บาทแข็งฟาดสหพัฒน์ ปิดรง.ส่งออกรองเท้า-เสื้อ หวั่นต้มยำกุ้งซ้ำรอย
บาทแข็งฟาดสหพัฒน์ ปิด รง.ส่งออก รองเท้า-เสื้อ ไปแล้ว "บุณยสิทธิ์" หวั่นปัญหาลามฉุดไม่อยู่ ไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งรอบ 2 รุนแรงกว่าปี 40 ยอมรับ เครือสหพัฒน์ ปิดโรงงานส่งออก รองเท้า-เสื้อผ้า เดินหน้าผนึกญี่ปุ่นขยายตลาดอาเซียน
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 15 ตุลาคม 2553)
"สหพัฒน์"กุมขมับคาดรายได้ทั้งเครือหาย6.5พันล้าน
ประธานเครือสหพัฒน์ ชี้เศรษฐกิจปี 2550 เข้าขั้นวิกฤติหนักยิ่งกว่ายุคฟองสบู่แตกปี 2540 คาดจีดีพีส่อเค้าอาจติดลบครั้งแรกรอบ 20 ปี ตลาดอุปโภคบริโภค สินค้าแฟชั่นยอดขายวูบ รากหญ้ากำลังซื้อหาย “สหพัฒน์” ชูนโยบาย “Minus Marketing” ตั้งผลประกอบการติดลบ 5% ครั้งแรกในรอบกว่า 60 ปี แนะรัฐเร่งจัดการเลือกตั้ง แก้ปัญหาเศรษฐกิจมากกว่าการเมือง หวังอีกครึ่งภาวะเศรษฐกิจฟื้น
(ผู้จัดการรายวัน 4 มิถุนายน 2550)
เปิดยุทธศาสตร์ไอ.ซี.ซี.โตไม่จำกัด ปั้นแบรนด์ไทยสู่แคทวอล์กโลก
“ไอ.ซี.ซี.” รับนโยบายสหกรุ๊ปโตไม่จำกัดขนาด เปิดประตูสร้างอาณาจักรสู่เวทีการค้าระดับโลก สลัดคราบการรับจ้างผลิต ปั้นแบรนด์ไทยสู่สากล ชู "บีเอสซี" แบรนด์หัวหอก เปิดกลยุทธ์สร้างแบรนด์ผ่านเวทีขาอ่อนโลก อัดฉีดการสปอนเซอร์ชุดว่ายน้ำดึงดูดสายตาคนทั่วโลก
(ผู้จัดการรายวัน 31 กรกฎาคม 2549)
ICC ทุ่ม 200 ล.ขยายธุรกิจเครื่องสำอาง
ไอ.ซี.ซี. ทุ่มเงินเกือบ 200 ล้านบาท ซื้อหุ้นบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จาก PIAS ARISE CORP. ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มเป็น 19.56% เพื่อขายธุรกิจเครื่องสำอาง พร้อมเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท วิจัยและพัฒนาสห โอซูก้า เอเชีย จำกัด จาก 10% เป็น 16.33%
(ผู้จัดการรายวัน 27 กรกฎาคม 2549)
"สหพัฒน์"จี้รัฐเร่งสร้างรถใต้ดินเล็งตั้งรง.ผลิตไฟฟ้าด้วยปรมาณู
ประธานสหพัฒน์มาแหวกแนว สนใจลงทุนสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานปรมาณู ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ยันรัฐบาลควรส่งเสริมให้เอกชนทำ พร้อมทั้งแนะรัฐบาลต้องเร่งรีบสร้างระบบรถ ไฟฟ้าขนส่งมวลชน อย่าตัดทอนหวังให้เกิดเส้นทางครบวงจรดันธุรกิจใหม่ เกิดขึ้น เตรียมขนธุรกิจใหม่ๆของเครือฯเปิดบริการในสถานีรถไฟฟ้าใต้ ดิน ประเดิมร้านตัดผมคิวบี ต่อไปจับตาร้านขายสินค้าวัยรุ่นและร้านอาหาร
(ผู้จัดการรายวัน 12 กันยายน 2548)
จับตาซัปพลายเออร์กินรวบทุกช่องทางบูมเทรดิชันนัลเทรดแก้เกมโมเดิร์นเทรดอิ่ม
