บัตรกอล์ฟ...กลยุทธ์ชิงตลาดหมื่นล้าน
“กอล์ฟ” เป็นกีฬาประเภทเดียวที่ธุรกิจบัตรเครดิตเน้นทำตลาด ถึงขั้นแยกเป็นเซ็กเมนต์หนึ่งที่ต้องวางกลยุทธ์เฉพาะ เพื่อชิงเม็ดเงินผ่านการรูดปรื้ดปีหนึ่งกว่า 10,000 ล้านบาท ผู้เล่นที่เบียดกันมาตลอดในสนามนี้ คือบัตร SCB ของธนาคารไทยพาณิชย์ และบัตร KTC ของบริษัทบัตรกรุงไทย ทำให้ตลาดนี้คึกคักด้วยจำนวนลูกค้ารวมแล้วกว่า 1 แสนบัตร โดย SCB มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าครึ่ง และ KTC เป็นเบอร์รอง ซึ่งผลัดกันรุกผลัดกันรับ ด้วยกระบวนยุทธ์เต็มพิกัด หวังชิงลูกค้าระดับครีม
(Positioning Magazine เมษายน 2552)
ต้องชัดกว่านี้
“ถึงเวลาที่ธนาคารไทยพาณิชย์ต้องทำ “Brand Positioning” ให้ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งดิฉันคิดว่ายังไม่ชัดเจนพอ” “กรรณิกา ชลิตอาภรณ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ชี้แจงกับ POSITIONING ช่วงต้นเดือนมกราคม 2009 หลังจากที่ไทยพาณิชย์เพิ่งตกลงจ้างเอเยนซี่ระดับโลก คือ “บริษัทอินเตอร์แบรนด์” เป็นที่ปรึกษาในการสร้างแบรนด์
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)
บัตรไทยพาณิชย์ ยิ่งมีพรีเซ็นเตอร์ ยิ่งโต
ธนาคารไทยพาณิชย์ มีจุดขายเป็นธนาคารเก่าแก่ มีเครือข่ายสาขา ช่องทางการเข้าถึงลูกค้ามากที่สุด แต่ในกลุ่ม “ธุรกิจบัตรเครดิต” ของไทยพาณิชย์ ก็ยังต้องยึด “กลยุทธ์พรีเซ็นเตอร์” เป็นหลัก นับตั้งแต่เริ่มบุกตลาดอย่างจริงจังเมื่อปี 2005 จนยอดกระเตื้องทิ้งห่างคู่แข่ง แต่เมื่อเงียบหายไปช่วงเกือบ 3 ปีจนคู่แข่งเบียดแรงลูกค้าโตขึ้นเรื่อย ๆ ไทยพาณิชย์จึงต้องกลับมาอีกครั้งกับกลยุทธ์ “พรีเซ็นเตอร์” ที่คราวนี้กระโดดข้ามจากกลุ่ม “ไฮโซ” มาเป็น “ดารา”
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)
พลังแบรนด์สีม่วง
จุดอ่อนของ “ไทยพาณิชย์” ในอดีตไม่ต่างจากแบงก์ใหญ่ของไทยหลายแห่ง คือ “บริการ” ไม่ประทับใจ เพราะพนักงานไม่มีใจบริการ ซึ่งเกิดจากความเคยชินที่แบงก์คือธุรกิจที่ไม่ง้อลูกค้า และคุ้นเคยกับการที่ลูกค้าเดินเข้าหาธนาคาร แต่เมื่อการแข่งขันสูงทั้งจากแบงก์ต่างชาติ และแบงก์ไทยที่ปรับตัวมากขึ้น ทำให้แบงก์หลายแห่งปรับปรุงบริการ จากพนักงานที่เคยนั่งอยู่แต่ในเคาน์เตอร์ ต้องออกมาต้อนรับหน้าแบงก์ และกรอกแบบฟอร์มให้ นี่คือยุคที่ “แบงก์”ไม่เหมือนเดิม รวมทั้ง “ไทยพาณิชย์” แบงก์เก่าแก่ของไทย
(Positioning Magazine ธันวาคม 2551)
“ไทยพาณิชย์” ปล่อยกู้จ่ายหนี้เลแมนฯ
ธนาคารไทยพาณิชย์ ชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า SCB นอกจากลงทุนหุ้นกู้กับเลแมนฯ และขายขาดทุนไปแล้ว ข้อตกลงที่เพิ่งตกลงสดๆ ร้อนๆ ก่อนหน้าที่เลแมนฯ จะประกาศล้มละลายไม่กี่เดือน คือการปล่อยกู้ให้บริษัทบริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAND ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทของไทยที่บริษัทในกลุ่มเลแมนฯ ถือหุ้นใหญ่ถึง 43.32% โดยเงินกู้ก้อนนี้สูงถึง 6,000 ล้านบาท
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
อยากเป็นเหมือน 7-11
“ดิฉันชอบเป็นที่หนึ่ง” คำพูดของ กรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ ถ้าคิดตีความคำพูดนี้ให้ดี นี่คือภาพของไทยพาณิชย์ยุคใหม่ ภายใต้การบริหารงานของแม่ทัพหญิงคนนี้
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
ซิทคอม “นัด” เจอไทยพาณิชย์
ไม่เพียงสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่าง สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม หรือแม้แต่ไวท์เทนนิ่ง โทรศัพท์ กล้องดิจิตอล ที่เป็นขาประจำในกลยุทธ์ Product Placement ยังมีสินค้าบริการทางการเงิน ที่จับต้องได้ยาก ก็ต้องพึ่งพิงกลยุทธ์นี้
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
ศึกชิง Young Entrepreneur
บรรยายที่ดูคึกคักไม่น้อยกับงานเสวนา ความคาดหวังหลังเลือกตั้ง ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ จัดขึ้นโดยได้นำผู้จบหลักสูตรรุ่นที่ 2 ของโครงการ SCB Young Entrepreneur จำนวน 50 คนมาเปิดเวทีแสดงทัศนะให้สื่อมวลชนเข้าไปทำข่าว
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
แปลงอดีต เป็นยอดขาย และกำไร
โฆษณาทางโทรทัศน์ครบ 100 ปี ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่มีลักษณะทบทวน ”วันวานที่ผ่านผัน” แต่ไม่ใช่ ”วันหวานที่หวานอยู่” ตามมาด้วยโฆษณาส่งเสริมการขายบริการของธนาคาร ที่มีลักษณะ ฮาร์ดเซลส์ แจกของสำหรับลูกค้าใหม่ที่ไปใช้บริหารทางการเงิน สลับกันต่อเนื่องยามนี้ ถือเป็นกลยุทธ์ในยามที่ตลาดเงินกำลังย่างเข้าสู่หัวโค้งของการแข่งขันอย่างครบวงจร ที่เรียกว่า ยูนิเวอร์แซล แบงกิ้ง ที่มีเชิงรุกได้เข้าท่าดีแท้
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
กรรณิกา ชลิตอาภรณ์ นายแบงก์หญิงคนใหม่
หากการแข่งขันของแบงก์ เปรียบได้ดั่งสงคราม สตรีคนนี้ก็คือ “แม่ทัพหญิง” คนใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ...สตรีที่จะต้องปกครองกองทัพขนาดใหญ่เกือบหมื่นคน ดูแลสาขาหน้าด่านเกือบ 800 แห่ง ต้องคิดกลยุทธ์การต่อสู้อีกนานัปการ ใช่, ภารกิจนี้ท้าทายผู้นำหญิงคนนี้ยิ่งนัก
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)