ธปท.หนุนปล่อยกู้บจ.ซื้อหุ้นคืน
ธปท.ร่อนจดหมายเวียนถึงแบงก์วางแนวนโยบายการปล่อยกู้ ชี้ควรนำเงินมาให้ภาคธุรกิจที่สำคัญ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศ หนุนให้บริษัทจดทะเบียนขอสินเชื่อซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้น พยุงตลาดหุ้นที่กำลังดำดิ่ง แต่กำชับแบงก์ระวังสินเชื่อในโครงการเก็งกำไร พร้อมสั่งรายงานข้อมูลลูกค้าสินเชื่อบ้านวงเงินเกิน 100 ล้าน ที่ปล่อยกู้หลังปีใหม่ที่ผ่านมา
(ผู้จัดการรายวัน 10 มีนาคม 2552)
SCBเล็งหาช่องปล่อยกู้รายใหญ่ ชี้ธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรมขยับฟื้น
แบงก์ไทยพาณิชย์ยังมั่นใจปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ได้ตามเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท แม้ 2 เดือนแรกสินเชื่อยังคงที่ ระบุธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรยังไปได้ดี ขณะที่ภาคท่องเที่ยว-โรงแรมเริ่มฟื้น ส่วนคุณภาพหนี้ในพอร์ตยังดี แต่เริ่มมีลูกค้าบางรายออกอาการทรุด พร้อมคุมเอ็นพีแอลไม่เกิน 1.5%
(ผู้จัดการรายวัน 9 มีนาคม 2552)
ใบโพธิ์คุมหนี้เน่าSMEไม่เกิน5%
ไทยพาณิชย์เผยแผนสินเชื่อเอสเอ็มอี ตั้งเป้าโต 5% และเน้นขยายฐานไปยังลูกค้ารายย่อยมากขึ้น พร้อมทั้งพยายามคุมเอ็นพีแอลไม่เกิน 5% จัดเจ้าหน้าที่ช่วยลูกค้าแก้ปัญหาสภาพคล่องก่อนจะเป็นหนี้เน่า และเพิ่มช่องทางทำรายได้จากค่าธรรมเนียมมากขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 5 มีนาคม 2552)
สินเชื่อม.ค.หดกว่า9หมื่นล้านแบงก์ใหญ่-กลางอ่วมถ้วนหน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยยอดสินเชื่อแบงก์เดือนแรกของปี 52 ทั้งระบบลดลงกว่า 9 หมื่นล้าน แบงก์ขนาดใหญ่-กลางขยับลงถ้วนหน้า โดยกลุ่มแบงก์ใหญ่ลดเกือบ 6 หมื่นล้าน แบงก์กลาง 2.5 หมื่นล้าน ขณะที่แบงก์เล็ก ลด 8พันล้าน มีทิสโก้-สแตนชาร์ดรอดขยับเพิ่มกว่า 2 พันล้าน ด้านเงินฝากมีลดลง 1.4 หมื่นล. หรือลดลง 0.22%
(ผู้จัดการรายวัน 24 กุมภาพันธ์ 2552)
ธปท.ป้องแบงก์ปล่อยกู้ส่งออก
ธปท.รับยอดสินเชื่อคงค้างปี 51 มีบางภาคธุรกิจได้รับสินเชื่อลดลง แต่มั่นใจไม่มีธุรกิจใดถึงขั้นล้มหายตายจากเหมือนวิกฤตปี40 แจงแบงก์ไม่ได้จำกัดให้สินเชื่อธุรกิจภาคส่งออก ระบุคำสั่งซื้อสินค้าลดลง ทำให้ความต้องการขอสินเชื่อจากแบงก์ลดลงตาม ส่วนยอดสินเชื่อปี 51 แบงก์อนุมัติสินเชื่อให้ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 1.32 ล้านล้านบาท คิดเป็น 21.20%
(ผู้จัดการรายวัน 16 กุมภาพันธ์ 2552)
ชำแหละหนี้เสียแบงก์พุ่ง! บัตรเครดิตค้างเพิ่มหมื่นล.
