เด้ง"บิ๊กหมง"พ้นไออาร์พีซี เหตุทำเจ๊ง-ใบสั่งการเมือง
ขุมทรัพย์ไออาร์พีซี ผลัดกันชม! "บิ๊กหมง" จำใจ ยื่นหนังสือลาออกจากประธานบอร์ดและกรรมการวันนี้ (12 พ.ค.) ปัดผลขาดทุน1.8 หมื่นล้าน-ใบสั่งนักกการเมือง แต่อ้างมาจากนโยนบายของ ปตท.ที่ต้องการส่งคนมาคุม เปิดทาง "ณอคุณ สิทธิพงศ์" รองปลัดกระทรวงพลังงานนั่งแท่นประธานไออาร์พีซีแทน ด้าน"ประเสริฐ"ยันเปลี่ยนแปลงประธานบอร์ดไออาร์พีซีครั้งนี้ไม่มีเบื้องหลังโยงใยขั้วการเมืองหรือ"ประชัย เลี่ยวไพรัตน์"ผู้ถือหุ้นเดิม แต่ทำเพื่อความเหมาะสม
(ASTVผู้จัดการายวัน 12 พฤษภาคม 2552)
กลุ่มปตท.เล็งขายหุ้นกู้เพิ่ม
กลุ่มปตท.เผยปี 53 มียอดผลิตเม็ดพลาสติกรวมทั้งสิ้น 3 ล้านตัน หลังจากโรงงานใหม่เริ่มทยอยแล้วเสร็จตั้งแต่ปลายปีนี้ ทำให้รายได้การขายเม็ดพลาสติกในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3.5 หมื่นล้านบาท คาดปริมาณขายก๊าซธรรมชาติปีนี้ไม่ลด เหตุอากาศร้อนทำให้การใช้ไฟฟ้าสูง พร้อมเตรียมพิจารณาออกหุ้นกู้เพิ่ม หลังระดมทุนไปแล้ว 1 แสนล้านบาท ด้านเอสโซ่ฯฟุ้งผลดำเนินงานไตรมาส1/2552 ดีขึ้น หลังพลิกมีกำไรสต็อกน้ำมัน
(ผู้จัดการรายวัน 29 เมษายน 2552)
ไฟเขียวPTTCHกู้เงิน3หมื่นล.
ผู้ถือหุ้น PTTCH ไฟเขียวแผนจัดหาเงินกู้อีก 3 หมื่นล้านบาท ภายใน 5ปีนี้ เพื่อใช้ลงทุนโครงการในอนาคต หลังจากบริษัทเผยไต๋ 5 ปีนี้ลงทุนอีก 6 หมื่นล้านบาท เน้นทำ M&A ยันช่วงนี้ไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสม เหตุภาวะราคาผันผวน บิ๊กปตท.เผยเครือปตท.ทยอยออกหุ้นกู้ในปีนี้รวม 6.7-7.7 หมื่นล้านบาท โดยปตท.สผ.จะออกหุ้นกู้รวดเดียว 3-4 หมื่นล้านบาทเพื่อใช้ลงทุนในต่างประเทศ
(ผู้จัดการรายวัน 9 เมษายน 2552)
ปิดฉากปั๊มเจ็ตเมืองไทยถาวร คงร้านสะดวกซื้อจิ๊ฟฟี่ดึงลูกค้า
ปิดตำนานปั๊มน้ำมันเจ็ทในเมืองไทย 10 มิ.ย.นี้ หลังจากปตท.ซื้อกิจการเมื่อปี 50 ก่อนรีแบรนด์ปั๊มน้ำมันเจ็ทเป็นปตท.ครบทั้งหมด146 แห่งทั่วประเทศ แต่ยังคงร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่เอาไว้เพื่อเอาใจผู้บริโภคที่ยึดติดการให้บริการของเจ็ท ซึ่งการปรับโฉมการให้บริการใหม่ภายใต้คอนเซ็ป Platinum Gas Station ช่วยเพิ่มยอดขายน้ำมันและร้านค้าภายในปั๊มสูงขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 8 เมษายน 2552)
ปตท.สผ.ลงทุน3ประเทศ
ปตท.สผ.วางกลยุทธ์การทำธุรกิจ โดยกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการลงทุน ( Core Area)เบื้องต้น 3ประเทศ คือ ออสเตรเลีย พม่าและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่มีศักยภาพในการเติบโตดี พร้อมพิจารณาประเทศอื่นๆที่ลงทุนว่ามีโอกาสเข้าข่ายเป็นCore Area หรือไม่ แย้มไตรมาสแรกปริมาณขายก๊าซฯพลาดเป้าที่ตั้งไว้ 2.4 แสนบาร์เรล/วัน เหตุความต้องการใช้ไฟฟ้าหด
(ผู้จัดการรายวัน 3 เมษายน 2552)
BCPมั่นใจกำไรQ1กระเตื้อง
