ลีเวอร์ฯปรับทิศสู้ภาวะฝืด
“ยูนิลีเวอร์” ปรับเกมหนีสงครามราคา สร้างความต่างอัดแคมเปญซอยย่อยแต่ละเชนโมเดิร์นเทรด หลังพบกลยุทธ์ราคาไม่ตอบโจทย์เพราะผู้บริโภคไทยเกิดความเคยชิน พร้อมปรับตัวขนสินค้าจำหน่ายโมเดิร์นเทรดตามประชากรแต่ละย่าน นำร่อง คาร์ฟูร์ พระราม 4 ตบเท้านำเข้าสินค้าตอบสนองชาวต่างชาติ งัดกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า หนทางรอดขยับราคาขึ้น หลังต้นทุนพุ่ง 10% เตรียมออกสินค้า 1-2 ตัวภายใต้16 แบรนด์ สิ้นปีโต 7%
(ผู้จัดการรายวัน 13 กรกฎาคม 2549)
ไอ.ซี.ซี.ฯงัดแผนบุกเลอค็อกสปอร์ทิฟ
ไอ.ซี.ซี.ฯ เดินแผนลึก หวังปั้น เลอค็อก ทะลวงตลาดเสื้อผ้ากีฬาเต็มเหนี่ยว แย่งตลาดกว่า 5,000 ล้านบาท แย้มแผนเปิดชอปเต็มรูปแบบใจกลางเมือง โดยมีเลอค็อกฝรั่งเศสสนับสนุน พร้อมปรับจุดขายให้ทันสมัยมากขึ้น ชูเซเรเบรตี้มาใช้ในการโปรโมทสินค้าและแบรนด์ มั่นใจปีนี้เติบโต 40%
(ผู้จัดการรายวัน 11 กรกฎาคม 2549)
ทัพสินค้าปรับเกมใช้สื่อยุควิกฤต
จับตาทัพสินค้าแห่ปรับตัวรับมือเศรษฐกิจพ่นพิษ หลังบ.แม่-เจ้าของสินค้าออกนโยบายตัดงบโฆษณาออก พลิกคัมภีร์สร้างการรับรู้-ตอกย้ำตราสินค้ายุคประหยัด งัดนอน แมส มีเดียสื่อราคาถูกใช้แทน พร้อมขนพนักงานทำเพอร์ซันนัลชาแนล หรือกระทั่งโปรดักส์เทสเมนต์กลยุทธ์บูมในซิทคอม รวมถึงกลยุทธ์เวิร์ด ออฟ เมาท์รีเทิร์น
(ผู้จัดการรายวัน 11 กรกฎาคม 2549)
แคร์เปิดเกมรบตลาดแป้งความงามส่ง"ซอฟต์แองเจิล"ชิงแชร์ขยายฐานวัยรุ่น
คอลเกต-ปาล์มโอลีฟแตกไลน์ซับแบรนด์ใหม่ "แป้งแคร์ แองเจิล ซอฟต์ " ขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มเด็กสู่กลุ่มวัยรุ่น หลังพบตลาดแป้งเพื่อความงามมูลค่า 525 ล้านบาท โตพรวด 60% ล่าสุด"พอนด์ส เมจิก เพาวเดอร์" อัดโปรโมชั่นแพกคู่โฟมล้าง หวังสิ้นปีรั้งบัลลังก์ผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง40%
(ผู้จัดการรายวัน 10 กรกฎาคม 2549)
เศรษฐกิจซบซีพีฉวยโอกาสเปิดชอป
“ซีพี” ผนึกสินค้าในเครือสร้างอำนาจต่อรองเชนโมเดิร์นเทรดยักษ์ใหญ่ ฉวยเศรษฐกิจซบชงโมเดลขายแฟรนไชส์”ซีพี เฟรชมาร์ท” เปิดร้านขายไส้กรอก-ไก่เข้าถึงผู้บริโภคทั่วประเทศ ชูยุทธศาสตร์ 3 ปี ธุรกิจนมขึ้นเป็นอันดับหนึ่งทุกเซกเมนต์ อัดฉีด 300 ล้านบาท บูมนมพาสเจอร์ไรส์-โยเกิร์ตนำร่อง เสริมทัพขยายสาวขายนม เล็งลั่นกลองบุกน้ำถั่วเหลือง-ยูเอชที 3 ปีรายได้จากกว่า 3,000 ล้านบาท แตะ 5,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 7 กรกฎาคม 2549)
โออิชิหืดจับตลาดชาเขียวตก30% รายย่อยล้มตาย ไสช้างลุยตปท.
