บบส.ซื้อหนี้กรุงไทยแสนล.โชว์กำไร5ด.กว่า2.6พันล้าน
บบส.เตรียมซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากแบงก์กรุงไทย มูลค่าเกือบ 1 แสนล้านบาท ระบุกรอบเดิมสามารถเข้าซื้อได้ทันทีโดยไม่ต้องรอกฎหมาย ใหม่ คาดภายในปีนี้โอนทรัพย์สินเข้าบริหารได้ ประกาศ พร้อมรับซื้อหนี้จากสถาบันการเงินเอกชน และเข้าประมูลจากกรมบังคับคดีต่อเนื่อง โชว์ผลงาน 5 เดือนแรกปีนี้ ทำกำไรได้ 2.6 พันล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 15 กรกฎาคม 2547)
ธปท.ไฟเขียว"KK"เป็นแบงก์ดันเกณฑ์สำรองใช้ครึ่งปีหลัง
แบงก์ชาติไฟเขียวบง.เกียรตินาคิน (KK) เข้าทำเนียบแบงก์ หลังควบกิจการกับบง.รัตนทุนเข้ากรอบมาสเตอร์แพลน
ระบุสถาบันการเงินเริ่ม ทยอยส่งแผน เชื่อทุกแห่งสามารถระบุฐานะได้ในระยะเวลา 6
เดือนตามที่กำหนด พร้อมเล่นบทโหดกดดันแบงก์เร่งปรับโครงสร้างหนี้ ดันมาตรการกันสำรองเอ็นพีแอลประกาศใช้ครึ่งปีหลังแน่
(ผู้จัดการรายวัน 24 กุมภาพันธ์ 2547)
แบงก์ลั่นโละ"เอ็นพีแอล"ภายใน5ปี หวั่นมาตรการแบงก์ชาติคลอดยาก
แบงก์พาณิชย์ เผยสิ้นปี 2546 ยอดรวมเอ็นพีเอทั้งระบบเหลือ 1.5-1.6 แสนล้านบาท มั่นใจสามารถแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จ
ภายใน 5 ปี ขณะที่มาตรการดึง "เอ็นพีเอ" ออกจากระบบสถาบันการเงินของแบงก์ชาติเกิดยาก
เหตุไม่สามารถสรุปราคารับโอนที่เหมาะสมได้ ทำให้แบงก์พาณิชย์ต้องการบริหารเอง เพราะได้กำไรดีกว่าด้านบสก.
ขานรับนโยบายแบงก์ชาติรับซื้อเอ็นพีแอลจากแบงก์พาณิชย์ แนะขายยกพอร์ตแก้ปัญหาได้ทั้งระบบ
ขณะที่ราคาที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 70% ของมูลค่าสินทรัพย์
(ผู้จัดการรายวัน 9 กุมภาพันธ์ 2547)
โบรกฯคาดKBANKสิ้นปีกำไร1.56หมื่นล.
โบรกฯวิเคราะห์ KBANK สิ้นปี46 จะมีกำไรสุทธิประมาณ 15,659 ล้านบาท จากการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียม
ส่วนปี 47 คาดทำกำไรต่อได้อีกประมาณ 16,000 ล้านบาท เพราะสามารถประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายได้จากการไถ่ถอน
SLIPs ประมาณ 5,883 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 26 ธันวาคม 2546)
ยุบเงินทุนรวมแบงก์"ธนชาต"กลืนบง.แม่
แบงก์ธนชาตเตรียมกลืนบริษัทลูก บง.ธนชาติ เพื่อขยายสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น ขณะที่มาสเตอร์แพลนที่แบงก์ชาติกำลังเสนอคลัง
จะยุบรวม บง.เข้ากับธนาคารแม่ทั้งหมด เพื่อให้แบงก์ทำธุรกิจได้เพิ่มขึ้น แข็งแกร่งขึ้น
ขณะที่ดีลไทยธนาคารกลืนไอเอฟซีที ธปท.ยันเสร็จทันปีนี้แน่ ส่วนสินทรัพย์เน่า (เอ็นพีเอ)
แบงก์พาณิชย์ทั้งระบบ เตรียมโอนเข้า บบส. ซึ่งคาดกระบวนการจะเสร็จปีนี้แน่ เพื่อให้แบงก์เดินหน้าปล่อยกู้ได้
ดันเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายวัน 5 พฤศจิกายน 2546)
คลังปรับศก.6%บสท.ส่งหนี้KTB
แบงก์กรุงไทยรับบริหารลูกหนี้รายย่อยที่มีมูลหนี้ 2 แสน ถึง 2 ล้านบาทต่อราย
ต่อจาก บสท. 1.2 หมื่นราย มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท คาดดำเนินการเสร็จภายใน 6 เดือน
แลกกับค่าธรรมเนียมบริหาร 200 ล้านบาท ขณะที่ผู้ว่าฯแบงก์ชาติยันโยกหนี้เน่าระบบแบงก์พาณิชย์ไทยที่เหลือเกือบ
8 แสนล้านบาทเข้าเอเอ็มซีรัฐ ทำให้ภาพลักษณ์สถาบันการเงินดีขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 27 สิงหาคม 2546)
โอนหนีเน่า5ปีผลดี ธุรกิจ-อุตฯดันศก.
ที่ปรึกษาขุนคลังชี้หากโอนหนี้เน่า-สินทรัพย์เน่าของแบงก์พาณิชย์เอกชนที่เหลืออีกเกือบ
8 แสนล้านบาทให้ บสท.-บบส. บริหารต่อเนื่อง เชื่อภายใน 3-5 ปี หนี้เน่าเหล่านี้จะลดลงและไม่เกิดปัญหาย้อนกลับอีก
รวมทั้งจะส่งผลต่อให้สามารถดึงสภาพคล่องที่ล้นระบบตลาดเงินไทยขณะนี้
(ผู้จัดการรายวัน 25 สิงหาคม 2546)