สิงเทลแตกไลน์บุกโฆษณา
เมื่อธุรกิจสื่อสารอิ่มตัว แม้แต่ “สิงเทล” หรือสิงคโปร์เทเลคอม ก็ไม่สามารถอยู่เฉยได้ ต้องหาธุรกิจมาเสริมรายได้ คำตอบมาลงตัวที่ธุรกิจโฆษณา ภายใต้ชื่อ “ iMedia” อยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจ Content and Media Services (CMS) โดยมีจุดแข็งที่มีช่องทางพร้อมรองรับอยู่แล้ว คือลูกค้ามือถือ 2.94 ล้านคน อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ใช้สายเกือบ 5 แสนคน และไวร์เลสบรอดแบนด์อีก 1.44 แสนคน
(Positioning Magazine มิถุนายน 2552)
“ระดมทุน” เตรียมเสบียงก่อนวิกฤต
วิกฤตเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคหาย ยอดขายลดลงเท่านั้น แต่สภาพคล่อง หรือเงินที่ใช้หมุนเวียนในโลกก็พลอยหายไปด้วย ทำให้ใครที่ต้องการระดมทุนจะมีต้นทุนการเงินสูงกว่าภาวะปกติ สถานการณ์นี้จะบริหารจัดการกับวิกฤตได้อย่างไร มีตัวอย่างกรณีศึกษาจากบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่วิ่งมาถึงทางตัน แม้จะไม่วิกฤตเท่ากับปี 2540 ที่ทรูฯ แทบล้มละลาย แต่ครั้งนี้คือต้องเร่งเพิ่มทุนเพื่อระดมเงินก้อนใหญ่มาจ่ายหนี้และสะสมไว้ส่วนหนึ่งเพื่อลงทุน 3G พร้อมแต่งตัวให้ดูดีเพื่อต่อรองกับพาร์ตเนอร์ใหม่ในอนาคต และที่ลืมไม่ได้คือการตัดงบการตลาดแล้ว 10%
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
ร้านนี้ไม่ได้มีแค่กาแฟ
ประตูทางเข้าร้านที่คุณไม่อาจผ่านไปได้ง่ายๆ เพราะความสนุกจะอยู่ที่คุณนำโทรศัพท์มือถือที่มี “ทัชซิม” ออกมาแล้วแตะไปที่เครื่องอ่าน เพื่อจองที่นั่งในร้าน หากอยากเล่นเน็ตความเร็วสูง พร้อมเพลิดเพลินกับจอยักษ์รายการเด่น ต้องเลือกอยู่อยู่ชั้น 1 ที่ชั้น 2 มีกาแฟ ขนม และไอศกรีมบริการ หรืออยากซื้อซีดีเพลงฟังสบาย ๆ ก็มีให้เลือกช้อป ที่กลางโต๊ะทุกตัวยังมีมือถือติดอยู่ไว้ให้ฟังเพลงดูเอ็มวี Mobile TV กันตามสบาย หรืออยากได้เสื้อสักตัวที่ชั้น 3 ก่อนตัดสินใจซื้อสามารถลองในห้องที่สุดไฮเทคแบบไม่ธรรมดา
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
ซื้อ 3 กิจการเพื่อ 3 จี
“มีเครือข่าย 3 จี แล้ว ส่งภาพเสียงได้เร็วกว่าเดิม แต่ถ้าไม่มีคอนเทนต์ก็ไม่มีความหมาย” ซิคเว่ เบรคเก้ ซีอีโอดีแทค จึงสั่งลุย ควักงบ 100 ล้านบาท เทกโอเวอร์บริษัทผลิตคอนเทนต์ 3 แห่งในเวลาไม่กี่เดือน
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
ซิคเว่ หาสูตรใหม่ปั้นองค์กรแบบดีแทค
“พนักงานดีแทคจะต้องไม่คิดว่าตัวเองเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จแล้ว ต้องไม่คิดว่าบริษัทตัวเองยิ่งใหญ่ หรือดีแล้ว เราต้องคิดว่ายังมีเรื่องให้เรียนรู้อีกมาก ความคิดแบบนี้ทำให้เราไม่หยิ่ง ยโส แต่ทำให้เรารู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน และเปิดกว้างมากขึ้น”
(Positioning Magazine เมษายน 2551)
3 บิ๊กสื่อสารไทย กับเครือข่ายที่ต้องสร้างเอง
เครือข่ายสังคมแบบไม่มีที่สิ้นสุด Social Networking ทำให้ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีฐานลูกค้าจำนวนมากนำโมเดลมาปรับใช้ สร้างเครือข่ายของตัวเองในโลกออนไลน์เพื่อต่อยอดธุรกิจ เห็นได้ชัดเจนจากกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ที่มีกลยุทธ์ธุรกิจด้วย Convergence ทุกบริการตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี รวมกว่า 20 ล้านสมาชิกเข้าด้วยกัน หรือค่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ เอไอเอสที่มีฐานลูกค้ากว่า 23 ล้านคน และดีแทคอีกเกือบ 18 ล้านคน ต่างเริ่มมี Social Networking ที่สร้างขึ้นเองเพื่อเป็น “มีเดีย” เชื่อมโยงให้สินค้าเข้าถึงโลกส่วนตัวของลูกค้า
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
คาถาปีหนู ของทรู
เปิดศักราชใหม่ ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหารทรู คอร์ปอเรชั่น สร้างความหวือหวาเล็กๆ ด้วยการกระโดดขึ้นเวที ปาลูกบอลหลากสี ก่อนประกาศแนวทางการดำเนินงานของทรูในปี 2551
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
ดีแทค ต้องมีมากว่า "ฮัลโหล"
เมื่อเบอร์ 2 อย่างดีแทครู้สึกตัวว่าที่ยืนในธุรกิจสื่อสารไร้สายไม่ใช่ที่มั่นอันแข็งแรงเสมอไป โอกาสหล่นไปอยู่เบอร์ 3 มีได้ตลอดเวลา แม้ว่า ดีแทคจะทำสำเร็จในแง่ของการสร้างแบรนด์ พลิกสถานการณ์ของมวยรองให้กลับขึ้นมาได้สำเร็จ จนเบอร์ 1 ต้องหันมามองชนิดตาไม่กะพริบ
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
TrueVisions: ขุมทรัพย์คอนเวอร์เจนซ์ของทรูคอร์ป
ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปรียบเทียบระดับการคอนเวอร์เจนซ์ในเครือทรู ให้นิตยสาร POSITIONING ฟังว่า ถ้าเปรียบการคอนเวอร์เจนซ์เป็นบันไดสิบขั้น คอนเวอร์เจนซ์สินค้าและบริการในเครือทรูตอนนี้ก็เพิ่งจะเดินถึงขั้นที่ 3 เท่านั้นเอง
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
ยิ่งให้ยิ่งได้
ลูกโป่ง หมวกสีแดงของ True และป้ายผ้าพลาสติกตั้งแต่หน้าโรงเรียน บริเวณอาคารห้องสมุด ไปจนถึงเวทีพิธีรับมอบสิ่งของ และเต็นท์สีขาวโชว์อักษร True ทำให้บรรยากาศของโรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรีวันนี้ต่างไปจากทุกวัน
(Positioning Magazine ธันวาคม 2550)