GTZ จับมือกระทรวงพาณิชย์ แสดงผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ไทยในงาน ANUGA 2007
งานแสดงสินค้าอาหารแบบครบวงจรที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในโลก ณ เมืองโคโลญน์ ประเทศเยอรมนี ในปีนี้ได้ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีนักธุรกิจและผู้เข้าชมงานกว่า 160,000 คน จาก 160 ประเทศทั่วโลก
(สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน 6 พฤศจิกายน 2550)
ข้าวไทยปี’51 : การแข่งขันกลับมารุนแรง...จับตาเวียดนาม
ปี 2550 สถานการณ์การส่งออกข้าวของไทยเริ่มฟื้นตัว ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิตข้าวเวียดนามลดลงจากการเผชิญปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด แต่คาดว่าในปี 2551 ข้าวเวียดนามจะกลับมาเป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดอนาคตการส่งออกข้าวของไทย ทั้งในด้านปริมาณการส่งออกและราคา ทำให้ผู้ส่งออกข้าวของไทยยังคงต้องจับตามองเวียดนามอย่างใกล้ชิด
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 5 ตุลาคม 2550)
ธุรกิจโรงสีข้าว : ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข
ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขคือ การระบายสต็อกข้าวของรัฐที่กระจายเก็บอยู่ในโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว และการจ่ายเงินค่าบริหารจัดการสต็อกข้าวของรัฐ ทั้งนี้เพื่อทำให้บรรดาโรงสีทั้งหลายมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังต้องเร่งพิจารณาปรับมาตรการรับจำนำข้าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดโลก โดยเฉพาะการกำหนดราคารับจำนำข้าว
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 6 กันยายน 2550)
ปาล์มน้ำมันราคาพุ่ง : กระทบตลาดน้ำมันบริโภคและโครงการไบโอดีเซล
หลากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศผลักดันให้ราคาผลปาล์มน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งน้ำมันปาล์มบรรจุขวดและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม โดยผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นไว้ แนวทางออกของผู้ประกอบการคือการปรับตัวโดยการปรับประสิทธิภาพการผลิตและพยายามขยายฐานการตลาดเพื่อเพิ่มปริมาณยอดการจำหน่าย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 10 สิงหาคม 2550)
AFET ปรับโฉมสัญญายางใหม่ เพื่อกระตุ้นปริมาณการซื้อขายครึ่งปีหลัง
หลังจากที่สัญญาล่วงหน้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 (AFET: RSS3) ได้เปิดทำการซื้อขายมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว ปัจจุบัน AFET ได้ศึกษารวบรวมเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ ตลอดจนความต้องการของนักลงทุนและผู้ประกอบการเพื่อทำการปรับโฉมสัญญาใหม่ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
(สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์, บจก. 8 สิงหาคม 2550)
กลุ่มมิตรผล เทงบ 2,300 ล้าน พัฒนาพื้นที่ปลูกอ้อยและตั้งโรงงานน้ำตาลในลาว
บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำตาลชั้นนำภายใต้แบรนด์ “มิตรผล” ของไทย เดินหน้าขยายการลงทุนสู่คาบสมุทรอินโดจีน ล่าสุดรับสัมปทานพื้นที่ 62,500 ไร่ จากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกอ้อยและสร้างโรงงานน้ำตาล “มิตรลาว” ที่เมืองไซบุรี แขวงสะหวันนะเขต ขึ้นแท่นโรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในลาว
(อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ 2 สิงหาคม 2550)
ข้าวจีน : คู่ค้า คู่แข่งที่น่าจับตามอง
ผู้ส่งออกข้าวของไทยควรต้องจับตามองจีนทั้งในฐานะที่เป็นผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิที่สำคัญอันดับหนึ่งในปัจจุบัน และในฐานะที่ในอนาคตจีนจะเป็นคู่แข่งของไทยในการส่งออกข้าว ซึ่งในระยะสั้นจีนจะเป็นคู่แข่งในการส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ แต่ในระยะยาวจีนจะเป็นคู่แข่งขันในการส่งออกข้าวคุณภาพสูง รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากข้าวด้วย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 17 กรกฎาคม 2550)
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ใช้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนอยู่ดีกินดีพ้นความยากจน พร้อมเปิดทางให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน หวังลดปัญหาเรื้อรังเงินกู้นอกระบบ เร่งพัฒนาและฝึกอบรมอาชีพแบบเข้มข้นให้กับสมาชิกเพิ่ม เพื่อกระตุ้นเกษตรกรในโครงการฯ เน้นกู้ลงทุนระยะยาว
(พิตอน คอมมิวนิเคชั่น, บจก. 10 กรกฎาคม 2550)
รังนกนางแอ่น : คาร์เวียแห่งตะวันออก...ทองคำขาวแห่งท้องทะเล
ธุรกิจสร้างบ้านรังนกนางแอ่นนับว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ เนื่องจากให้ผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์สูงและสามารถแก้ปัญหารังนกนางแอ่นไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้บางส่วน อย่างไรก็ตามธุรกิจสร้างบ้านรังนกนับว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ประสบความสำเร็จจากการลงทุนเพียงร้อยละ 30.0 เท่านั้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 6 กรกฎาคม 2550)
3 บริษัทในกลุ่มน้ำตาลมิตรผล คว้า มรท.8001-2546
กลุ่มน้ำตาลมิตรผลขานรับนโยบายกระทรวงแรงงาน ในการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทชั้นนำที่ได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001-2546) เทียบเท่ามาตรฐานสากล และพร้อมนำร่องในการเป็นบริษัทสร้างจิตสำนึกในการเป็นสถานประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
(อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ 5 กรกฎาคม 2550)