Thailand Trendy 2011 หาจุดร้อนๆ แก้หนาวให้ธุรกิจ
ปี2554เศรษฐกิจยังโตแต่ซบเซากว่าปีเสือ โดยจีดีพีจะโตประมาณ4% เป็นค่าเฉลี่ยจากหลายสำนักเศรษฐกิจทั้งรัฐ เอกชน โดยมาจากปัจจัยการบริโภคในประเทศ การใช้จ่ายภาครัฐ และการท่องเที่ยว เพราะหวังพึ่งส่งออกไม่ได้เหมือนเดิม จนคาดว่าส่งออกจะโตไม่เกิน 10%
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
ความรู้สึกเริ่มดีขึ้น
แม้จะผ่านไปแล้วเกือบ 9 เดือนกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ก็ยังมีเสียงลุ้นอยู่ว่านับจากนี้โลกจะฟื้น หรือจะยังซบเซาต่อ สำหรับเจ้าของสินค้าบริการต่างๆ ที่อยากได้คำตอบ หรืออยากรู้สัญญาณว่ากำลังซื้ออยู่ที่ไหน ต้องมาดูผลสำรวจในระดับทั่วโลกจาก Synovate ถึงความมั่นใจของผู้บริโภคในโลกใบนี้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 เปรียบเทียบกับพฤศจิกายน 2008 ใน 26 ตลาด ทั้งหมด 17,300 คน ที่เพิ่งเปิดเผยเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้ข้อสรุปว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เชื่อว่าขณะนี้เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ได้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และรออีกสักพักหนึ่งจะฟื้นตัว
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
ฝ่าวิกฤตร้อน ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
กลายเป็นกระแสร้อนขึ้นมาอีกครั้งสำหรับ“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” Sufficiency Economy เพราะเชื่อว่าจะเป็นทางออกเดียวในการฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจของไทย ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญ กูรูนักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์กันว่า ปีหน้าธุรกิจจะประสบวิกฤตอย่างหนัก
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
Crisis Management ทางออกประเทศไทยจะไปทางไหน?
มีหลายวิธีที่จะจัดการวิกฤตเศรษฐกิจ ยิ่งเมืองไทยเคยผ่านวิกฤตต้มยำกุ้งมาด้วยแล้ว หลายแบรนด์ต้องล้มหายตายจากไป แต่มีไม่น้อยที่ไม่เพียงแต่พลิกฟื้นกลับขึ้นมาได้ แถมยังยิ่งใหญ่กว่าเดิม วิกฤตเศรษฐกิจรอบนนี้ อันเป็นผลมาจากวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกาที่แผ่ขยายลุกลามไปทั่วโลก มหันตภัยเมลามีนจากจีนที่ส่งผลกระทบอุตสาหกรรมและอาหารไทย และปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ได้นำไปสู่การแบ่งขั้วเลือกข้างอย่างชัดเจน
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
ดัชนีดิ่งเหว
เฉลี่ยจีดีพีทั่วโลกปี 2552 โต 2%
สหรัฐอเมริกา -0.7%
ยุโรป -0.5%
อังกฤษ -1.3%
ญี่ปุ่น -0.2%
(ที่มา : ไอเอ็มเอฟ)
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
ส่งออกวูบกว่า 3 แสนล้านบาท
ปรากฏการณ์พญาอินทรีปีกหัก ไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่จะลุกลาม ฉุดเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอีกนาน คือความเห็นตรงกันจากทั้งนักวิชาการและกูรูด้านเศรษฐศาสตร์ระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเมืองไทย ที่ต้องเจอทั้งปัจจัยภายนอกประเทศและในประเทศ จนในที่สุดแล้วภาคเศรษฐกิจจริงของไทยจะมีปัญหา โดยเฉพาะรายได้จากการส่งออกของไทย ที่เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
“แบงก์ล้ม” วิกฤตที่ยังไม่มีบทสุดท้าย
เมื่อวิกฤตซับไพรม์คายพิษ ฟองสบู่ก็แตกดังโพละ ตามมาด้วยการล้มครืนของสถาบันการเงินเก่าแก่ของอเมริกา Lehman Brothers และ Merrill Lynch รวมทั้ง AIG ยักษ์ใหญ่วงการประกันภัยซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ AIA ที่คนไทยรู้จักกันดี จากนั้นก็มีข่าวธนาคารหลายแห่งย่ำแย่ตามกันมาเรื่อยๆ ทำให้ตลาดทั่วโลก “ตื่นตระหนก-ขวัญผวา” ว่ากำลังเดินหน้าเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยิ่งใหญ่รุนแรงกว่าช่วงสงครามโลกครั้งไหนๆ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
“สหรัฐอเมริกา” ล้ม “โลก” สะเทือน
ตลอดเดือนกันยายน 2008 โลกต้องตื่นตระหนกกับความ “เจ๊ง” ของสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา จนนำมาสู่เศรษฐกิจโลกที่ใกล้ “โคม่า” เพราะภายในเวลาเพียง 16 เดือนสถาบันการเงินทั่วโลกล้มละลาย หรือถูกเทกโอเวอร์กว่า 25 แห่ง เฉพาะครึ่งเดือนหลังของกันยายน 2008 นับได้ถึงกว่า 10 แห่ง
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
จาก “Subprime” สู่หุ้นกู้ “CDS”
การกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ หลังวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย และการค้าโลกเสียสมดุล ด้วยมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะการกระตุ้นการบริโภคของชาวอเมริกัน จนนำมาสู่การพุ่งขึ้นของยอดสินเชื่อ “ซับไพรม์” ซึ่งแม้จะเป็นหนี้เสี่ยงที่จะกลายเป็นหนี้เน่า แต่ก็เป็นแหล่งที่นักการเงินมองเห็นหนทางการเก็งกำไร ซึ่งหลายคนร่ำรวยจากเงินก้อนนี้มาแล้ว
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
"ตัวเลขขับเคลื่อนโลก" : June 2008
EURO 2008 ถุงทองมหึมาแห่งปี, ถึงจีนใหญ่แค่ไหน แฟชั่นไทยยังโต , อาหารแพงทั่วโลก ภัตตาคารในกรุงเทพฯ เริ่มเจ๊ง, เศรษฐกิจหด บัตรเครดิตฝืด...
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)