตั้งเป้าขยายยูเมะ พลัส เพิ่ม 4 แสนบัตร ควบคุมNPLไม่ให้เกิน 3.8% กลยุทธ์ปีนี้เน้นแสดงความรับผิดชอบต่อลูกค้า คลอดโฆษณาภายใต้แนวคิด ใช้เท่าที่มี...เป็นหนี้เท่าที่จำเป็น
(ผู้จัดการรายวัน 19 มีนาคม 2551)
BBLปล่อยกู้"โพสโค"พันล้าน
แบงก์กรุงเทพปล่อยกู้ "โพสโค (ไทยแลนด์) บริษัทลูกโพสโค เกาหลีผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่สุดในประเทศ ในวงเงิน 1,000 ล้าน เพื่อใช้สำหรับโครงการลงทุนสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกร์ เพื่อผลิตและจำหน่ายเหล็กชนิดแบนให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์
(ผู้จัดการรายวัน 12 มีนาคม 2551)
แบงก์หั่นดอกเบี้ยงานมหกรรมบ้านรับมาตรการภาษี
แบงก์เข็นเอ็นพีเอร่วมประชันงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 18 รับมาตรการลดหย่อนภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจ "กรุงไทย" ตั้งเป้าขาย NPA ปีนี้ 1.5 หมื่นล้านบาท เชื่อยาหมอเลี้ยบดันยอดขาย NPA ทะลุเป้า พร้อมเข้าร่วมมหกรรมลดราคา และจัด KTB NPA Grand Sale ทั่วประเทศ ขณะที่ธอส.คัดทรัพย์คุณภาพดี 40 รายการ พร้อมเงื่อนไขผ่อนดาวน์ 0 % นาน 12 เดือนเข้าร่วม KBANK หวังกวาดยอดสินเชื่อในงาน 1 พันล้านบาท ด้านยูโอบีขนทรัพย์ลดราคาพิเศษกว่า 100 รายการร่วมงานพร้อมส่วนลดสูงสุดกว่า 90% และวงเงินกู้สูงสุดถึง 95%
(ผู้จัดการรายวัน 12 มีนาคม 2551)
แบงก์หั่นดอกเบี้ยแข่งสินเชื่อบ้าน"ใบโพธิ์"ชูกลยุทธ์0%นาน6เดือน
แบงก์โหมแข่งโปรโมชั่นสินเชื่อบ้าน แบงก์"ไทยพาณิชย์"หันกลับมาใช้กลยุทธ์ 0% 6 เดือนสำหรับลูกค้าโครงการทั่วประเทศ พร้อมมุ่งมั่นให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และมีทางเลือกที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยแคมเปญนี้จะเริ่มตั้งแต่ 1- 31 มีนาคม นี้ ขณะที่แบงก์"นครหลวงไทย"ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ 2 หมื่นล้านบาท เสนอเงื่อนไขดอกเบี้ยพิเศษแบบคงที่ 2 ปี และแบบลอยตัว วงเงินกู้สูงสุด 95% พร้อมข้อเสนอจูงใจกับบริการประกันชีวิตของธนาคารที่ให้อัตราค่าเบี้ยประกันพิเศษ
(ผู้จัดการรายวัน 4 มีนาคม 2551)
แบงก์แข่งสินเชื่อบ้านรับดบ.ขาลง
แบงก์รุมปล่อยสินเชื่อบ้านรับดอกเบี้ยขาลง ภาคการลงทุนฟื้น "ไทยพาณิชย์" เดินหน้าขยายพอร์ตสินเชื่อรายย่อยโต 20-25% ตั้งเป้าลดเอ็นพีแอลลงมาให้เหลือไม่เกิน 3.4% ด้าน"นครหลวงไทย"งัด 3 กลยุทธ์ปั๊มยอดสินเชื่อบ้านโตสุทธิ 8,500 ล้านบาท ขณะที่ "กสิกรไทย" เล็งลดเอ็นพีแอลสินเชื่อบ้านปีนี้ให้เหลือ 3% พร้อมบริหารหนี้เก่ากว่า 3 พันล้าน ให้กลายเป็นหนี้ดี โดยใช้กลยุทธ์ติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิดปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวดในการชำระคืน
