มุมมองและพฤติกรรมของนักเดินทางต่อ Air Travel
ในยุคที่อุตสาหกรรมการบินโดนปัจจัยลบต่างๆ ถาโถม ทั้งอัตราค่าน้ำมันที่ผันผวน และปัจจัยทางการเมืองอันก่อให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศต่างๆ รวมถึงปัญหาผู้ก่อการร้ายที่ไม่มีวันจบสิ้น มาดูกันว่านักเดินทาง ผู้โดยสารเขาคิดและแสดงออกกันอย่างไร และอะไรคือสิ่งที่พวกเขาต้องการในเวลานี้
(Positioning Magazine มกราคม 2552)
น่านฟ้าสีครามของ “โอมาน แอร์”
ธุรกิจการบินทั่วโลกกำลังวิกฤตต้องลดเที่ยวบิน ปลดพนักงาน แต่สำหรับสายการบินจากประเทศในอาหรับกลับสวนทางมาในแนวขาขึ้น ทั้งซื้อเครื่องบินใหม่ เพิ่มเส้นทาง ปรับปรุงบริการ ไม่เว้นแม้แต่สายการบินน้องเล็กในโลกอาหรับอย่าง “โอมาน แอร์” ก็รุกเต็มที่ โดยเฉพาะเส้นทางในเอเชีย
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
การบินไทย หั่นราคาสู้วิกฤต
การบินไทยประกาศ “Price War” ทั้งที่อยู่ในช่วง “ไฮซีซั่น” และการบินไทยไม่เคยทำมาก่อน แต่เพราะเศรษฐกิจโลกกำลังทิ้งดิ่ง ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ถ้าไม่ปรับกระบวนยุทธ์ทางการตลาดและลงมาสู้รบรอบนี้ มีหวังผู้โดยสารหายรายได้ลดแน่
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
โศกนาฏกรรมการบินทั่วโลก ไม่อยากตายต้องปรับตัว
วินาศกรรม 9/11 ปี 2001 ทำให้ธุรกิจการบินตกต่ำเพราะคนไม่กล้านั่งเครื่องบิน แต่เป็นภาวะความไม่เชื่อมั่นแค่ช่วงเวลาเดียว แต่วิกฤตน้ำมันแพงขณะนี้กลับทำให้สายการบินตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ยิ่งกว่า เพราะต้นทุนที่แพงขึ้นอย่างสาหัสได้ส่งผลกระทบกระจายเป็นวงกว้างต่อธุรกิจการบินทั่วโลก เข้าขั้น “อ่วม” “ทรุด” และ “เจ๊ง” กันระนาว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนสายการบินขอ “หยุดบิน” มากขึ้นเรื่อยๆ หากราคาน้ำมันยังพุ่งทะยานไม่หยุด
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
บินได้ แต่จ่ายแพง และไม่สบายเท่าเดิม
คุณคะ! มีค่าธรรมเนียมน้ำมันเพิ่มนะคะ คุณคะ! บวกค่าโหลดกระเป๋าเพิ่มนะคะ คุณคะ! ช้อนส้อมพลาสติกนะคะ คุณคะ! ผ้าห่มทำไมไม่อุ่นเลยล่ะคะ คุณคะ ๆ ๆ ๆ ๆ อีกมากมาย ที่ผู้โดยสารไม่สะดวกสบายเหมือนเดิมอีกต่อไป
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
“กัปตัน” รักษาระดับ “บินสูง”
มองผ่านจากห้องนักบิน (Cockpit) ท้องฟ้าที่มืดมิด มีเพียงเรดาร์นำทางเพื่อนำเครื่องบินสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งไม่ว่าจะใกล้หรือไกล “กัปตัน” ก็สามารถรู้ระยะทางและเวลาถึงสนามบินข้างหน้าได้อย่างแม่นยำ เพราะวางแผนการบินอย่างดี แต่เส้นทางอาชีพวันนี้ กำลังเปลี่ยนไป ยากที่จะคาดเดาว่าท้องฟ้าที่มืดมิดจะมีเมฆฝน และหลุมอากาศหนักเพียงใด เพราะธุรกิจการบินกำลังเผชิญกับวิกฤตน้ำมันจนต้นทุนสูง กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งของชีวิตนักบิน
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
เด็กเส้น-การเมือง ปัญหาหนักอกเจ้าจำปี
แจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ถือเป็นลูกหม้อของการบินไทยโดยแท้จริง กว่า 31 ปีที่เธอทำงานภายใต้บริษัทแห่งนี้มาในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เธอย้อนความทรงจำ ประสบการณ์ที่มีมากว่า 3 ทศวรรษให้ฟังว่า เธอเริ่มทำงานตั้งแต่เดือนเมษายน 2520 และก้าวเข้ามาทำงานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยตั้งแต่ปี 2532 โดยมีแรงผลักดันมาจากกรณี “ไล่แอร์แก่ลงกราวด์” จากนั้นเธอเริ่ม “อิน” กับความอยุติธรรม และมีบทบาทในการพิทักษ์สิทธิ์ของพนักงานและองค์กรเรื่อยมา
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
“จับโกง-น้ำมันแพง” วัดฝีมือ “อภินันทน์ สุมนะเศรณี”
แม้จะไม่อยากพูดถึง ”การเมือง” และ ”การทุจริต” ที่แทรกแซงหยั่งรากลึก จนเป็นปัญหาเรื้อรังในการบินไทยมานาน แต่ ”เรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี“ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดี ของการบินไทย ก็บอกได้อย่างเต็มที่ว่ามีผลงานชิ้นโบแดงตลอด 3 ปี ในตำแหน่ง คือ “การปราบทุจริต”
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
บิ๊กทีจีตั๋วฟรี รวยเงินเดือน โบนัส
ทำงาน ”การบินไทย” ทั้งหรูหรา ฟู่ฟ่า แถมยังได้ ”บินฟรี” โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระดับ ”บิ๊ก” ตั้งแต่รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (Executive Vice President) กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดี จนไปถึงคณะกรรมการหรือบอร์ดบริษัท รวมไปถึงอดีตบอร์ด ที่แม้จะพ้นจากตำแหน่งไปนานแล้ว แต่ก็อยู่ในระดับ ”ผู้มีอุปการคุณ” ที่การบินไทยต้องให้ตั๋วราคาพิเศษ
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
“คุณคะ” ภาพลวงตา กลลวงแบรนด์
“คุณคะ” เป็นแคมเปญโฆษณา Corporate Image ล่าสุดของการบินที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และได้รับการกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวางทั้งแง่บวกและแง่ลบ เป็นหนึ่งในความพยายามของการบินไทยที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยน “อายตนะ” (ดูล้อมกรอบ อายนตะ...เปลี่ยนเพื่ออะไร?)
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)