เปิดสูตรลับการตลาดมหา’ลัย พิชิตใจวัยเรียน
ดุเดือดไม่แพ้ธุรกิจไหน การแข่งขันของมหาวิทยาลัย ต้องงัดกลยุทธ์การตลาดสารพัดรูปแบบช่วงชิงลูกค้า ปั้นหลักสูตรใหม่ๆ หวังให้เป็น Product โดนใจ ตามด้วยโปรโมชั่นทุกรูปแบบ ทุ่มเงินไม่น้อยกว่า 20 ล้าน ผลิตหนังโฆษณา ยิงกันถี่ยิบทุกสื่อ ไม่รวมอีเวนต์ทั้งและนอกสถานที่ เว็บไซต์ แชตรูม สื่อใหม่ ชิงลูกค้านักเรียน 3.5 แสนคนต่อปี นับเป็นอีกกรณีศึกษาน่าสนใจ
(Positioning Magazine มิถุนายน 2552)
RU Golf เปิดโลกอาชีพกอล์ฟด้วยปริญญา
มีการประเมินกันว่าประเทศไทยมีสนามกอล์ฟกว่า 200 สนาม และมีบุคลากรที่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟกว่า 200,000 คน กอล์ฟจึงเป็นกีฬาที่สร้างงานสร้างรายได้ให้แก่บุคลากรในแวดวงกว่า 14,000 ล้านบาทต่อปี และสามารถนำรายได้จากการท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศได้ปีหนึ่งนับพันล้านบาท
(Positioning Magazine เมษายน 2552)
กลยุทธ์ “แซยิด” โกอินเตอร์
ช่างบังเอิญเสียนี่กระไร ที่ Business School เก่าแก่ของไทย 2 สำนัก คือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TBS) และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) ต่างเลือกจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปี อย่างยิ่งใหญ่ในสถานที่เดียวกัน คือ โรงแรมเซ็นทาราแกรนฯ จะต่างกันก็เพียงแค่วันเวลาและรูปแบบในการนำเสนองานเท่านั้น
(Positioning Magazine มกราคม 2552)
กวดวิชายุคหน้าต้องบนเว็บ?
“โรงเรียนกวดวิชาในอนาคตจะหดขนาดเหลือแค่ “Micro-branch” ตามห้าง ไว้รับจ่ายเงิน ออกใบเสร็จและรหัสผ่าน มีที่นั่งและเครื่องพีซีไว้บ้างเหมือนร้านเน็ตเล็กๆ” เป็นการ “ฟันธง” จาก ธานินทร์ เอื้ออภิธร ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง EnConcept เจ้าตลาดโรงเรียนสอนพิเศษภาษาอังกฤษเด็กมัธยม
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)
ร.ร.กวดวิชา-ลมหายใจสยามฯ
เด็กนักเรียนในชุดเครื่องแบบทั้งแขนยาว แขนสั้น กางเกงขาสั้น จากรั้วคอนแวนต์ และโรงเรียนของรัฐ เดินกันเป็นกลุ่มๆ พูดคุยหยอกล้อ เฮฮาสนุกสนาน ภาพเหล่านี้คือภาพที่คุ้นตาในย่านสยามสแควร์ และถือเป็นลมหายใจที่หล่อเลี้ยงให้ทำเลทองแห่งนี้คึกคัก มีชีวิตชีวา ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
Learning House ของทรู
“ทรูไลฟ์สาขาสยาม” เป็นจุดนัดพบที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเรียนและนักศึกษา จนกลายเป็นที่ Gang up อีกแห่งหนึ่งของวัยรุ่น ทว่า หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดทรูจึงเลือกเปิด “โรงเรียนสอนภาษาจีน” ภายในบริเวณ “ร้านขายกาแฟ” ของทรูไลฟ์ สาขา”สยามสแควร์”
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
คริสโตเฟอร์ ไรท์ บูมภาษาอังกฤษแบบเด็กแนว
จากเด็กหนุ่มที่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะผันชีวิตตัวเองจาก Nobody มาสู่ Somebody ด้วยการเห็นโอกาสที่ว่า หากเป็นคนมีชื่อเสียงแล้วจะนำพามาซึ่งเส้นทางอันรุ่งโรจน์ในธุรกิจได้ไม่ยาก และเขาได้เรียนรู้ว่า Asset ที่เขามีนั่นคือความแตกฉานในภาษาอังกฤษ และเชื่อมั่นในการสอนที่เหมาะสมกับคนไทยว่าต้องเป็นแบบ Bi-lingual กอปรกับความรู้และเข้าใจในเรื่องของ Cross Culture ทำให้เขาสร้าง Business Model ที่แตกต่างและน่าสนใจ อีกทั้งมีอิทธิพลอย่างสูงที่ทำให้คนไทยตื่นตัวกับการเรียนภาษาอังกฤษกันอีกครั้ง
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
โอเน็ต-เอเน็ต ปรากฏการณ์ร้อนการศึกษาไทย
ประเด็นร้อนๆ กระเทือนวงการศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา ต้องยกให้กรณี "โอเน็ต-เอเน็ต" หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า การสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test) หรือโอเน็ต และการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (Advanced National Educational Test) หรือเอเน็ต ซึ่งถือเป็นสูตรสำคัญที่ใช้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลางการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่น (Admission) แทนระบบเอนทรานซ์เดิม (Entrance) ที่รู้จักกันมายาวนานกว่า 40 ปี
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
Cisco Academy โรงเรียนชีวิตจริงคนไอที
“วีรเชรษฐ กังสดาลกุล” หนุ่มวิศวกรวัย 25 ปี รับหน้าที่เป็นทัพหน้าประสานงานระหว่างหน่วยงาน Cisco Academy กับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ Cisco Networking Academy Program หรือ CNAP ให้บรรลุตามเป้าหมาย
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2549)
Contest Marketing ทะลวงด่าน CAMPUS ฟีเว่อร์
เมื่อสถาบันการศึกษา “มหาวิทยาลัย” กลายเป็นสมรภูมิ “พลังนักศึกษา”กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่กองทัพสินค้า บริการ แห่เข้าทำตลาดถึงที่ กลยุทธ์ยอดนิยมที่นักการตลาดยุคนี้ต้องยกให้ “Contest Marketing” หรือการตลาดจัดประกวด เครื่องมือการตลาดที่ตอบโจทย์กลยุทธ์ Below the Line
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2549)