เสกคาถา อะมิโนพลัส ลดไซส์ ลดราคามาแรง
ในแคมเปญ Magic Five @ SF with Amino Plus แมทธิว สร้างความประหลาดใจด้วยการแสดงโชว์มายากลบนเวที พร้อมกับแต่งตัวในสไตล์พ่อมดน้อย แฮร์รี่ พอตเตอร์ การแถลงข่าวครั้งนี้ จึงเปรียบเหมือนกับการฉลองชัยชนะให้กับอะมิโน พลัส หลังจากอดทนปลุกปั้นกันมาตั้งแต่ปี 2006
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
คนเปลี่ยน เกมเปลี่ยน ชาขาวขอ Reset เกมชาเขียว
เกมการตลาดชาพร้อมดื่มจากนี้อาจเปลี่ยนไป เมื่อตำแหน่งผู้นำตลาดของ “โออิชิ” กำลังถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรง หลังการลาออกจากโออิชิ กรุ๊ป ของตัน ภาสกรน และอยู่ระหว่างปรับองค์กร ก็ได้กลายเป็นโอกาสทองของแบรนด์ชาพร้อมดื่มน้อยใหญ่ใช้จังหวะสำคัญนี้กลับมาทำตลาดกันคึกคัก นามาชะ ฟูจิชะ แม้แต่ยูนิฟ ยังต้องฟื้นชีพ “หนอน” ที่เคยโด่งดังนำกลับมาใช้อีกครั้ง
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
เมื่อผู้นำตกที่นั่งลำบาก
จากที่เคยเป็นแบรนด์ติดลมบน ทิ้งห่างคู่แข่งอื่นๆ ในตลาดชาเขียว และชาพร้อมดื่มแบรนด์อื่นแบบไม่เห็นฝุ่น แต่ในวันที่ฐานกลุ่มผู้บริโภคชาพร้อมดื่มเริ่มเติบโตจากความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค สัดส่วนของ “โออิชิ” ในตลาดชาพร้อมดื่มกลับค่อยๆ ลดลงมาตลอดตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
ไม่ต้องเหมือนตัน ก็ปั้นโออิชิได้
“ผมคงไม่มีทางทำอย่างคุณตันได้” แมทธิวยอมรับถึงบทบาทผู้นำโออิชิของเขาว่าคงไม่เหมือนกับตัน โดยเฉพาะการใช้ตัวเองเป็นจุดขายร่วมกับแบรนด์ แต่เขาก็ยืนยันว่า Positioning และ Personality ของโออิชิจะยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)
โออิชิในเงาตัน
คำถามที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเขาวางมือจากโออิชิอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไม่รับแม้ตำแหน่งที่ปรึกษาใดๆ แล้วทิศทางของโออิชิจะเป็นอย่างไรต่อไป ใครจะมาสวมนามสกุลโออิชิได้สมบทบาทเท่าเขา Benchmark ที่มีจึงดูเป็นงานยากสำหรับไทยเบฟฯ เหลือเกิน
(Positioning Magazine สิงหาคม 2553)
เขาชื่อ...ตัน
ในขณะที่ใครหลายคนเลือกวันที่ 9 เดือน 9 เป็นวันเริ่มต้นสิ่งใหม่ แต่ ตัน ภาสกรนที เลือกที่จะใช้เป็นวันยุติบทบาทการเป็นซีอีโอ ให้กับโออิชิ กรุ๊ป หลังจากที่รับบริหารธุรกิจที่เขาสร้างขึ้นมากับมือนี้ให้เจริญถึง 4 ปีเต็ม ๆ หรือรวมแล้วชีวิตเขาผูกติดกับแบรนด์ “โออิชิ” ทั้งสิ้น 11 ปีเต็ม นับตั้งแต่ให้กำเนิดแบรนด์จนมีฉายาพ่วงท้ายที่คนทั่วประเทศรู้จักว่าเขาคือ “ตัน โออิชิ”
(Positioning Magazine สิงหาคม 2553)
แบรนด์ใจดี…กลยุทธ์เด็ด ยุคฟื้นเมือง
ในโลกธุรกิจ วิกฤตกับโอกาสมักจะเป็นของคู่กันเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเลือกยืนอยู่ด้านไหน อย่างวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งล่าสุด ที่ศูนย์กลางการช้อปปิ้งของประเทศถูกยึดเป็นสนามรบนานแรมเดือน ก่อนจะจบลงด้วยความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่ฉับพลันที่เข้าสู่ขั้นตอนของการเยียวยา หลายแบรนด์ที่เพิ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้ ก็รีบลุกขึ้นมาขี่กระแส Generosity Brand หรือ “แบรนด์ใจดี” กันอย่างทันควัน
(Positioning Magazine มิถุนายน 2553)
ต้องแรงกว่าเก่า
นับวันโปรโมชั่นของแบรนด์ต่างๆ ยิ่งแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการพาไปเที่ยวต่างประเทศ ที่ปัจจุบันไม่ใช่แค่แจกแพ็กเกจทัวร์ ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ อีกต่อไป
(Positioning Magazine มีนาคม 2553)
ทฤษฎีฝูงปลา “ตัน โออิชิ”
ด้วยแนวคิดของการเป็นต้อง “จ่าฝูง” หรือผู้นำ ของ ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จึงขอเป็น “ป๋าดัน” จุดกระแสทีวีดาวเทียมให้แรงถึงขีดสุด ด้วยการทุ่มงบโฆษณามากถึง 100 ล้านบาท
“คนหนึ่งต้องเสียงดังเพื่อประกาศให้ทีวีดาวเทียมดัง เพราะตอนนี้มีแต่คนลังเลใจ ไม่มีใครเอางบมาใส่” ตัน บอกอย่างชัดเจนถึงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่กับทีวีดาวเทียม
(Positioning Magazine มีนาคม 2553)