สภาพัฒน์เผยจีดีพีQ1ลบ7%-แบงก์ชาติรับเลวร้ายสุด
สภาพัฒน์แถลงเศรษฐกิจไตรมาสแรกหดตัว 7.1% ระบุรุนแรงกว่าที่คาดหลังเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรง คาดจีดีพีทั้งปีติดลบ 3.5 ถึงติดลบ 2.5% ผู้บริหารแบงก์ชาติยอมรับตัวเลขลบ 7.1% เป็นไปตามประมาณการขั้นเลวร้ายสุด เผยยังไม่เห็นแววมีการลงทุนภาคเอกชนภายในปีนี้ ตามคาดโยนภาระให้ภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจดันความเชื่อมั่น
(ASTVผู้จัดการรายวัน 26 พฤษภาคม 2552)
สภาพัฒน์คาดจีดีพีติดลบ
สภาพัฒน์ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 52 ลงเหลือ -1 ถึง 0% จากที่ขยายตัวในระดับ 2.6% ในปี 51 ชี้ตัวเลขหดเพราะเศรษฐกิจโลกพ่นพิษ-ส่งออกทรุด เผยไตรมาส 4 ปี 51 จีดีพีติดลบ 4.3% เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี แต่ยังไม่เท่าวิกฤตต้มยำกุ้ง ส.อ.ท.ประเมินส่งออกไตรมาส 2 ส่อเค้าแย่กว่าไตรมาส 1 เหตุคำสั่งซื้อมาต่ำกว่าที่คาดไว้ แนะรัฐรับมือปัญหาแรงงานตกงานพุ่งสูงหากจีดีพีไตรมาส 2 ติดลบ 2.5% แรงงานตกงาน 1.2 ล้านคน เตรียมจับมือกรมจัดหางานจัดตลาดนัดพบแรงงานเน้นระดับปริญญาตรีวันที่ 20-21 มี.ค.ที่สยามพารากอน
(ผู้จัดการรายวัน 24 กุมภาพันธ์ 2552)
สภาพัฒน์ห่วงว่างงาน9แสนนศ.จบใหม่ซีด
สภาพัฒน์คาดการณ์แนวโน้มการว่างงานปี 52 อยู่ที่ 9 แสนคน ผลจากเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้ประกอบการรถยนต์รายใหญ่ปลดคนงาน เผยสำนักประกันสังคมอาจต้องควักเงินทดแทนไม่ต่ำกว่า 3 พันล้าน ชี้นักศึกษาจบใหม่ 3 แสนคน เตะฝุ่นยาว แนะรัฐบาลใหม่เร่งฟื้นวิกฤต ปรับทิศทางการศึกษาใหม่
(ผู้จัดการรายวัน 9 ธันวาคม 2551)
สภาพัฒน์จี้รัฐฟื้นท่องเที่ยว
สภาพัฒน์เล็งเลื่อนแถลงจีดีพีไตรมาส 4 เร็วกกว่า 1 เดือน เพื่อให้ทันสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ปกติ จี้ภาครัฐเป็นตัวนำเศรษฐกิจทั้งการลงทุนเมกะโปรเจกต์และกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ แนะรัฐบาลใหม่เร่งนโยบายไทยเที่ยวไทย กระตุ้นตลาดในประเทศ ใช้โอกาสช่วงเทศกาลปีใหม่นำร่อง
(ผู้จัดการรายวัน 9 ธันวาคม 2551)
สภาพัฒน์โวศก.ฟื้น-ไม่สนใช้จ่ายครัวเรือนวูบ
“สภาพัฒน์” ฟันธงเศรษฐกิจไทยฟื้นแล้ว ขยายตัวตลอดปี 50 ที่ร้อยละ 4.8 ด้านไตรมาสสุดท้ายโตร้อยละ 5.7 ระบุภาคก่อสร้าง ท่องเที่ยว ส่งออกโตรับรัฐบาลใหม่ งง!!ทั้งปี 51 คาดเศรษฐกิจรอฟื้นถึงร้อยละ5.5 แต่ยังไม่รวมประชานิยม-งบกลางปี ขณะที่เลขาฯสภาพัฒน์ แถลงไร้เศรษฐกิจพอเพียง
(ผู้จัดการรายวัน 26 กุมภาพันธ์ 2551)
สภาพัฒน์ฯคาดจีดีพีปีหน้าโต 4-5% แนะพัฒนาโครงการพื้นฐานเสริมศก.แกร่ง
