ตลาดกระเบื้องครึ่งปีแรกยอดขายวูบUMI-RCIจัดกิจกรรมดีลเลอร์ฟื้นตัวเลขปลายปี
" ยูเอ็มไอ -อาร์ซีไอ" ยักษ์ใหญ่ธุรกิจกระเบื้อง ปลงตลาดครึ่งปีแรกหดตัว จากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย ส่งผลตลาดอสังหาฯ-ก่อสร้าง-กระเบื้องชะลอตัวตาม หวังครึ่งปีหลังตลาดมีปัจจัยบวกเข้ามาเสริม ด้านRCI ปรับกลยุทธ์ รักษาอัตราเติบโต จับมือดีลเลอร์ทั่วประเทศ เปิด "อาร์ซีไอ โซลูชัน" เจาะกลุ่มลูกค้าโดยตรง 50 ร้านค้าทั่วประเทศก่อนสิ้นปี แจงหลังเปิดดิสเพล ยอดขายดีลเลอร์โตกว่า 200%
(ผู้จัดการรายวัน 17 กรกฎาคม 2549)
กระเบื้องจีนบุกตลาดกลาง-บน ผู้ผลิตปั้นแบรนด์ส่งออกหนีการแข่งราคา
การแข่งขันในตลาดกระเบื้องเซรามิกส่อเค้ารุนแรงมากขึ้น หลังจากผู้ประกอบการผลิตและนำเข้า กระเบื้องรายใหญ่ รายกลางในประเทศเริ่มเพิ่มจำนวนการนำเข้าสินค้ากระเบื้องเซรามิกจากประเทศจีน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคากระเบื้องจากประเทศจีนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศไทยค่อนข้างมาก โดยคาดว่าต้นทุนการผลิต ของประเทศจีนต่ำกว่าการผลิตในไทยประมาณ 50% เนื่องจากได้เปรียบด้านค่าแรง และต้นทุน เครื่องจักรที่ต่ำกว่า เพราะเครื่องจักรบางตัวในประเทศจีนสามารถผลิตได้เอง
(ผู้จัดการรายวัน 10 พฤศจิกายน 2548)
ยูเอ็มไอเร่งเครื่องบุกสินค้าพรีเมียมเพิ่มกำลัง30%-ปรับราคาขายใหม่
"สหโมเสคฯ" เตรียมปรับราคาสินค้าพรีเมียมอีก 2-3% หลังปรับไปช่วงปีที่ผ่านมา 10% ยอมรับต้องเจอต้นทุนวัตถุดิบ-แก๊ส-ค่าไฟฟ้าขึ้น ด้านรายได้จากการขายคาดทั้งปีทำได้ 2,400 ล้านบาท พร้อมทุ่มงบอีก 1,000 ล้านบาท ติดตั้งเตาเผาใหม่ คาดกลางปี 48 กำลังการผลิต รวมเพิ่มเป็น 2.2 ล้านตร.ม.ต่อเดือน
(ผู้จัดการรายวัน 12 ตุลาคม 2547)
กลุ่มวัสดุก่อสร้างกำไรทะยานโตต่อยอดตลาดสร้างใหม่-ซ่อมแซม
กลุ่มวัสดุก่อสร้างเติบโตสูง รับผลตรงจากปริมาณบ้านสร้างใหม่ของกลุ่มจัดสรร บ้านสั่งสร้างของตลาดรับสร้างบ้าน
และความต้องการซ่อม แซมบ้านของตลาดบ้านมือสอง ควบคู่กับการพัฒนากลยุทธ์บริหาร สินค้า
และการตลาด ชี้ กลุ่มซิเมนต์ไทย ยังนำโด่งเป็นที่ 1 ตามด้วยปูนซีเมนต์นครหลวง ขณะที่
กลุ่มกระเบื้องและเซรามิก ปรับตัวและแข่งขันกันเสนอจุดขาย ด้านดีไซน์เป็นหลักในตลาดพรีเมียม
เพื่อเข้าถึงไลฟ์สไตล์คนกำลังซื้อสูง
(ผู้จัดการรายวัน 8 มีนาคม 2547)
บสท.มั่นใจปรับหนี้เสร็จก.พ.นี้ก่อนเร่งขายทอดตลาด"เอ็นพีเอ"
บสท. ดีเดย์สิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ สิ้นสุดภารกิจการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งหมดที่รับโอนมากกว่า
7.8 แสนล้านบาท ก่อนจะเดินหน้าขายทอดตลาด ทรัพย์สินเอ็นพีเอ และพัฒนาคุณภาพทรัพย์สินเพื่อ
สร้างมูลค่าเพิ่ม คาดปีนี้รายได้บริหารหนี้เพิ่มกว่า 2 หมื่นล้านบาท พร้อมตีโอนเอ็นพีเอรายย่อยรวม
1 แสนล้านบาท ขณะที่ 2 ปีที่ผ่านมาผลงานดีเยี่ยม สามารถไถ่ถอนตั๋วสัญญาก่อนกำหนด
5 พันล้านบาท และมีเงินสดเหลือกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 12 กุมภาพันธ์ 2547)
ปรับโครงสร้างหนี้ UMI ฉลุย บสท.ยืดการชำระนาน10ปี
ปรับโครงสร้างหนี้สหโมเสคอุตสาหกรรมฉลุย ยืดหนี้มีประกัน 700 ล้านบาทออกไป 10
ปี และชำระหนี้ไม่มีประกันเป็นเงินสด 200 ล้านบาท และออกหุ้นกู้แปลงสภาพ 160 ล้านบาท
ชดเชยเงินต้นและดอกเบี้ยที่ไม่สามารถชำระคืนได้
(ผู้จัดการรายวัน 6 มิถุนายน 2546)