ชำแหละเอ็นพีแอลแบงก์พาณิชย์ ส่วนใหญ่ยอดพุ่ง โดยเฉพาะแบงก์เล็กถึงกลาง "สแตนดาร์ดชาร์เตอร์" แชมป์ ยอดเพิ่มขึ้น 100% ธนาคารนครหลวงไทยมูลหนี้เพิ่มขึ้น 4 พันล้าน ขณะที่ยูโอบีไม่น้อยหน้าหนี้พุ่ง 16.33% เฉพาะยอดรวมบัตรเครดิตสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นเกือบหมื่นล้านหรือ 5.55%
(ผู้จัดการรายวัน 16 กุมภาพันธ์ 2552)
ธอส.ลั่นปล่อยกู้บัญชีดำ
บิ๊ก ธอส.ประกาศพร้อมปล่อยสินเชื่อบ้านลูกหนี้แบล็กลิสต์-ติดเครดิตบูโรประเภทหนี้บัตรเครดิต-รถยนต์ ชี้ข้อดีเครดิตบูโรช่วยแบงก์สกรีนลูกค้า ป้องกันเอ็นพีแอลลาม เผยผลการดำเนินงานปี 51 ธอส.ผลประกอบการเจ๋ง ปล่อยสินเชื่อใหม่ 8.18 หมื่นล้าน เฉพาะกำไร 3.3 พันล้าน ปี 52 เดินหน้าปล่อยกู้ 7.3 หมื่นล้าน เน้นบริหารความเสี่ยง พร้อมสอดส่องโครงการบ้านเอื้ออาทร
(ผู้จัดการรายวัน 11 กุมภาพันธ์ 2552)
ธอส.งัดแผนฉุกเฉินสกัดNPL นักวิชาการจี้แบงก์ใช้ระบบเช่าซื้อแทนค่างวด
"ขรรค์ ประจวบเหมาะ"บิ๊กธอส.ใช้แผนฉุกเฉินสกัดเอ็นพีแอลพุ่ง สั่งจับตาลูกหนี้ผิดนัดชำระนาน 60 วันเป็นพิเศษ หวั่นไหลเป็นหนี้เสีย คาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ในระบบปีนี้เหลือแค่ 2 แสนล้าน เอกชนเตือนรัฐเร่งฉีดน้ำดับควันไฟ ระวังเกิดไฟไหม้ขึ้นจะไม่มีน้ำดับ กูรูอสังหาฯแนะรัฐเร่งแก้ปัญหาNPL ออกมาตรการกระตุ้นต่อเนื่องหลายระลอก ครอบคลุมประชาชนระดับล่าง จี้แบงก์พักชำระหนี้ ปรับระบบบัญชีเป็นเช่า 1-2 ปีแทนผ่อนจ่าย นายกส.อสังหาฯ ชี้กลางปีเห็นจัดสรรปิดโครงการเพียบ
(ผู้จัดการรายวัน 4 กุมภาพันธ์ 2552)
ข่าวร้ายลูกค้ากู้เงินต้องรอยาวถึงสิ้นปี
อนาคตมืดมน คนขอสินเชื่อแบงก์ต้องรอสิ้นปี บิ๊ก ธปท.ป้องแบงก์พาณิชย์ยังไม่ปล่อยกู้เพราะสถานการณ์ยังไม่เป็นใจ หวั่นเจอลูกค้าไม่ดี คุยต่อไปใช้หลักเกณฑ์บาเซิล 2 การปล่อยสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น เหตุลดน้ำหนักความเสี่ยงที่ใช้คำนวณเงินกองทุน โดยเฉพาะปล่อยกู้สินเชื่อรายย่อยเหลือ 75% สินเชื่อบ้าน 35% เอื้อธุรกิจแบงก์เล็กที่มีพอร์ตด้านนี้มาก รวมถึงให้แบงก์กันสำรองลูกหนี้เอ็นพีแอลในสัดส่วนที่สูงสามารถลดน้ำหนักความเสี่ยงลงได้
(ผู้จัดการรายวัน 27 มกราคม 2552)
ธอส.รอรัฐชัดเจนแพกเกจอสังหาฯ เร่งพิจารณาลดดบ.หวั่นเงินฝากไหลเข้าต้นทุนสูง
ธอส.สำแดง!! ระบุมาตรการกระตุ้นอสังหาฯของรัฐบาลไม่ชัดเจนและยังไม่สามารถประกาศใช้ โดยเฉพาะลดหย่อนภาษี 2 แสนบาท/ปี ต้องรอกรมสรรพากรพิจารณาว่าทำได้หรือไม่ ส่วนบริษัทค้ำประกันสินเชื่อ-เงินเพิ่มทุน 2,000 ล้านบาท ยังไม่ผ่านครม. เล็งหาลูกค้ารายได้มั่นคงกลุ่มข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ เตรียมออก กบข.-ธอส. รุ่น 6 กดดอกเบี้ยปีแรก 3.99% จ่อลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ รอมอนิเตอร์ 5 แบงก์ใหญ่ก่อน หวั่นเงินฝากไหลเข้า
(ผู้จัดการรายวัน 16 มกราคม 2552)