ปี 2553...ปีทองข้าวไทย
วงการค้าข้าวคาดหมายว่าปี 2553 จะเป็นปีทองของข้าวไทย เนื่องจากปริมาณการผลิตข้าวในตลาดโลกลดลง จากผลกระทบสภาพอากาศแปรปรวน ในขณะที่ความต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น ทั้งจากฟิลิปปินส์ที่ผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายจากลมมรสุม
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
ผลกระทบเขตการค้าเสรีอาเซียนต่อข้าวของไทย
หลังจากการลดภาษีนำเข้าข้าวเหลือร้อยละ 0 ในวันที่ 1 มกราคม 2553 คือ ปริมาณการนำเข้าข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจข้าวของไทย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
ไทยโชว์ศักยภาพจัดงานระดับโลก VICTAM ASIA 2010
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ระหว่างวันที่ 3 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 คาดมีเงินสะพัดกว่า 2,000 ล้านบาท โดยมีผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหารสัตว์จากนานาประเทศเข้าร่วมแสดงงานกว่า 150 ราย และผู้เข้าชมงานทั่วโลกสูงถึง 20,000 คน
(โฟร์ฮันเดรท, บจก. )
ฟิลิปปินส์เปิดประมูลนำเข้าข้าว : กระตุ้นตลาดข้าวปลายปี 2552
ประเด็นที่ต้องจับตามองตลาดข้าวฟิลิปปินส์ในปี 2553 คือ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯคาดการณ์ว่าฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวเพิ่มเป็น 2.4 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับปี 2552 ดังนั้น ตลาดข้าวฟิลิปปินส์จึงยังคงเป็นตลาดที่น่าจับตามองสำหรับผู้ส่งออกข้าวไทย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
ข้าวนึ่ง : พระเอกส่งออกข้าวปี 2552/53
คาดว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ไปจนถึงกลางปี 2553 จะเป็นช่วงโอกาสทองของผู้ส่งออกข้าวนึ่งของไทย โดยเฉพาะการขยายตลาดในแอฟริกา ส่งผลให้ข้าวนึ่งจะมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในการส่งออกข้าวของไทย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
เชื่ออนาคตอุตฯ อ้อย - น้ำตาล สดใสยาว
หลังความต้องการน้ำตาลทรายยังสูง พร้อมให้ความมั่นใจหากรัฐชัดเจนในการหนุนใช้เอทานอลอย่างจริงจัง วัตถุดิบมีพอแน่ นอกจากลดการสูญเสียเงินออกนอกประเทศแล้ว ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
(ไทยชูการ์ มิลเลอร์, บจก. )
ประกันราคาสินค้าเกษตร : เกษตรกรได้รับประโยชน์...ลดภาระรัฐบาล
แนวคิดในการปรับเปลี่ยนมาตรการแทรกแซงตลาดพืชผลการเกษตรจากโครงการรับจำนำมาเป็นโครงการประกันราคา โดยจุดประสงค์หลัก คือ ต้องการให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการแทรกแซงตลาดของรัฐบาลอย่างแท้จริง และลดภาระของรัฐบาลในการบริหารจัดการสต็อกพืชผล
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
กล้วย : ผลไม้ไทยที่ควรเร่งพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรม
ปริมาณการค้ากล้วยในตลาดโลกมีประมาณ 8.8 ล้านตัน มูลค่าเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประเทศส่งออกรายใหญ่ของโลก ได้แก่ เอกวาดอร์ เบลเยียม คอสตาริกา โคลัมเบีย เยอรมนี และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทย กล้วยที่ปลูกได้ส่วนใหญ่จะใช้บริโภคภายในประเทศ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )