มิตรผลลุยสินค้าเพิ่มมูลค่า ส่ง"มิตต้า"เจาะร้านกาแฟ
มิตรผล ติดใจ เร่งพัฒนาสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่ม เหตุตลาดน้ำตาลเพื่อการบริโภค โตเพียง 1-2% ต่อปี แถม ยังถูกกำหนดราคาโดยกระทรวงพาณิชย์ ล่าสุด เปิดตัว “มิตต้า” น้ำเชื่อมแต่งกลิ่น เจาะ ร้านกาแฟ และ ค็อกเทล พบธุรกิจนี้ตลาดโตสูง 25-30% ต่อปี แต่ยังต้องใช้น้ำเชื่อมนำเข้า ตั้งเป้า 3 ปี ยอดขาขแตะ 100 ล้านบาท
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 16 กันยายน 2554)
มิตรผลเท400ล. ผุดรง.น้ำเชื่อม-เพิ่มกำลังผลิต
นายคนอง ศักดิ์เพ็ชร กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจน้ำตาลมิตรผล ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำตาลมิตรผล เปิดเผยว่า นโยบายของบริษัทต้องการก้าวสู่การเป็นผู้นำโซลูชั่น เซอร์วิสในธุรกิจน้ำตาล ล่าสุดได้ทุ่มงบลงทุน 200 ล้านบาท สร้างโรงงานที่ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เพื่อผลิตน้ำตาลในรูปแบบน้ำเชื่อมภายใต้แบรนด์"มิตรผล" เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าที่ต้องนำน้ำตาลทรายไปละลายก่อนการใช้งาน ซึ่งเป็นการสร้างเซกเมนต์ใหม่ของตลาดน้ำตาล และนับว่าประเทศไทยเป็นแห่งแรกในอาเซียนที่สามารถผลิตน้ำเชื่อมดังกล่าวได้
(ผู้จัดการรายวัน 2 กรกฎาคม 2551)
มิตรผลปรับโครงสร้างใหญ่ รับธุรกิจพลังงานทดแทนบูม
มิตรผล ลุยปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ รองรับการขยายตัวธุรกิจพลังงาน ไฟฟ้าชีวมวล เอทานอล หลังสบช่องเทรนด์ทั่วโลกเริ่มใช้พลังงานทดแทน และหวังโกยราคาน้ำตาลทรายขาวโลกพุ่ง 450 เหรียญต่อตัน ทุ่มเม็ดเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท เร่งขยายพื้นที่ปลูกอ้อยในอาเซียน จ่อคิวผุดโรงงานเอทานอลแห่งที่ 3 ในไทย สิ้นปีกวาดรายได้ 30,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 10 เมษายน 2551)
มิตรผลแตกไลน์ธุรกิจพลังงาน
มิตรผล ชูโมเดลต้นแบบบราซิลยักษ์ใหญ่น้ำตาลของโลก ทุ่ม 1600 ล้านบาท แตกธุรกิจเอทานอลรับเทรนด์ความต้องการพลังงานทดแทนทั้งใน-ต่างประเทศ นำร่อง 2 โรงงาน กำลังผลิต 120 ล้านลิตรต่อปีป้อนประเทศ ลั่นอนาคตปรับเป้ารายได้น้ำตาลเหลือ 70% ส่วนกลุ่มพลังงานเพิ่ม 30% ระบุเห็นด้วยคณะกรรมการอ้อยยื่นปรับราคาน้ำตาลขึ้น 2-3 บาท ชี้ช่วยแก้ปัญหาน้ำตาลทะลักต่างประเทศ สิ้นปีตั้งเป้ารายได้ 12,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 7 มีนาคม 2549)
"มิตรผล" ปรับอิมเมจใหญ่รอบ18ปี ชูนิชมาร์เกต-เป้า5ปีอันดับหนึ่งเอเชีย
นายทัศน์ วนากรกุล รองผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลมิตรผล เปิดเผยว่า นโยบายบริษัทได้วางแผนทำตลาดต่างประเทศในเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะการเน้นสร้างตราสินค้าน้ำตาลกลุ่มคอนซูเมอร์หรือบริโภคในครัวเรือน เพราะการทำตลาดต่างประเทศที่ผ่านมาบริษัทยังไม่ได้มีการสร้างแบรนด์ อีกทั้งการส่งออกน้ำตาลคอนซูเมอร์ส่วนใหญ่จะเป็นบรรจุภัณฑ์กระสอบสัดส่วน 60% และน้ำตาลอุตสาหกรรม 40% ขณะที่บรรจุภัณฑ์ขนาด 1 กก.สำหรับจำหน่าย ในรีเทลยังไม่มี โดยบริษัทวางเป้าหมายไว้ว่าน้ำตาลมิตรผลเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในเอเชีย ภายใน 5 ปี จากปัจจุบันน้ำตาลมิตรผลเป็นอันดับหนึ่งของเอเชียในแง่ปริมาณ
(ผู้จัดการรายวัน 30 พฤศจิกายน 2548)
มิตรผล เซ็น MOU ลาวปลูกอ้อยแสนไร่รง.สะหวันนะเขตผลิตน้ำตาลล้านตัน/ปี
ในที่สุดบริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด ได้ลงนามใน บันทึกช่วยความจำกับแขวงภาคใต้ของลาว ในโครงการลงทุนปลูก อ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล โดยเริ่มต้นทำเองทั้งหมดบนเนื้อที่ 3,000 ไร่ ในเฟสแรกภายใต้แผนการที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปถึง 100,000 ไร่ ในอนาคตอันไม่ไกล โดยจะชักชวนเกษตรกรชาวลาวเข้าร่วมโครงการด้วย
(ผู้จัดการรายวัน 9 กันยายน 2548)