"ซัปพลายเออร์ อุปโภคบริโภค" พลิกเกมรบระลอก ใหม่ หมายตาฮุบทั้ง 3 ช่องทาง ล่าสุดยักษ์ใหญ่ปลุกยี่ปั๊วซาปั๊วคืนชีพ หวังเป็นช่องทางการสร้างรายได้เพิ่ม หลังโมเดิร์นเทรด ส่อเค้าชะลอตัว 2 ปี "สหพัฒน์" เร่งสร้างแขนขา ฉวยกระแสค่าครองชีพสูง คลอดเฮาส์แบรนด์ โปรโมตร้าน 108 ชอปติดลมบน "โอสถสภา" ชี้ทางรอดซัปพลายเออร์รายย่อย ต้องพึ่งดิสทริบิวเตอร์ "ไบโอฯ" ยื้อเกมรบอัดอีเวนต์หนัก ล่อใจเจ้าของกิจการรากหญ้า
(ผู้จัดการรายวัน 15 สิงหาคม 2548)
สหพัฒน์โยกกลุ่มแพนให้ไอ.ซี.ซี.คุมปรับแผนใหม่รอบ20ปีแก้เกมขาดทุน
"สหพัฒน์" สั่งเปลี่ยนมือคุมกลุ่มรองเท้าแพน มอบอำนาจให้ไอ.ซี.ซี.ลุยแทนบ.บางกอกแอทเลติก หลังเน้นนโยบายรับจ้างผลิต พ่นพิษขาดทุนสะสมหลายปี จีนใช้ต้นทุนต่ำกว่าชิงฐานรับจ้างผลิต ครึ่งปีหลังยกเครื่องแผนตลาดครั้งใหญ่รอบ 20 ปี กู้ยอดขายโตไม่ต่ำกว่า 10%
(ผู้จัดการรายวัน 1 สิงหาคม 2548)
สหพัฒน์รุกหนักโมเดิร์นเทรดแยกชั้นวางสินค้าสุขภาพดึงญี่ปุ่นร่วมพัฒนา
"สหพัฒน์" สร้างช่องทางขาย เจาะโมเดิร์นเทรดใหม่ เล็งแยกชั้นวางสินค้ากลุ่มอาหาร-เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเครือเฉพาะ ดอดเจรจาคาร์ฟูร์-ท็อปส์คาดผลสรุปเปิดปีนี้แน่ ดึงมือดีจากแดนปลาดิบ "บริษัทโอซูก้า ฟาร์มา ซูติคอล" ร่วมทุนสร้างแคทิกอรีเพื่อสุขภาพเต็มสูบ ปูพรมใช้งบ 25 ล้านบาท ส่งสแน็ก "บาลานซ์" ชิมลาง ก่อนคลอดสินค้าใหม่ปีละ 2 รายการ ปีแรกคาดยอดขาย 62 ล้านกล่อง
(ผู้จัดการรายวัน 7 มิถุนายน 2548)
สหพัฒน์ไต่บันไดโตยุคขาลง ร่วมทุนต่างชาติพันล้าน-รายได้แตะแสนล้าน
สหพัฒน์พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ใช้ช่วงเศรษฐกิจขาลงหว่านเงินลงทุนเกือบ 1,000 ล้านบาท ขยายธุรกิจหวังผลระยะยาว ชูนโยบายยุคดีเซลลอยตัว "ดึงต่างชาติร่วมทุน เน้นนวัตกรรม บริหารต้นทุน" ระบุปีนี้ไม่ปรับราคาสินค้า หวังตีท้ายครัวสูบรายได้คู่แข่ง สิ้นปีโตตาม เป้า 15% กวาดรายได้ทะลุหลัก 1 แสนล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 2 มิถุนายน 2548)
สหกรุ๊ปรื้อระบบขายจัดทัพลุยตลาดบะหมี่
สหกรุ๊ปปรับระบบจัดจำหน่ายกลุ่มสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หลังพบจุดอ่อน บริษัทในเครือถือ
สินค้าหลายแบรนด์ จนทำให้ทุ่มตลาดได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ยอดขายและส่วนแบ่งตลาดหลายยี่ห้อที่กำอยู่มีปัญหายอดขายน้อย
ขณะที่หลาย แบรนด์ที่ร่วมทุนต้องการให้เพิ่มยอดจำหน่ายมากกว่านี้
(ผู้จัดการรายวัน 23 กันยายน 2546)