คลังจับแบงก์เอสเอ็มอีควบบสย.
ลบฝังดินเรื่องฉาวโฉ่แบงก์เอสเอ็มอี คลังจับควบ บสย. "ประดิษฐ" ชี้ไม่ต้องเพิ่มทุนซ้ำซาก นำเข้า ครม.วันนี้ มั่นใจหลังควบรวมแข็งแกร่งทำหน้าที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ประเดิมสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ 3 หมื่นล้าน คลอดแพคเกจสู้ศึกวิกฤตการเงินโลก ทั้งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงินหมื่นล้าน กองทุนร่วมทุนและค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการกรณีกู้แบงก์อื่น
(ผู้จัดการรายวัน 28 ตุลาคม 2551)
FRCDพลิกกำไร แบงก์SMEวุ่น เล็งฟ้องบอร์ด
วุ่นไม่เลิกเอสเอ็มอีแบงก์หลังบอร์ดส่งฟ้องเจ้าหน้าที่ต่อ ป.ป.ช.ฐานทำให้เกิดความเสียหายจากตราสารFRCD แต่ดอกเบี้ยไลบอร์ขึ้นสวนทางทำให้พลิกกลับมามีกำไร ผู้บริหารแบงก์กุมขมับหาทางออกกับเงินที่ได้รับเหตุบอร์ดประกาศให้สัญญาเป็นโมฆะและ SCBT อยู่ระหว่างฟ้องแพ่ง ขณะที่อดีตเอ็มดี “พงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์” และผู้บริหาร 4 รายเตรียมฟ้องกลับบอร์ด ระบุตอนแบงก์ได้ประโยชน์กลับนิ่งเฉยแต่พอเสียหายรีบหาแพะมาสังเวย
(ผู้จัดการรายวัน 13 ตุลาคม 2551)
เชือด4บิ๊กSMEทำแบงก์เจ๊ง ออกFRCDผิดวินัยร้ายแรง!
บอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์รับทราบผลคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสรุปผลสอบสวนพบเจ้าหน้าที่ 4 ราย “อาทิตย์-อวิลาส-จิรพร-จงเจตน์” ทำแบงก์เสียหาย 3 พันล้าน "ผิดวินัยร้ายแรง" เจอทั้งวินัยและอาญา ชี้มีความผิดตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการคัดเลือก SCBT ไม่เป็นไปตามข้อบังคับและมติบอร์ด รวมทั้งการทำ IRS ส่อไปในทางทุจริตและเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลเพียงรายเดียว
(ผู้จัดการรายวัน 2 กรกฎาคม 2551)
SME-สแตนชาร์ตส่อฮั้วFRCD กก.เชือดผู้บริหารทั้ง2ธนาคาร
“สมชัย สัจจพงษ์” ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงธุรกรรม FRCD 490 ล้านเหรียญ เผยผลประชุมเบื้องต้นผู้บริหารส่อโดนเชือดทั้งจากเอสเอ็มอีแบงก์และสแตนชาร์ตหลังพบแนวโน้มฮั้ว กังขาผู้ช่วยเอ็มดี “จิรพร สุเมธีประสิทธิ์” เสนอเรื่องให้บอร์ดอนุมัติแต่ปกปิดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหากเกิดวิกฤตในสหรัฐฯ
(ผู้จัดการรายวัน 3 มิถุนายน 2551)
เอสเอ็มอีแบงก์เปิดแผนงานปี'51 วางเป้าปล่อยสินเชื่อ2.7หมื่นลบ.
เอสเอ็มอีแบงก์เปิดแผนงานปี 2551 วางเป้าหมายปล่อยสินเชื่อ 2.7 หมื่นล้านบาทเพิ่มจากปีนี้ที่คาดจะปล่อยได้ทั้งปี 2.5 หมื่นล้านบาท ยอมรับปีนี้พลาดเป้าหมื่นล้านบาทเหตุเศรษฐกิจชะลอตัวสูง ขณะที่ปีหน้าเอสเอ็มอียังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านโดยเฉพาะน้ำมัน เล็งแผนระดมเงินจากหลายที่หวังปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
(ผู้จัดการรายวัน 25 ธันวาคม 2550)
SMEอาการหนักขาดสภาพคล่อง ธพว.อัดเงินสกัดหนี้เสีย
นายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารมีสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่ผ่านมากว่า 40 % ของสินเชื่อรวมทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทางธนาคารสามารถ ดำเนินการลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลของเอสเอ็มอีแบงก์ ไปได้จำนวน 3,000-4,000 ล้านบาท โดยการปรับลดหนี้เอ็นพีแอลในครั้งนี้ สืบ เนื่องมาจากการปรับนโยบายและบทบาทของแบงก์ที่มีการเข้าหาลูกค้ามากขึ้น และคอยให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการ ในกรณีที่ลูกค้าไม่สามารถนำเงินมาชำระให้ทางแบงก์ได้
(ผู้จัดการรายวัน 27 กันยายน 2550)
ตะลึงหนี้เน่าSMEแบงก์ปูด2หมื่นล."สมหมาย"ฉุนสั่งโละตัวการทุจริต
"สมหมาย" เข้ามอบนโยบายเอสเอ็มอีแบงก์ ตะลึงพบหนี้เสียเกินเยียวยาปูดอีกว่า 2 หมื่นล้านบาทและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกกว่าเดือนละ 4 ร้อยล้านบาท ครวญหมดหวังให้เอ็นพีแอลลดลงเหลือ 25% ได้ภายในปีนี้ สั่งการเขี่ยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่ไว้ใจไม่ได้พ้นหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ยืนยังรัฐบาลไม่ยุบแบงก์ทิ้งแน่นอนเพราะเป็นแขนขาในการขยายตัวของเศรษฐกิจแต่ต้องหาคนที่ทำผิดเข้ามารับผิดชอบ
(ผู้จัดการรายวัน 3 กรกฎาคม 2550)
บอร์ดไฟเขียวแผนเอสเอ็มอีแบงก์อ้อนคลังยืดใช้เกณฑ์ IAS39 อีก 1 ปี
บอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์ผ่านฉลุยแผนธุรกิจปี 50 เดินหน้ารีดไขมันปรับโครงสร้างองค์กรลดความซ้ำซ้อน หวังเร่งเสริมความคล่องตัวในการปล่อยกู้ ยอมรับเกณฑ์ IAS39 เป็นสิ่งที่ดี แต่อ้อนคลังขอผ่อนผันยืดระยะเวลาการใช้เกณฑ์ออกไปอีก 1 ปี เพื่อเตรียมความพร้อม
(ผู้จัดการรายวัน 5 กุมภาพันธ์ 2550)
ธสน.-เอสเอ็มอีแบงก์หนุนส่งออก ตั้งเป้าขยายสินเชื่ออีกกว่าพันล้าน
ธสน. จับมือเอสเอ็มอีแบงก์ กระตุ้นภาคส่งออก มั่นใจการส่งออกปีหน้าโตเต็มที่ ตั้งเป้าขยายสินเชื่อผลักดันภาคการส่งออกกว่า 1,000 ล้านบาท แม้มีปัจจัยราคาน้ำมันแพงเป็นอุปสรรค เอสเอ็มอีตั้งเป้าเพิ่มผู้ประกอบการใหม่ 5 พันราย เล็งหาช่องดึงลูกค้าดีหลังถูกแบงก์พาณิชย์ ขนาดใหญ่ฉกไปกว่า 10 ราย มูลหนี้ 4-5 ร้อยล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 18 ตุลาคม 2548)