ส่งออกธ.ค.ติดลบ14.6%
“พาณิชย์”หน้ามืดส่งออกธ.ค.ติดลบอีก 14.6% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 สินค้าสำคัญลดลงระเนระนาด ทั้งเกษตรและอุตสาหกรรม ตลาดหลัก ตลาดใหม่ ก็ติดลบกระฉูด ส่งผลยอดรวมทั้งปีโต 15.6% จากที่ประเมินไว้ว่าจะโต 18% “ศิริพล”ระบุเพราะศุลกากรปรับตัวเลขใหม่ เลยทำให้ตัวเลขเพี้ยน ส่วนครึ่งแรกปีนี้ ส่งออกคงวูบยาว แต่จะดีขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง เผยหากได้งบช่วย ยังหวังโตเป็นบวก
(ผู้จัดการรายวัน 22 มกราคม 2552)
“พาณิชย์”เฮงน้ำมันลงกดเงินเฟ้อปีหนู5.5% ปีวัวคาดโตแค่0-1.2%แต่ไม่ถึงขั้นเงินฝืด
“พาณิชย์”โชคช่วยเงินเฟ้อปีหนูเพิ่มแค่ 5.5% หลังเคยมีการประเมินทั้งปีอาจสูงเป็นตัวเลขสองหลัก จากพิษน้ำมัน แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตรเมื่อทั่วโลกเจอวิกฤตเศรษฐกิจ น้ำมันดิ่งลง “ศิริพล”ชี้น้ำมันที่ลดลงช่วยได้มาก แถมยังคุมราคาสินค้าได้ดี ทำให้เงินเฟ้อโตตามเป้า ส่วนปีวัวคาดโตต่ำ 0-1.2% เหตุแรงกดดันเงินเฟ้อไม่มี หากน้ำมันต่ำต่อเนื่อง เงินเฟ้ออาจติดลบ 0.5% ก็ได้ แต่ไม่ถึงขั้นเงินฝืด
(ผู้จัดการรายวัน 6 มกราคม 2552)
พาณิชย์กลับลำลดเป้าส่งออกปี52เหลือแค่10%
“พาณิชย์”กลับลำหดเป้าส่งออกปีหน้าเหลือโตแค่ 10% หลังก่อนหน้านี้ตั้งตัวเลขโอเว่อร์สูงถึง 15% ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจโลกส่อแวววิกฤตลุกลามไปทั่วโลกจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ เตรียมจับเข่าคุยเอกชนอีกครั้งปลายปีนี้กำหนดตัวเลขให้ชัด พร้อมทำแผนรักษาส่งออกตลาดหลัก และเพิ่มยอดส่งออกไปตลาดใหม่ ขณะที่เอกชนยังหวั่นหากวิกฤตการเมืองไม่จบ 6 มาตรการที่ออกมาก็ไม่มีผล เพราะความเชื่อมั่นไม่เกิด
(ผู้จัดการรายวัน 15 ตุลาคม 2551)
พาณิชย์โชว์เป้าส่งออกปีหน้า 15 %
“พาณิชย์”ไม่สนวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลามทั่วโลก ฟุ้งตั้งเป้าส่งออกปี 2552 โต 15% แถมมีเป้าพิเศษ 17-19% “ไชยา”ระบุมีแผนรับมือไว้แล้ว เตรียมอัดกิจกรรมทุ่มลงตลาดใหม่ดันยอดส่งออกเต็มที่ ขณะที่ตลาดหลักจะพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดไม่ให้ลด พร้อมรุกเปิดตัวธุรกิจบริการร้านอาหาร สปา บันเทิง โรงพยาบาล แฟรนไชส์ดึงเงินอีกทาง “ราเชนทร์”รับตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวลดลงแน่ แต่ตลาดอื่นยืนยันเป้าเดิม
(ผู้จัดการรายวัน 3 ตุลาคม 2551)
เงินเฟ้อส.ค.ฮวบเหลือแค่6.4%