“บางจากปิโตรเลียม” คาดผลดำเนินงานไตรมาส 1/52 จะดีกว่าไตรมาส4 ปีที่ผ่านมา เหตุมีการทำเฮดจิ้งน้ำมันป้องกันความเสี่ยง และขายน้ำมันเตาได้ ในราคาสูง พร้อมยอมรับอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อหาแนวทางซื้อหุ้นคืน หลังพบมีการซื้อขายในกระดาน 5-8% จากทั้งหมดที่อยู่ถึง 38% คาดได้ข้อสรุปภายในเดือนนี้ ส่วนปีนี้ประเมินว่าราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 50-55 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์
(ผู้จัดการรายวัน 2 เมษายน 2552)
ปตท.รื้อแผนลงทุนมาบตาพุด
ปตท.จับตาระเบียบกติกาใหม่หลังประกาศพื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ ยันมีผลชี้ขาดว่าโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 7 จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ระบุหากเข้มงวดจนไม่คุ้มการลงทุนจะส่งผลต่อโครงการปิโตรเคมีระยะที่ 3 เฟส 2 มูลค่ากว่าแสนล้านบาทสะดุด ขณะที่ ส.อ.ท.แนะรัฐบาลเร่งวางกรอบลดผลมลพิษให้ชัด พร้อมวางโมเดลกำหนดแผนลงทุนใหม่ป้องกันปัญหาระยะยาว ยกมาบตาพุดเป็นบทเรียนบริหารจัดการผิดพลาด ด้านชุมชนมาบตาพุดที่หนุนรัฐไม่อุทธรณ์ เล็งยื่นปรับแผนอีไอเอใหม่ให้นำเอาผลกระทบด้านสุขภาพเข้ามาพ่วง แกนนำ 27 ชุมชนหารือฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายจากรัฐ
(ผู้จัดการรายวัน 18 มีนาคม 2552)
'บาฟส์'ปีนี้รายได้-กำไรหด เปิดทางบางจากเข้าถือหุ้น
บาฟส์ตั้งเป้าปีนี้ปริมาณการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานขยายตัว -2% ฉุดรายได้และกำไรหดจากปีก่อน ยอมรับแผนการบินไทยย้ายจากสนามบินดอนเมืองไปสุวรรณภูมิ กระทบบาฟส์เล็กน้อย เปิดช่องบาจากฯเป็นผู้ถือหุ้นใหม่ แต่ติดปัญหาปตท.แทงกั๊กคัดค้าน หลังให้การบินไทยซื้อน้ำมันตรงจากโรงกลั่นบางจากฯ เพื่อป้องกันความเสี่ยงการขาดสภาพคล่องของบินไทย
(ผู้จัดการรายวัน 12 มีนาคม 2552)
1ก.พ.น้ำมันขึ้น1.55บ. โวยรัฐอุ้มปตท.8พันล.
กบง.ไฟเขียวขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิด 1.55 บาทต่อลิตร เว้นอี 85 มีผล 1 ก.พ.นี้ พร้อมทยอยขึ้นอีก 3 ครั้งๆ ละไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตรจนกว่าจะครอบคลุมเท่ากับภาษีฯ ที่ขึ้นภายใน มี.ค. คาดใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดูแล 4,000 ล้านบาท จับตา 1-2 วันนี้ ปั๊มแตกแน่เหตุคนแห่เติม ปตท.ฟุ้งราคาน้ำมันหลังจัดเก็บภาษีแล้วยังต่ำกว่าช่วงที่น้ำมันแพง ด้านกลุ่มผู้ใช้ก๊าซแอลพีจี ร้อง กมธ.วุฒิฯ กังขารัฐทุ่ม 8 พันล้าน อุดหนุน ปตท.ชดเชยส่วนต่างราคานำเข้าก๊าซแอลพีจี
(ผู้จัดการรายวัน 30 มกราคม 2552)
รื้อโครงสร้างพลังงาน ลดอำนาจผูกขาด ปตท.
การตัดสินใจตรึงราคาก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวี รวมทั้งการปรับแผนการผลิตไฟฟ้าใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 ม.ค.) ถือเป็นการตัดสินใจของผู้นำประเทศที่ “รู้เท่าทัน” บรรดาแทคโนแครตด้านพลังงานและบริษัทยักษ์ใหญ่ ปตท. ที่ชงข้อมูลขึ้นราคาก๊าซมาให้นายกรัฐมนตรีเห็นชอบโดยอ้างเหตุผลสารพัด
(ผู้จัดการรายวัน 28 มกราคม 2552)