พรีเซ็นเตอร์บนโลกออนไลน์
เมื่อแบรนด์สินค้าจะเข้าสู่ Social Network อย่างเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ คำถามแรกที่ต้องตอบให้ได้เสียก่อนคือ การกำหนด “ตัวตน” หรือ “Online Presenter” ของแบรนด์ เป็นอย่างไรในสายตาชุมชนออนไลน์? ที่สำคัญการเลือกต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะตัวตน Avatar ของแบรนด์นี้จะเป็นหน้าตาที่ถูกใช้ไปพูดคุยโต้ตอบในฐานะตัวแทนของแบรนด์และองค์กรในระยะยาว ไม่สามารถถูกเปลี่ยนไปมาได้ง่ายๆ
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2552)
3 พลังจาก 3 มุมเมือง
หากลากเส้นตรงจากด้านเหนือกรุงเทพฯ ผ่านใจกลางเมือง ไปถึงทางใต้หรือฝั่งธนบุรี ในเวลานี้ “แลนด์มาร์ก” ที่จะปรากฏอย่างโดดเด่นในธุรกิจการเงิน ต้องยกให้กับอาคารสำนักงานใหญ่ของธนาคารกสิกรไทย 3 แห่ง ใน 3 มุมเมือง คือ ราษฎร์บูรณะ พหลโยธิน และล่าสุดอาคารสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ด้วยโครงสร้างกระจกเป็นหลัก บนถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งเปิดทำการเมื่อต้นปี 2009 ที่ผ่านมา
(Positioning Magazine เมษายน 2552)
เคแบงก์ ต่อเวลา ขยายอนาคต
เวลาอีก 1-2 ชั่วโมง ยามนี้ก็มีค่า มีความหมายสำหรับเคแบงก์ เพราะตั้งแต่ตุลาคมที่ผ่านมา 250 สาขาในที่ชุมชนของเคแบงก์ได้ขยายเวลารับลูกค้า จากปิด 3 โมงครึ่ง วันจันทร์-พฤหัส ก็เปิดถึง 4โมงครึ่ง
(Positioning Magazine ธันวาคม 2551)
ยังต้องออกแรง”ปั้น”
“K Excellence” ของ”เคแบงก์” ผ่านหูผ่านตาลูกค้าแบงก์มาแล้ว 3 ปี แต่”ความแรง”ยังไม่เป็นที่พอใจของ”บัณฑูร ล่ำซำ” หรือคุณปั้นก่อนสิ้นปี 2551 แม้โลกกำลังวิกฤตจากเศรษฐกิจถดถอย การเมืองไทยที่เข้าถึงมุมอับ “บัณฑูร” จึงต้องออกมาเดี่ยวไมโครโฟนอีกครั้งและย้ำชัด ๆ ว่า”กสิกรไทยก็เหมือนธุรกิจทั้งหลาย ต้องดิ้นรน มีความแตกต่างให้อยู่ได้ในตลาด”
(Positioning Magazine ธันวาคม 2551)
ฟรีดอก ปลอดต้น ถึงโดนใจ
หลังจากปล่อยหนังโฆษณาทีวี K-SME เครดิต “ฟรีดอก ปลอดต้น” เรียกเสียงหัวเราะจากคนดู ด้วยเนื้อหาเข้าถึงชาวบ้านแบบง่ายๆ โดยมีต๋อยเบเกอรี่ เป็นตัวเอกของเรื่องนำร่องไปไม่กี่วัน เคแบงก์จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญสินเชื่อเอสเอ็มอีอย่างเป็นทางการ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
หนังโฆษณา 8 เรื่องของเคแบงก์
ทำไม “เคแบงก์” ต้องลุกขึ้นมาทำหนังโฆษณา 8 เรื่อง 8 แนว แถมยังใช้ผู้กำกับเปลืองมากที่สุดถึง 8 คน และเลือกประเดิมฉายเฉพาะโรงภาพยนตร์เท่านั้น อะไรทำให้ บัณฑูร ล่ำซำ ซีอีโอแห่งเคแบงก์ ต้องคิดทำโฆษณาแหวกแนวแบบนี้ หรือเป็นเพราะ “ธนาคาร” ที่เงียบขรึมและดูมั่นคง อาจไม่เพียงพอดึงลูกค้าอีกต่อไปแต่ความมี “ชีวิตชีวา” ของแบรนด์ กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าเดินเข้าหา
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
เคแบงก์จัดให้
ดินเนอร์หรู ด้วยอาหารฝรั่งเศสของ “นอร์มังดี” โรงแรม “โอเรียนเต็ล” สำหรับเศรษฐีกระเป๋าหนักตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไปอาจเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเคแบงก์ปิด “นอร์มังดี” เสิร์ฟให้เฉพาะวีไอพี 30 คน จัดร้านตามคอนเซ็ปต์ ตั้งแต่ดอกไม้ไปจนถึงเมนูที่จัดพิมพ์เป็นพิเศษ ความประทับใจยิ่งทวีคูณ ผลที่วัดได้คือ เพราะหลังมื้อค่ำวันนั้น เคแบงก์ได้เงินสะพัดเข้ามาอีกไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
บัตรเครดิตยุคใหม่ ทำไมต้อง Wave
คำว่า “รูดปรื้ด” อาจเชยไปแล้วสำหรับเครดิตการ์ดยุคนี้ เมื่อบัตร “Wave” กำลังมาแรง เพราะสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ต้องการความฉับไว และความแรงยังมาจากการแข่งขันของ 2 แบงก์ยักษ์ใหญ่ที่รับกระแส Wave to Pay จนงัดกลยุทธ์ทางการตลาดมาแข่งขันกันอย่างถึงพริกถึงขิง
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)
“พิพิธ เอนกนิธิ” นายแบงก์ “นักแข่ง”
12 ปีในชีวิตการเป็นนายแบงก์ที่มีใจรักการ “แข่งขัน” อย่าง “พิพิธ เอนกนิธิ” ทำให้ได้โอกาสรับบททดสอบที่น่าท้าทายบ่อยครั้ง จนกลายเป็นหนึ่งในผู้บริหารรุ่นใหม่ที่ “บัณฑูร ล่ำซำ” ซีอีโอเครือธนาคารกสิกรไทย หรือเคแบงก์ จัดวางให้เป็นหมากสำคัญในการเดินเกมแข่งขันครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมการเงิน
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
ยาวคูณสอง
มังกรเงินยาว หลงฤดูมาเชิดอยู่ด้านหน้าธนาคารกสิกรไทย สำนักพหลโยธิน ทำเอารถยนต์และคนเดินที่ผ่านไปผ่านมาแถวนั้น ต้องเหลียวดูกันเป็นแถว บางคนถึงกับทบทวนดูว่า ตรุษจีนผ่านไปหรือยัง
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)