ธนายงปลื้มQ3 บ้านเอื้ออาทร หนุนกำไรโต
“ธนายง”กำไรไตรมาส 3 โต 121 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 527% จากการรับเหมาก่อสร้างบ้านเอื้ออาทร หลังจากปีก่อนขาดทุนจากการจัดหาที่ดินและตั้งสำรอง อีกทั้งยังได้กำไรจากการขายทอดที่ดินกรณีพิพาทเข้าช่วยเสริม ส่วนงวด 9 เดือน กำไรลดลง 1,008 ล้านบาทเหตุบันทึกกำไรจากการชำระหนี้หดตัว ขณะที่การติดตามทวงหนี้ 5.6 พันล้านบาทยังไร้ข้อสรุป ต้องรอฟังการสืบพยานช่วงมี.ค.-เม.ย.ก่อน พร้อมทำใจอาจต้องฟ้องล้มลาย 2ลูกหนีที่เหลือ
(ผู้จัดการรายวัน 12 กุมภาพันธ์ 2552)
'คีรี'คัมแบ็กบุกอสังหาฯ ประกาศ8ปีขึ้นเบอร์1
“คีรี กาญจนพาสน์” ประกาศคืนสังเวียนอสังหาฯ หลังออกจากแผนฟื้นฟู ลั่นอีก 8 ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่ง ส่งบริษัทธนายงฯผนึกบีทีเอส-แอ๊บโซลูท-ฮิบเฮง บุกตลาดอสังหาฯ งัดที่ดิน 6 แปลง ผุดโรงแรม คอนโดฯ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ชูจุดขายทำเลเด่นกว่าใคร ช็อก!!เปิดโรงแรมพูลวิลลากลางสาทร เช่า30ปี สนนราคาหลังละ 50 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 28 กรกฎาคม 2551)
ธนายงเทรดหมวดอสังหาฯวันนี้โบรกเกอร์ชี้หุ้นเสี่ยง-แนะเทขาย
นักวิเคราะห์ ชี้ ธนายง กลับมาซื้อขายในหมวดอสังหาริมทรัพย์วันแรก นักลงทุนแห่เก็งกำไร หากราคาหุ้นปรับสูงกว่าราคาเหมาะสมที่ 0.90 บาทต่อหุ้น แนะเทขาย เหตุยังมีความเสี่ยงในเรื่องผลการดำเนินงาน-กระแสเงินสดต่ำ ด้าน "คีรี" เชื่อมีนักลงทุนเห็นศักยภาพเข้าซื้อขาย มั่นใจอนาคตผลประกอบการพุ่ง
(ผู้จัดการรายวัน 28 ธันวาคม 2549)
'คีรี'ทวงบัลลังก์บิ๊กอสังหาฯ
ไม่มีใครจะปฎิเสธความยิ่งใหญ่และความกล้าได้กล้าเสียของคนในตระกูลกาญจนพาสน์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 ผู้ยิ่งใหญ่ นายอนันต์ กาญจนพาสน์ แห่งบางกอกแลนด์ และนายคีรี กาญจนพาสน์ เจ้าของบริษัทธนายง ที่เคยสร้างชื่อเสียงอันกระฉ่อนให้แก่วงการอสังหาริมทรัพย์มาแล้วในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น โครงการธนาซิตี้ ไล่ไปจนถึงโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ(บีทีเอส)ที่เป็นโครงการแรกของเมืองไทยบริหารจัดการโดยภาคเอกชน ด้วยบุคลิกของการลงทุนของ2คนในตระกูล มุ่งสร้างโครงการขนาดใหญ่ตามสไตล์มังกรข้ามถิ่น ส่งผลให้แต่ละโครงการในมือ มีมูลค่าหลายพันหลายหมื่นล้านบาท แต่ด้วยวิกฤตเศรษฐกิจที่โหมซัดกระหน่ำธุรกิจ ทำให้ความยิ่งใหญ่ของธุรกิจ ได้กลายเป็นปมที่ทำให้ตระกูลกาญจนพาสน์ ต้องเร่งสะสางหนี้สินที่เพิ่มพูนเป็นทวีคูณ ตามการลอยตัวของค่าเงินบาท
(ผู้จัดการรายวัน 23 พฤศจิกายน 2549)
TYONGไตรมาส3ปี48ขาดทุน186ล้านบ.รับผลขาดทุนบ.ย่อยและอัตราแลกเปลี่ยน
TYONG แจ้งงบไตรมาส 3 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 48 ขาดทุนหนักกว่า 121% เนื่องจากรับรู้ผลขาดทุนจากบริษัทย่อย 6 แห่ง และตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากการปล่อยกู้บริษัทย่อยอีกทั้งขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แจงหลังจัดประเภทเงินลงทุนในบริษัทเหล่านี้เป็นเงินลงทุนในบริษัทย่อยรอการโอนตามแผนฟื้นฟูกิจการ และไม่นำงบมารวมกับบริษัทแม่ จะทำให้ตัวเลขเงินทุนเป็นบวก 3,398 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 30 มีนาคม 2549)
แผนฟื้นฟู "ธนายง"ฉลุยเจ้าหนี้แฮร์คัต3หมื่นล้าน
แผนฟื้นฟู "ธนายง" ผ่านฉลุย หลังเจ้าหนี้ไฟเขียวหั่นหนี้จาก 6 หมื่นล้านบาท เหลือเพียง 3 หมื่นล้านบาท โดยบริษัทฯจะตีโอนทรัพย์สินบางส่วนเพื่อคืนหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่มีหลักประกัน ขณะเดียวกันยังแก้ไขแผนให้คืนหนี้ให้กับเจ้าหนี้เพิ่มเติมเป็น 10% จากเดิมขอชำระหนี้แค่ 5%
(ผู้จัดการรายวัน 23 ธันวาคม 2547)
10ธุรกิจอสังหาฯกำไรพุ่ง ลดต้นทุน-เร่งยอดโอน
ตรวจแถวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรอบปี 2546 สัญญาณการฟื้นตัวเริ่มกลับมาแล้ว ชี้
10 บริษัทพัฒนาอสังหาฯทำกำไรพุ่งเกือบ 1.4 หมื่นล้าน วัดผลจากรายได้และกำไรสุทธิ
แลนด์แอนด์เฮ้าส์ นำโด่งตลอดกาล ด้วยยอดรายได้รวมสูงเป็นประวัติศาสตร์ 20,000 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 6,190 ล้านบาท ตามด้วยบางกอกแลนด์ ที่ทำรายได้จากการบริหารพื้นที่นิทรรศการและคอนเสิร์ต
ขณะที่หลายค่ายหันมาทำตลาดบ้านพร้อมอยู่ระดับ ราคา 2-5 ล้านบาท เหตุพฤติกรรมผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนตามสภาพตลาด
(ผู้จัดการรายวัน 8 มีนาคม 2547)