เลขาฯสภาพัฒน์ดักคอรัฐบาลใหม่อย่าทิ้งโครงการพื้นฐาน-ลอจิสติกส์ ระบุจะเป็นภูมิคุ้มกันสภาวะเศรษฐกิจระยะยาว ขณะที่ประมาณการจีดีพีปีหน้า คาดขยายตัว 4-5% ส่วนน้ำมันดิบดูไบ แตะ 75-80 ดอลลาร์ต่อบาเรล จี้ธุรกิจไทยปรับตัวรับราคาน้ำมัน-การชะลอตัวเศรษฐกิจโลก
(ผู้จัดการรายวัน 4 ธันวาคม 2550)
สภาพัฒน์ฯลดเป้าจีดีพีเหลือ4-4.5%แนะ4มาตรการสานต่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สภาพัฒน์ฯยอมถอยปรับลดจีดีพีปี 50 เหลือ 4.0-5.0% จาก 4.5-5.0% ระบุยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาน้ำมันผันผวน และความเชื่อมั่นของประชาชน-ธุรกิจต่อเศรษฐกิจ-การเมืองยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ตัวเลขจีพีดีไตรมาสแรกขยายตัว 4.3% ใกล้เคียงกับไตรมาส 4 ปี 49 โดยรับแรงหนุนหลักจากการขยายตัวของภาคการส่งออก พร้อมแนะรัฐเร่ง 4 มาตรการหนุนเศรษฐกิจ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ตามเป้า รวมถึงเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และสร้างความมั่นใจในด้านการท่องเที่ยว-การเมือง
(ผู้จัดการรายวัน 5 มิถุนายน 2550)
ต้อนแรงงานนอกระบบเข้าฐานข้อมูล ทักษิโณมิกส์ "หวังรีดภาษี-ดันจีดีพี"
ความพยายามผลักดันเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวเลขอัตราการขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เป็นหลัก ผู้นำรัฐบาลจะใช้ตัวเลขจีดีพีที่มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องมาเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยขาดการมองในแง่มิติของการกระจายรายได้ ที่เป็นธรรมและจริยธรรม
(ผู้จัดการรายวัน 8 กุมภาพันธ์ 2549)
สภาพัฒน์ชี้จีดีพีปีนี้4.7%
สภาพัฒน์คาดปี 48 จีดีพีโตถึง 4.7% หลังไตรมาสที่ 3 ขยายตัว 5.3% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 4.5% ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลแค่ 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่แบงก์ชาติปลื้มตัวเลขสภาพัฒน์ ลุ้นสองเดือนสุดท้ายก่อนสิ้นปี แต่ไม่ควรตั้งเป้าเกิน 10% ต่อเดือน ด้านฟิทช์ เรทติ้งส์ฯคาดจีดีพีไทยแค่ 4.5%
(ผู้จัดการรายวัน 7 ธันวาคม 2548)
สมคิดดันส่งออก20%ตามเป้า
"สมคิด" ดันเป้าส่งออกปีนี้ต้องไม่ต่ำกว่า 20% เผย 8 เดือนแรกส่งออกแล้ว 14% มั่นใจคุมดุลการค้าไม่เกินดุลได้แน่นอน ชี้ท่องเที่ยว-บริการ แก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ระบุกุ้ง-ไก่ ส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ด้าน ส.ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเผยสึนามิทำการผลิตอาหารกุ้งครึ่งปีหลังลด 10%
(ผู้จัดการรายวัน 7 กันยายน 2548)