ยูบีซีหอบ“อะคาเดมี่3”หนีไอทีวีซบโมเดิร์นไนน์หวังขยายฐานภูธร
ยูบีซีผนึกพันธมิตรใหม่โมเดิร์นไนน์ทีวีนำร่องร่วมถ่ายทอดรายการ “ยูบีซี อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ปี 3” หวังกระตุ้นคนดูเพิ่มโดยเฉพาะต่างจังหวัดและลดความตรึงเครียดทางการเมืองลง เผยโครงการนี้ใช้งบลงทุนกว่า 100 ล้านบาทเปลี่ยนบ้านนักล่าฝันและช่องทางออกอากาศใหม่ รวมถึงสปอนเซอร์หลักที่คาดว่าจะสรุปผลเดือนหน้า แย้มไฮไลท์เด่นปีนี้นักล่าฝันมี 13 คนเพราะมีฝาแฝด 1 คู่ ตั้งเป้าคนโหวตเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากเอเอฟสองที่มี 11 ล้านโหวต และยอดรายได้กว่า 100 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 23 พฤษภาคม 2549)
ยูบีซีหน้ามืดขายแพกเกจ340บาทเจาะรากหญ้า
ทรูเปิดภาระกิจหลังซื้อกิจการยูบีซี ประเดิมแผนเจาะตลาดรากหญ้า เปิดตัวแพกเกจ “True Knowledge” ชูค่าสมาชิก 340 บาทต่อเดือนปะทะเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น อ้างช่วยกระทุ้งตลาดเคเบิ้ลทีวีให้เติบโต หลังจากปีก่อนภาพรวมโตถดถอยเหลือเพียง 10%กว่า พร้อมอัดเม็ดเงิน 500 ล้านบาท เพิ่มรายการใหม่ๆ เน้นสาระความรู้เป็นหลัก
(ผู้จัดการรายวัน 4 เมษายน 2549)
จับตายูบีซีหลัง“ทริปเปิลเพลย์”ไล่บี้ ผู้บริหารทรูเชื่อผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสิน
จับตาอนาคตยูบีซีจากการไล่บี้ของทริปเปิลเพลย์ ที่เทคโนโลยีก้าวล้ำนำกฎหมาย จนทำให้เกิดบริการกลางสุญญากาศ กลุ่มทรูเอาบ้างด้วยการจับมือกับช่อง 7 หลังบัดดี้ทำไปแล้ว มั่นใจไม่ผิดกฎหมายอ้างให้บริการบนพีซีไม่ใช่ทีวี ส่วนอนาคตระหว่างการมาของบริการแนวใหม่กับยูบีซี ผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสิน
(ผู้จัดการรายวัน 2 มีนาคม 2549)
กลุ่มทรูฯถือหุ้นUBCรวมกว่า91%
"เค.ไอ.เอ็น" บริษัทย่อย "ทรู คอร์ปอเรชั่น" ตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้น "UBC" ได้กว่า 140 ล้านหุ้น หรือ 18.55% ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 91.41% ขณะที่บล.เกียรตินาคิน แนะซื้อ "TRUE" ราคาเป้าหมายหลังซื้อหุ้นกิจการอยู่ที่หุ้นละ 13.70 บาท
(ผู้จัดการรายวัน 10 กุมภาพันธ์ 2549)
TRUEกู้ดอยช์แบงก์291.1ล.เหรียญสหรัฐ ใช้ตั้งโต๊ะซื้อUBCที่ราคาหุ้นละ26.50บาท