(ผู้จัดการรายวัน 25 กุมภาพันธ์ 2551)
สินเชื่อธุรกิจQ4ส่งสัญญาณฟื้นอุปโภคบริโภคพุ่ง-อสังหาฯยังทรุด
ธปท.เผยยอดสินเชื่อรายธุรกิจสิ้นปีที่ผ่านมาเริ่มผงกหัวขึ้นแล้ว โดยล่าสุดไตรมาส 4 ของปี 50 มียอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นกว่า 1.5 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.56% จากยอดสินเชื่อคงค้างทั้งระบบทั้งสิ้น 6.2 ล้านล้านบาท โดยสินเชื่ออุปโภคบริโภคมียอดเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระบบกว่า 7 หมื่นล้านบาท ขณะที่สินเชื่อให้แก่ภาคครัวเรือนกลับมีสัดส่วนลดลงมากที่สุดในระบบถึง 75% และธุรกิจก่อสร้างขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินลดลง 16,131 ล้านบาท หรือ 8.51%
(ผู้จัดการรายวัน 14 กุมภาพันธ์ 2551)
กสิกรไทยลุยสินเชื่อเอสเอ็มอีรับ"สมัคร1"
แบงก์กสิกรไทยจี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเร่งปรับตัว หลังต้นทุนลอจิสติกส์ของไทยพุ่งเป็น 23.9% บริษัทยิ่งเล็กต้นทุนยิ่งสูง แนะลดต้นทุนก่อนเสียเปรียบด้านการแข่งขัน พร้อมตั้งเป้าลุยขยายสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้เพิ่มอีก 6 หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 20% เป็น 360,000 ล้านบาท มั่นใจหลังตั้งรัฐบาล-เมกะโปรเจ็กต์ช่วยหนุน
(ผู้จัดการรายวัน 12 กุมภาพันธ์ 2551)
ธปท.ไฟเขียวตปท.ฮุบแบงก์สกัดซับไพรม์ลามทั้งระบบ
แบงก์ชาติไม่หวั่นปัญหาซับไพรม์กระทบระบบสถาบันการเงินไทย เหตุการปล่อยสินเชื่อไม่ได้สูงมากเหมือนกับสหรัฐฯ เชื่อปี 51 เศรษฐกิจดีช่วยเสริมรายได้ประชาชนเพิ่มและลดแรงกดดันเอ็นพีแอลพุ่ง แต่ยังคงเฝ้าระวังและควบคุมการแก้ไขหนี้อย่างจริงจัง ขณะที่กระแสจับคู่พันธมิตรต่างชาติ ขณะนี้กำลังพิจารณารูปแบบในแง่นโยบาย พร้อมทั้งเปิดช่องว่างต่างๆ หวังเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดประสิทธิภาพกับสถาบันการเงินไทย
(ผู้จัดการรายวัน 4 กุมภาพันธ์ 2551)
หนี้เน่าQ4ลด2หมื่นล.-แบงก์เล็กพุ่งสวนทาง
ธปท.เผยตัวเลขหนี้เอ็นพีแอลไตรมาส 4 ของปี 50 ลดลงจากไตรมาสก่อนกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 8.76%ของสินเชื่อรวม เหตุมีการขายหนี้เน่าให้แก่บบส.บริหารต่อพร้อมทั้งตัดหนี้สูญที่ตามไม่ไหว ขณะที่สถาบันการเงินประเภทต่างๆ ล้วนเดินหน้าลดหนี้กันมีเพียงบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่มีหนี้พุ่ง ซึ่งเกิดจากบค.เอเซีย ขณะที่ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย-ทิสโก้-ธนชาตสวนกระแสระบบหนี้กลับพุ่ง
(ผู้จัดการรายวัน 28 มกราคม 2551)