ทีโอทีถกกทช.ลดค่าต๋งกระทบแผนเข้าตลาดฯ
ทีโอทีต่อรอง กทช. ลดค่าธรรมเนียมจากที่ต้องจ่าย 5 พันล้านบาท ให้เหลือ 500 ล้านบาทแทน พ้อหากไม่ยอมลดก็ไม่ต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้านเอไอเอส ดีแทค ประสานเสียงหลักการคิดค่าธรรมเนียม กทช.ทำให้ได้รายได้สูงเกินสมควร
(ผู้จัดการรายวัน 11 สิงหาคม 2548)
ไอซีทีนัด 2 บอร์ดถกภาระไม่แปรสัญญาสั่งทีโอทีห้ามตัดท่อต่อตรงเอกชนมือถือ
ไอซีทีเรียก 2 ประธานบอร์ด 2 ซีอีโอ ทีโอทีและกสท โทรคมนาคม ถอดรหัสการแบกภาระแทนเอกชน ตามนโยบายรัฐที่ไม่ให้มีการแปรสัญญา พร้อมสั่งทีโอทีต้องให้โอเปอเรเตอร์มือถือต่อเชื่อมตรงระหว่างกันต่อไป เชื่อเป็นทางแก้ปัญหาโทร.ไม่ติดที่ถูกต้อง ถึงแม้ทีโอทีจะขยายวงจรและให้ทุกรายต่อผ่านทีโอทีแล้วก็ตาม
(ผู้จัดการรายวัน 25 กรกฎาคม 2548)
TOT ปรับสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ เดินหน้า Re-Branding
หลังการจดทะเบียนเป็นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เมื่อ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) นับเป็นครั้งแรกที่ทีโอทีจัดงาน “TOT เปิดโสตสัมผัส สู่โลกแห่งการเรียนรู้” เพื่อสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอก โดยมี นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที และพนักงานระดับบริหารทั่วประเทศกว่า 500 คน พร้อมใจประกาศพันธะสัญญาเพื่อร่วมนำ ทีโอที สู่วิสัยทัศน์ ในการเป็นบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำ ด้วยนวัตกรรมใหม่ พร้อมการส่งมอบความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า ซึ่งงานนี้มีนางทิพวรรณ์ วุฑฒิสาร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านทรัพยากรบุคคล รับนโยบายผลักดันเต็มที่
(ผู้จัดการรายวัน 20 กรกฎาคม 2548)
ทีโอทีจัดสรรเลขหมายใหม่มือถือ 3 โอเปอเรเตอร์รับไปรายละ 1 ล้าน
ทีโอทีจัดสรรเลขหมายใหม่ให้เอไอเอส ดีแทค และทีเอ ออเร้นจ์ รายละ 1 ล้านเลขหมาย หลังพบว่ามีการใช้งานจนถึงเกณฑ์ 70% ที่กำหนดไว้ คาดสามารถใช้ทำตลาดได้จนถึงสิ้นปี หลังจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของกทช.ในการจัดสรรเลขหมายใหม่ตามแผนเลขหมายของประเทศทั้งระบบ
(ผู้จัดการรายวัน 18 กรกฎาคม 2548)
ทีโอทีเร่งขยายวงจรเชื่อมต่อมือถือแก้โทร.ไม่ติดยันเสร็จสิ้นเดือนส.ค.
