ส.อ.ท.เผยยอดส่งออกรถยนต์ ก.ย.โต 65% คาดยอดผลิตปีนี้แตะ 1.6 ล้านคัน
ส.อ.ท.เผยยอดส่งออกรถยนต์เดือน ก.ย.ขยายตัว 64.73% อยู่ที่ 81,296 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 36,975 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน พร้อมคาดยอดผลิตรถยนต์ปีนี้แตะ 1.6 ล้านคัน ทำลายสถิติสูงสุดแม้บาทแข็ง ห่วงพิษน้ำท่วมทำยอดขายในประเทศร่วง
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 22 ตุลาคม 2553)
ตอกฝาโลง64กิจการมาบตาพุด
มัดตราสังข์ 64 กิจการมาบตาพุด หลังศาลฯ ไม่รับคำขอผ่อนผัน 30 กิจการ ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ต่อไป เอกชนห่วงผลกระทบตามมาอีกเพียบ ทั้งผู้รับเหมา แรงงาน ปัญหาการเงิน เรียกร้องรัฐเยียวยา พร้อมแจงนักลงทุนด่วน หวั่นสับสนกระทบเชื่อมั่น อุตฯ เตรียมหารือนายกฯ-กอร์ปศักดิ์วันนี้
(ASTVผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2553)
อุตฯรถยนต์ลดเป้าผลิตปี’52เหลือ9.4แสนคัน
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ส.อ.ท. ปรับลดเป้าการผลิตปี 2552 ลงอีก 1.4 แสนคันคงเหลือการผลิตเพียง 9.4 แสนคันลดลงจากปี 2551 กว่า 4.5 แสนคันหรือคิดเป็น 32.57% ย้อนไปเริ่มต้นการผลิตใกล้เคียงกับปี 2547 หลังยอดขายในประเทศและส่งออกภาพรวมปีนี้ยังไม่กระเตื้อง ขณะที่ดัชนีฯเชื่อมั่นพ.ค.ขยับเล็กน้อยแต่ยังผวาน้ำมัน ค่าบาทและการเมือง
(ASTVผู้จัดการรายวัน 24 มิถุนายน 2552)
เอกชนมึน Q2 เจอ 2 ศึกส่งออกวูบ-การเมืองซ้ำ
ภาคเอกชนเผยทิศทางส่งออกไตรมาส 2 ยังคงส่งสัญญาณติดลบใกล้เคียงกับไตรมาสแรก เหตุเศรษฐกิจโลกยังค่อยๆ ฟื้นตัวอาจเห็นผลในช่วงไตรมาส 3- 4 มากกว่า แต่ไตรมาส 2 ภาคการผลิตอาจต้องกระทบมากกว่าเหตุทั้งจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกและวิกฤติการเมืองไทยหากรุนแรงและยืดเยื้อจ่อซ้ำเติมเพิ่มเข้าไปอีกชี้หลายอุตสาหกรรมยังต้องพึ่งพิงตลาดในประเทศอยู่
(ผู้จัดการรายวัน 7 เมษายน 2552)
สภาอุตฯ บี้แบงก์ชาติแก้บาทแข็ง ผ่อนถือดอลลาร์-เลิกสำรอง 30%
เอกชนถกรับมือพิษบาทแข็งร่วมพาณิชย์วันนี้ หวังรักษาระดับการส่งออก พร้อมช่วยหาตลาดใหม่รองรับ และประสานธปท.ให้ผ่อนปรนการถือครองดอลลาร์ให้ยาวเป็น 1-2 เดือนจาก 14 วันและทบทวนกันสำรอง 30% เผยบาทแข็งจาก40 บาท/เหรียญมาอยู่ที่ 33 บาท/เหรียญมูลค่าส่งออกหายไปเกือบ1ล้านล้านบาท พาณิชย์กางตำราสอนผู้ส่งออกสู้วิกฤตบาทแข็ง แนะประกันความเสี่ยงค่าเงิน ปรับคุณภาพการผลิต มุ่งเจาะตลาดใหม่ วางแผนใช้ประโยชน์ JTEPA และมุ่งลงทุนขายในต่างประเทศแทนขาย FOB อย่างเพียว “ราเชนทร์”เตรียมเสนอครม. กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมชงตั้งกองทุน ใช้มาตรการภาษีช่วยดันเต็มที่ ยันปีนี้ เป้าส่งออก 12.5% ทำได้แน่ แม้บาทแข็ง ด้านประกันสังคมประกาศมีเงินแสนล้านบาทดูแลลูกจ้างหากตกงาน