“โออิชิ” กัดฟันสู้กำไรชาเขียวปี 49 หด อัดฉีด 600 ล้านบาท เดินเกมครึ่งปีหลังรักษายอดขายเข้าเป้า 4,000 ล้านบาท พร้อมรั้งบัลลังก์ผู้นำตลาด ระเบิดศึก 6 เดือนหลังอัดงบสื่อโฆษณา 30-40 ล้านบาท ปั้นรสชาติใหม่กระทุ้งยอดขาย 2,500 ล้านบาท หลังไตรมาสแรกพลาดเป้า ล่าสุดเตรียมรุกตลาดอเมริกา ขอมีเอี่ยวต่อยอดเบียร์ช้างเปิดตลาด ด้วยการส่งโออิชิเข้าทำตลาด นำร่อง สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย แย้มซุ่มปั้นเครื่องดื่มตัวใหม่
(ผู้จัดการรายวัน 6 กรกฎาคม 2549)
ปัดฝุ่นคาร์เนชั่นบุกตลาดนมผง เท80ล.ชงสูตรใหม่พร้อมปรับราคา
เนสท์เล่ รุกปั้นนมผงคาร์เนเชั่นครั้งใหญ่รอบ 7 ปีรับพิษเศรษฐกิจหด ชูคาร์เนชั่นราคาถูกกว่านมตราหมี 20% ล่อใจคุณแม่มือใหม่คำนึงถึงปัจจัยราคามากขึ้น ทุ่ม 80 ล้านบาท เปิดตัวสูตรใหม่ "ผสมใยอาหารจากผักและผลไม้" พร้อมฉวยขึ้นราคา 3-5% หลังแบกรับภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่ไหว สิ้นปีแชร์เนสท์เล่กลุ่มนมผงสำหรับเด็กขยับขึ้น 2-3% จากเดิมมี 65% รั้งบัลลังก์ผู้นำตลาด
(ผู้จัดการรายวัน 5 กรกฎาคม 2549)
พอนด์สทุ่ม150ล.ขยายตลาดภูธร
ยูนิลีเวอร์ ชู พอนด์ส ไวท์ บิวตี้ ดีท็อกซ์ ขยายตลาดภูธร ทุ่ม 150 ล้านบาท เปิดตัวโครงการ "สถาบันพอนด์สออนทัวร์" จัดกองคาราวานสถาบันวิจัยพอนด์สลงพื้นที่ 73 จังหวัด พร้อมชูทีมงานผู้เชี่ยวชาญผิวพรรณสถาบันสร้างความเชื่อถือ - สร้างความรู้ความเข้าใจ สิ้นปีรั้งบัลลังก์ผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 18.5%
(ผู้จัดการรายวัน 4 กรกฎาคม 2549)
เศรษฐกิจฟาด“ทิพ”ต้องดาวน์ไซส์ออกตัวใหม่มาร์จิ้นสูงเลิกส่งออกไม่กำไรคาดปีนี้แค่ทรงตัว
“ทิพ” ปรับลดขนาดธุรกิจน้ำมันพืชครั้งใหญ่ งดทำตลาดส่งออก-ลดบทบาทน้ำมันอุตสาหกรรมหันลุยน้ำมันคอนซูเมอร์เสริมทัพแทน หลังเจอพิษเศรษฐกิจไทยหดตัว – ส่งออกไม่สร้างกำไร บ่ายหน้าขุดขุมทองใหม่ให้มาร์จิ้นสูง ปรับโพซิชั่นนิ่งใหม่ ทุ่ม 70 ล้านบาท ปั้นซับแบรนด์ “ทิพไวส์” ลุยตลาดนิชมาร์เก็ตเลี่ยงสินค้าเฮาส์แบรนด์ถล่ม-สงครามราคาตลาดแมส นำร่องเปิดตัวน้ำมันฝ้าย-น้ำมันถั่วเหลืองผสมปาล์ม สิ้นปีหวังรักษารายได้เท่ากับปีที่ผ่านมา คือ 700 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 30 มิถุนายน 2549)