ความต้องการปุ๋ยอินทรีย์พุ่ง : จากกระแสนิยมสินค้าเกษตรอินทรีย์
ประเทศไทยสามารถก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในการผลิตและการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์ในภูมิภาคนี้ได้ ถ้าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการขยายตัวของปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากไทยมีปัจจัยหนุนจากปริมาณและความหลากหลายของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ แม้ว่าในปัจจุบันการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของไทยยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 9 มีนาคม 2550)
ผลิตภัณฑ์ข้าว : ตลาดส่งออก...ที่ยังเติบโตต่อไปได้
ผลิตภัณฑ์จากข้าวนับว่าเป็นสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่น่าจับตามอง แม้ว่าตลาดในประเทศจะขยายตัวไม่มากนัก แต่การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวนั้นมีแนวโน้มที่น่าสนใจ แม้ว่าในปัจจุบันมูลค่าการส่งออกยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรหลัก แต่ผลิตภัณฑ์ข้าวก็เป็นสินค้าเกษตรแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่มในรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 5 กุมภาพันธ์ 2550)
ทิศทางราคายาง : ปี’49ราคาผันผวน...ปี’50 ยังต้องจับตา
ทิศทางราคายางที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังปี 2549 เป็นผลมาจากหลากหลายปัจจัย ทั้งปริมาณการผลิตยางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการผลิตยาง ประเทศผู้ซื้อยางชะลอการซื้อเพื่อรอดูทิศทางราคายาง โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยางลดการผลิต เนื่องจากต้องประสบกับภาวะขาดทุนในช่วงที่ราคายางเพิ่มสูงขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 6 ธันวาคม 2549)
แนวโน้มภาคเกษตรกรรมปี’50 : ผลผลิตเพิ่ม...ส่งออกชะลอตัว
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่าแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในปี 2550 ยังมีโอกาสขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2549 แม้ว่าอัตราการขยายตัวจะชะลอตัวลง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม เนื่องจากต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 20 พฤศจิกายน 2549)
ข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์ : ส่งออกเพิ่ม...ดันราคาพุ่ง
ตั้งแต่ต้นปี 2549 ราคาข้าวเหนียวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก กล่าวคือมูลค่าการส่งออกข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์ในช่วง 9 เดือนของปี 2549 สูงถึง 4,653 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 9 พฤศจิกายน 2549)
พืชสวนไทย : สร้างรายได้กว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในตลาดโลก
งานราชพฤกษ์ 2549 มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งมีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 โดยงานจะมีไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 งานนี้นับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และยังเป็นการปูทางให้นานาประเทศรู้จักพืชสวนของไทยมากยิ่งขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 2 พฤศจิกายน 2549)
น้ำท่วมปี’49 : ภาคเกษตรกรรมสูญเสีย 1,600 ล้านบาท
ความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมในปัจจุบันยังเป็นเพียงการประเมินเบื้องต้น เนื่องจากยังคงมีพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมอีกหลายจังหวัด และคาดว่าจะมีพื้นที่เกษตรที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมเพิ่มเติม โดยเฉพาะจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางโดยคาดว่ามูลค่าความเสียหายของภาคเกษตรกรรมจากน้ำท่วมในปี 2549 จะสูงถึง 1,600 ล้านบาท
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 25 ตุลาคม 2549)
ราคาผักพุ่ง : ผลกระทบจากน้ำท่วม...เทศกาลกินเจ
ในช่วงเทศกาลกินเจนั้นความต้องการบริโภคผักเพิ่มมากขึ้นกว่าในช่วงปกติ แต่ในปีนี้ได้เกิดภาวะน้ำท่วมอย่างหนักในภาคต่างๆของประเทศในช่วงเวลาใกล้ช่วงเทศกาลกินเจ จึงยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้ผักมีราคาแพงมากขึ้นไปอีก งส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนทั้งโดยทางตรงเมื่อต้องซื้อผักไปปรุงอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 13 ตุลาคม 2549)
กลุ่มน้ำตาลมิตรผล ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น
ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น (Prime Minister’s Industry Award) ประเภทการจัดการพลังงาน ประจำปี 2549 แก่ เครือกลุ่มน้ำตาลมิตรผล ณ ทำเนียบรัฐบาล
(ภูมิพีอาร์ 12 กันยายน 2549)
ไก่และผลิตภัณฑ์ครึ่งหลังปี’49 : ส่งออกชะลอตัว
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่าการส่งออกไก่และผลิตภัณฑ์ในปี 2549 นี้จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงต้นปี ผู้ส่งออกไก่และผลิตภัณฑ์ต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายประการ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าชะลอการนำเข้า การแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่งทำให้ต้องมีการแข่งขันกันในด้านราคาส่งออก
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 6 กันยายน 2549)