(ผู้จัดการรายวัน 16 กรกฎาคม 2550)
วาง5ยุทธศาสตร์พัฒนาอุตฯดันมูลค่ากว่า3.3 ล้านล้านปี52
ก.อุตสาหกรรมจับมือ ส.อ.ท.วางกรอบการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด ชู 5 เรื่อง เร่งพัฒนาทั้งลอจิสติกส์ คลัสเตอร์ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาตรฐาน และ FTA หวังก้าวสู่ยุทธศาสตร์สูงสุดมุ่งปั้นมูลค่าอุตสาหกรรมโตมากกว่า 3.3 ล้านล้านบาทในปี 2552 "สุริยะ" ยันไม่เปลี่ยนแปลงภาษีทองแดง พร้อมปรับสถาบันอิสระพนักงานหนาวมีสิทธิ์ถูกยุบ
(ผู้จัดการรายวัน 6 ตุลาคม 2548)
ส.อ.ท.ระบุเดือนที่ผ่านมาดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเริ่มดีขึ้น
ส.อ.ท.ระบุดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนผ่านมาฟื้นตัวขึ้น หลังจากผู้ประกอบการเริ่มตั้งรับวิกฤติราคาน้ำมันได้ดี โดยดัชนีปรับเพิ่มขึ้นจาก 78.8 ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ 81.2 ในเดือนกรกฎาคม พร้อมแนะภาครัฐวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการส่งออกอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมรายได้ให้กับประเทศมากขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน 25 สิงหาคม 2548)
ส่งซิกคุมราคาน้ำมันส่ออันตรายผวาสกัดฮับไทย-ผุดโรงกลั่นใหม่
กลุ่มอุตสาหกรรมการกลั่นส.อ.ท.มึนหลังถูกสอบถามจากนักลงทุนต่างชาติหนักกรณีข้อเสนอ "โสภณ" ให้ควบคุมราคาน้ำมัน ขายปลีกในไทย หวั่นฉุดเชื่อมั่นกระทบแผนฮับน้ำมันและการตัดสินใจลงทุนโรงกลั่นใหม่ในไทยซึ่งกำลังตึงตัวและ 2 ปีข้างหน้าหากไม่มีโรงกลั่นใหม่จะทำให้ไทยต้องขาดดุลจากการนำเข้าน้ำมันสูงขึ้น "สนพ" ยืนกรานจะรับข้อเสนอโสภณต่อเมื่อน้ำมันเกิดขาดแคลนเหมือน 25 ปีก่อนย้ำกลไกสิงคโปร์ที่ทำให้คนไทยใช้น้ำมันในราคายุติธรรม
(ผู้จัดการรายวัน 29 กรกฎาคม 2548)
5อุตฯ สกัดเมติรุกFTA เสนอเจรจาเกษตรใหม่
สภาหอฯจับมือ ส.อ.ท.ประกาศจุดยืนต่อการเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น เปิดแนวรุกสกัดแผนญี่ปุ่น หวั่น "รัฐมนตรีเมติ" เข้าพบ "ทักษิณ" วันนี้ จะล็อบบี้ไทยหนักแล้วเสียทีเชิงเจรจา ย้ำรัฐควรฟังข้อมูลเอกชนก่อนจะเสียเปรียบ เผยรับไม่ได้สินค้าเกษตรญี่ปุ่นเปิดให้เล็กน้อยแต่จะแลกชิ้นปลามันอุตสาหกรรม
(ผู้จัดการรายวัน 6 พฤษภาคม 2548)
ทักษิณชูเอฟทีเอนำไทย
"ทักษิณ" ประกาศใช้เอฟทีเอเป็นกลยุทธ์เปิดเกมรุก เศรษฐกิจไทย เปิดตลาดให้ภาคเอกชน
ระบุ WTO อุ้ยอ้าย เชื่องช้าไม่ ทันใจ ชี้ต้องคำนึงถึงผลทางการเมืองของคู่เจรจา
อย่าขอลูกเดียว ต้องพร้อมจะให้ด้วย ยอมรับมีผลกระทบเอกชนแน่ เตือนให้เตรียมตัวรับมือ
รมว.พาณิชย์ ไม่ห่วงจีนตีตลาดผลไม้ช่วงนี้ ระบุเป็นเรื่องฤดูกาล หน้าร้อน เมื่อไร
ทุเรียน ลำไย มังคุด ส้มโอ มะม่วง ถล่มตลาดจีนเอาคืนได้แน่ แต่ภาคเอกชนร้องจีนงัดขั้นตอนการนำเข้ามากีดกัน
(ผู้จัดการรายวัน 19 กุมภาพันธ์ 2547)