TRUE แจ้ง เค.ไอ.เอ็น (ประเทศไทย) ให้ บล.ภัทร ตั้งโต๊ะซื้อ หุ้น UBC ที่ราคาหุ้นละ 26.50 บาท ระหว่าง 12 มกราคมถึงวันที่ 16 มีนาคม 2549 พร้อมเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน มั่นใจได้ประโยชน์จากศักยภาพของธุรกิจที่เกื้อกูลกันหรือ Synergies ที่เกิดจากการรวมธุรกิจการให้บริการโทรคมนาคมและบริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก สู่การเสนอบริการใหม่ๆ ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานและการบริหารลด เสริมโครงสร้าง ทุนที่ดีขึ้นต่อผู้เสนอซื้อ
(ผู้จัดการรายวัน 10 มกราคม 2549)
วิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำตลาดปี 48 สยายปีกจนถูกกดดันทางสังคมแบบไม่คุ้มค่า
ประมวลข่าว วิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำ ปี 2548 ขาใหญ่ต่างเดี้ยงเมื่อต้องเผชิญมรสุมร้ายส่งผลกระทบต่ออิมเมจที่สั่งสมมานาน พลอยได้รับผลกระทบไปอย่างที่ไม่คุ้มค่า ไล่เรียงตั้งแต่ จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ โออิชิ เบียร์ช้าง เซเว่น-อีเลฟเว่น ยูบีซี แอมเวย์ เป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตภาพลักษณ์ผู้นำได้อย่างดี
(ผู้จัดการรายวัน 28 ธันวาคม 2548)
ทรูยึดUBCจัดทัพธุรกิจ
ทรูใช้เงิน 6 พันล้านซื้อหุ้นยูบีซี จาก MIH เพื่อเป็นเจ้าของเบ็ดเสร็จ ต่อยอดบริการครบวงจร เป็นเจ้าของโครงข่าย และเนื้อหา เชื่อมโลกโทรคมนาคมกับมีเดียเป็นหนึ่งเดียว ลดปัญหาความซ้ำซ้อนของ ไอพีทีวีกับเปย์ทีวี ไม่ต้องรอว่าจะขอใบอนุญาตจาก กสช .หรือ กทช. เตรียม ถอนจากตลาดหุ้นต้นปีหน้า รับซื้อรายย่อยหุ้นละ 26.50 บาท ทุ่มอีก 400 กว่าล้านบาทซื้อเคเอสซีอินเทอร์เน็ตจากเอ็มเว็บ เผยทำให้โครงสร้างบริษัท ชัดเจน ง่ายต่อการหาพันธมิตรต่างชาติ
(ผู้จัดการรายวัน 8 พฤศจิกายน 2548)
ยูบีซีเปิดค่ายเพลงต่อยอดธุรกิจ
ยูบีซีแสดงจุดยืนต้องการก้าวไปสู่มัลติมีเดียแบบครบวงจร พร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมมือกับเอลิโคเนีย เปิดตัวบริษัทเพลง "ยูบีซี แฟนเทเชีย" ดึงนักล่าฝัน 12 คน ร่วมวงออกเทปพร้อมดูแลทุกด้าน เผยมีแผนสร้างศิลปินเอง หรือร่วมมือกับพันธมิตรต่อยอดธุรกิจต่อไป ตั้งเป้าผลิต ผลงานเดือนละ 1-2 อัลบั้ม ส่วนอะคาเดมี แฟนเทเชีย ปี 2 ปิดฉากสวย ส่งผลยอดขายยูบีซีเพิ่ม 15% ส่วน จำนวนคนโหวตเพิ่ม 3 เท่าหรือประมาณ 11 ล้านโหวต
(ผู้จัดการรายวัน 18 ตุลาคม 2548)
ยูบีซีปรับผังรุกภูธรจับแมส
ยูบีซี ปรับผังรายการใหม่ หลังต่อสัญญาดาวเทียมไทยคมอีก 13 ปี เล็งเพิ่มสัดส่วนรายการในประเทศ 30% พร้อมขยายรายการใหม่ๆขานรับช่องสัญญาณดาวเทียมเพิ่ม 88% หันจับลูกค้าต่างจังหวัดเพิ่มฐานสมาชิก
(ผู้จัดการรายวัน 18 พฤษภาคม 2548)