เงินเฟ้อ ส.ค. 6.4% ลดจากเดือนก่อนที่ทำสถิติสูงสุดถึง 9.2% อ้างอานิสงส์ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ที่ช่วยลดค่าน้ำมัน ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟ “พาณิชย์”ได้ทีคุยคุมเงินเฟ้ออยู่หมัด ยันยังไม่ปรับเป้าเงินเฟ้อทั้งปีจาก 5-5.5% แม้ 8 เดือนทะลุ 6.7% ไปแล้ว ด้านแบงก์ชาติยอมรับเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงกว่าที่คาด กนง.ห่วงเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันผันผวน แนะจับตาใกล้ชิด
(ผู้จัดการรายวัน 2 กันยายน 2551)
ส่งออก-นำเข้าแข่งทำสถิติ ก.ค.ขาดดุลพันล้านเหรียญ
ส่งออก ก.ค.ยอดเฉียด 1.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โต 43.9% ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง ในรอบ 3 เดือน ส่วนการนำเข้า 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทำสถิติสูงสุดเช่นกัน ขาดดุลการค้าพันล้านเหรียญสหรัฐ “ศิริพล”เผยเหตุนำเข้าเชื้อเพลิงเพิ่ม แถมมีการนำเข้าแท่งขุดเจาะ และก๊าซแอลพีจี ส่วนสินค้าเกษตรทั้งข้าว ยาง อาหาร ผัก ผลไม้ ไก่แช่แข็ง เป็นพระเอกดันยอดส่งออกเพิ่ม
(ผู้จัดการรายวัน 22 สิงหาคม 2551)
เงินเฟ้อพ.ค.พุ่ง7.6%สูงสุดรอบ 10ปี กกร.จี้สมัครร่วมถกแก้ปัญหาปากท้อง
ตายแล้วคนไทย! เงินเฟ้อพ.ค.พุ่ง 7.6% สูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี “พาณิชย์” ให้เหตุผลง่ายๆ น้ำมันตัวการหลัก ทำให้ต้นทุนสินค้าต่างๆ พุ่งสูงขึ้นจนราคาพุ่งตาม “ศิริพล”ยันคงเป้าทั้งปีไว้ที่ 5-5.5% แม้ยอดรวม 5 เดือนขยับ 5.8% ไปแล้ว ขอดูสถานการณ์น้ำมันต่ออีก 2-3 เดือนค่อยว่ากันใหม่ สั่งเจ้าหน้าที่เร่งดูแลสินค้าทั้งระบบ หวังช่วยลดเงินเฟ้อ
(ผู้จัดการรายวัน 3 มิถุนายน 2551)
ช็อก!เงินเฟ้อ เม.ย.พุ่ง 6.2% น้ำมันตัวฉุดสูงสุด 23 เดือน
วิกฤตเงินเฟ้อมาเยือน เผย เม.ย. 6.2% พุ่งสูงสุดในรอบ 23 เดือน “พาณิชย์” บอกน้ำมันต้นเหตุหลัก ทำรายจ่ายคนไทยเพิ่ม แถมกระทบชิ่งทำต้นทุนสินค้ารายการอื่นๆ เพิ่มตาม “ศิริพล”เผยแนวโน้มเดือนหน้าขึ้นหรือลด ก็ว่าไปตามจริง เหตุมีปัจจัยกดดันเพียบ ทั้งน้ำมัน น้ำตาล และค่าแรงจ่อปรับ พร้อมเปลี่ยนเป้าเงินเฟ้อทั้งปีใหม่เป็น 5-5.5%
(ผู้จัดการรายวัน 2 พฤษภาคม 2551)
ข้าวถุงราคาพุ่ง-ขาดตลาด
ทุกข์ซ้ำเติมครัวเรือนไทย ข้าวหอมมะลิถุง 5 กก.ราคาพุ่งเป็น 210 บาท แถมห้างยังจำกัดการซื้อ ขนาดข้าวถุงพาณิชย์ยี่ห้อ อคส. ยังจ่อขึ้นตาม ผู้ผลิตตีแสกหน้า “มิ่งขวัญ” อย่าโชว์แต่ข่าวดีต่อหน้าสื่อ เผยห้างยังไม่ลดค่ากำไรหลังร้าน ทำให้ปรับลดราคาข้าวถุงไม่ได้จนกระทั่งวันนี้ บางยี่ห้อจ่อทะลุถุงละ 200 บาท ส่วนห้างค้าปลีกยันข้าวถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง ด้านประธานหอฯ มหาสารคามจวกรัฐบาลห่วงแต่แก้รัฐธรรมนูญ
(ผู้จัดการรายวัน 22 เมษายน 2551)