ทีโอทีเร่งขยายวงจรเชื่อมต่อโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือ คาดสิ้นเดือน ส.ค. ปัญหาการโทร.ข้ามเครือข่ายไม่ติดจะดีขึ้น และจะยิ่งดีขึ้นมากหากมีการใช้ค่าเชื่อมโครงข่ายตามแผน ทีโอทีเสนอ กทช.ที่กำหนดจุดเชื่อมต่อระยะแรก 13 จุด ก็ขยายเพิ่มต่อไปในอนาคต
(ผู้จัดการรายวัน 15 กรกฎาคม 2548)
วิบากกรรมบัดดี้บรอดแบนด์ "ทีโอที" จูงมือเอไอเอสลงเหว
เอไอเอสเข็ดเขี้ยวทีโอที หลังบริการบัดดี้บรอดแบนด์ที่เป็นความร่วมมือระหว่างเอไอเอสกับเอดีซี บริษัทร่วมทุนกับทีโอที ล้มเหลวไม่เป็นท่า จากปัญหาด้านบิสิเนสโมเดลและด้านเทคนิค รวมทั้งความไม่เป็นเอกภาพของผู้บริหารระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ การต่อต้านจากสหภาพฯ ที่มองไม่ทะลุเรื่องธุรกิจ ส่งผลเตรียมพับแผนความร่วมมือในการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G
(ผู้จัดการรายวัน 13 กรกฎาคม 2548)
ทีโอทียึดไทยโมบายได้ 3G สมใจ
ทีโอทีจ่ายเงิน 4 พันล้านบาท แลกหุ้นและความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ ไทยโมบาย ที่สามารถให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G กับกสท หลังยืดเยื้อมานาน เชื่อส่งผลดีการเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะทำให้ภาพรวมแผนธุรกิจทีโอทีด้านมือถือมีความชัดเจนขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 7 กรกฎาคม 2548)
ผ่าทางตันสัญญาร่วมการงานแสงสว่างปลายอุโมงค์เปิดเสรี
บทสรุปจากการประชาพิจารณ์แผนแม่บทโทรคมนาคม สะท้อนภาพการแปรสัญญาร่วมการงานยากที่จะเกิด ในขณะที่หากจะให้อุตสาหกรรมเดินหน้า มี 3 แนวทาง ที่ผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมวิเคราะห์ไว้อย่างการเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับด้านเดียวเป็นผู้ให้ของทีโอที การโอนย้ายลูกค้าไปสู่บริษัทที่ได้ใบอนุญาตใหม่ตามกลไกของตลาดและการพัฒนาของเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำที่ลดลงของส่วนแบ่งรายได้ และแนวทางแก้ปัญหา Access Charge
(ผู้จัดการรายวัน 13 มิถุนายน 2548)
มือถือโทร.ไม่ติดอีกนานโทษเอไอเอสเพิ่มวงจรช้า
ลูกค้ามือถือก้มหน้ารับกรรมโทร.ไม่ติดต่อไปอย่างน้อยถึงเดือน ก.ค.จาก 2 ปัจจัยหลัก โปรโมชันกระตุ้นให้การโทร.แต่ละครั้งนานขึ้น และการขยายวงจรเชื่อมต่อที่โทษกันไปโทษกันมา ดีแทคมองว่าทีโอทีขยายไม่ทัน ทีโอทีโทษเอไอเอสขยายแค่ 100 วงจรจากที่ตกลงกันไว้ต้องเสร็จ 930 วงจรเดือนหน้า เอไอเอสอ้างต้องใช้เวลาเพราะไม่ได้เตรียมแผนรองรับ
(ผู้จัดการรายวัน 13 มิถุนายน 2548)
"ดีแทค-ทรู"ถล่มกทช.
ดีแทค-ทรู ประสานเสียงถล่มกทช. เรื่องการออกใบอนุญาตต้องเท่าเทียมและเป็นธรรม ไม่ควรรีบร้อนและต้องปลดแอกเอกชนจากสัญญาร่วมการงาน ซึ่งกทช.สามารถทำได้ด้วยการกำหนดในเงื่อนไขใบอนุญาต เตรียมแผน B ตั้งบริษัทขอใบอนุญาตใหม่ โอนลูกค้าเดิมเช่าโครงข่าย ด้านประธานกทช.ย้ำใบอนุญาตจะไม่ทำให้ทีโอทีและกสท ผูกขาดในลักษณะเอกชนคุมเอกชน
(ผู้จัดการรายวัน 9 มิถุนายน 2548)