PSLเริ่มทยอยรับเรือใหม่เข้ากอง หวั่นค่าระวางลดกระทบรายได้
"พรีเชียส ชิปปิ้ง "ทยอยรับเรือใหม่เพิ่มขยายกองเรือ หลังปีก่อนขายเรือเก่าไป 25 ลำ ปลายมีนาคมคว้าเรือมือสองเข้าเสริม 1 ลำ และครึ่งปีหลังรับเรือใหม่เสริมทัพอีก 2 ลำ อ่อยจำนวนเรือลดกระทบรายได้รวม เน้นทำสัญญาเช่าเรือระยะยาวกับลูกค้าเพิ่มลดเสี่ยง คาดค่าระวางเรืออยู่ที่ 12,500 เหรียญสหรัฐ/ลำ/วัน ส่อดึงรายได้ลดลงตาม ยันกระแสเงินสดในมือล้นแถมไร้หนี้ พร้อมจ่ายปันผลผู้ถือหุ้นต่อเนื่อง
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 23 กุมภาพันธ์ 2553)
ETGคาดปี53รายได้โตระดับ40%ศก.ฟื้นลูกค้าเพิ่ม-เปิดขนส่งข้ามประเทศ
อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ ฯคาดปี 53 โกยรายได้ 1.4 พันล้าบาท เหตุภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว ลูกค้าหันมาใช้บริการเพิ่มหลังซบเซามาตั้งแต่ปีก่อน อีกทั้งรายได้ใหม่จากการเปิดบริการขนส่งข้ามประเทศและขนส่งพลังงาน เล็งให้บริการขนส่งสินค้าวัตถุอันตรายปีหน้า
(ASTVผู้จัดการรายวัน 3 ธันวาคม 2552)
TTAสั่งต่อเรือใหม่มูลค่ากว่า3พันล้านหนุนงานใต้น้ำรองรับลูกค้าในอนาคต
TTA แจงเมอร์เมดสั่งต่อเรือสนับสนุนงานประดาน้ำใหม่ 1 ลำ มูลค่า 3,115 ล้านบาท ที่มีระบบสำรองฉุกเฉิน ทันสมัยและประสิทธิภาพมาตรฐานสูงรองรับความต้องการในอนาคต หวังขยายการตลาดงานให้บริการวิศวกรรมโยธาใต้น้ำและสามารถเคลื่อนย้ายได้ทั่วโลก โดยใช้เงินจากกำไรสะสมและเงินกู้ กำหนดการชำระเงิน 30% จ่ายในช่วงก่อสร้างเรือและที่เหลือ 70% จ่ายในวันรับมอบเรือคาดไตรมาส 4 ปีนี้
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 10 มิถุนายน 2552)
PSLโอดพิษศก.ฉุดผลงานอีก2ปี จุฑานาวีตั้งเป้ารายได้ไว้ที่800ล.
พรีเชียส ชิพปิ้ง เผยปี 52 อัตราค่าระวางเรือปรับลด 12-14 % อยู่ที่ 14,000 เหรียญฯต่อลำต่อวัน ผลจากพิษเศรษฐกิจและปัญหาการเงิน เชื่อกระทบการดำเนินงานไปอีก1-2ปี เร่งคุมต้นทุนยุคน้ำมันแพง ด้าน จุฑานาวี ตั้งเป้ารายได้ปีนี้ 800 ล้านบาท โตต่อเนื่องจากปี51 เชื่อความต้องการใช้เรือขนาดเล็กมีมากกว่าเรือใหญ่ และสินค้าที่ขนส่งเป็นอุปโภค บริโภคที่คนต้องกินและใช้ต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายวัน 4 มีนาคม 2552)
ทุ่ม 6.7 แสน ล.พัฒนาโลจิสติกส์ หวังลดต้นทุนการผลิต-ฟื้นฟูศก.
รัฐบาลไฟเขียวแผนลงทุนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ 5ปี วงเงิน 6.76 แสนล้านบาท ภายใต้กรอบแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะกลาง หวังลดต้นทุน-เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัว หลังจากโลจิสติกไทยถูกสิงคโปร์-มาเลย์ทิ้งห่าง “กอร์ปศักดิ์”สั่งก. อุต-คมนาคม ศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อส่งเสริมการผลิตในประเทศ
(ผู้จัดการรายวัน 26 กุมภาพันธ์ 2552)
เซ็นทรัลยกเครื่องซัพพลายเชน
เซ็นทรัลรีเทล เผยโค้งสุดท้าย ค้าปลีกแข่งขันรุนแรงกว่าปีก่อน หวังกระตุ้นกำลังซื้อ ล่าสุดยกเครื่องระบบโลจิสติกส์ สู่ E-Supply Chain หวังดึงซัพพลายเออร์เข้าร่วมครบ 3,000 ราย ใน 1-2ปี มั่นใจช่วยลดค่ากระดาษถึง 50% พร้อมลดขั้นตอนความผิดพลาดในการสั่งและขนส่งสินค้า
(ผู้จัดการรายวัน 2 ตุลาคม 2551)
วิเคราะห์ธุรกิจโลจิสติกส์ยานยนต์ในประเทศไทย
จากการที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ดังนั้นการรักษาระดับการเจริญเติบโต ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน ทำให้บริการโลจิสติกส์เพื่อธุรกิจยานยนต์มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น การลงทุนในกิจการนี้จึงมีการตื่นตัวเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา
(ผู้จัดการรายวัน 12 มีนาคม 2550)
UMSเล็งลงทุนงานโลจิสติกส์ คาดปีนี้ยังเติบโตไม่ต่ำกว่า 30%
UMS คาดปี 50 เติบโตระดับไม่ต่ำกว่า 30% จากปี 49 เผยแผนงานปีหน้ามีโครงการที่จะลงทุนอีก 3 โครงการ มูลค่าลงทุนโครงการละประมาณ 300 ล้านบาท โดยงานแรกเล็งลุยธุรกิจลอจิสติกส์เพื่อความต่อเนื่องและหนุนการทำธุรกิจ เผยรอเพียงจังหวะและโอกาสที่เอื้อต่อการลงทุน ส่วนเงินทุนพร้อม
(ผู้จัดการรายวัน 3 มกราคม 2550)
พนักงาน ทีโอที-ร.ส.พ. เดินหน้าร้องศาลปกครอง
สหภาพฯ ทีโอที เดินหน้าฟ้องศาลปกครอง กรณีรัฐบาลชุดก่อนหน้ามีมติให้ผู้รับสัมปทานโทรศัพท์นำภาษีสรรพสามิตที่ต้องชำระหักจากค่าส่วนแบ่งรายได้ ทำให้รัฐเสียหายกว่า 30,000 ล้านบาท ขณะที่พนักงาน ร.ส.พ. ร้องขอให้ยกเลิก พ.ร.ฎ.ยกเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
(ผู้จัดการรายวัน 29 ธันวาคม 2549)